โรงพยาบาลฟรีของมุสลิมในพม่า รักษาทุกศาสนิก เรื่องในแง่ดีและตัวอย่างสำหรับพวกเราทุกคน

ในปี 1937 โรงพยาบาลฟรีของมุสลิม (Muslim Free Hospital) ได้ก่อตั้งขึ้นในกรุงย่างกุ้ง ประเทศพม่า สร้างขึ้นโดยบรรดาผู้นำมุสลิมกลุ่มหนึ่งเพื่อดูแลคนยากจนในย่างกุ้งที่ไม่ สามารถเข้าถึงการรักษาทางการแพทย์อื่นๆ เงิน ลงทุนเริ่มต้นมาจากมุสลิมทั้งหมด โรงพยาบาล Muslim Free Hospital ยังคงเปิดอยู่ และยังคงได้รับเงินสนับสนุนจากผู้บริจาคชาวมุสลิมในเมียนม่าร์

พม่าได้รับการเปลี่ยนชื่อในปี 1988 และตอนนี้เรียกว่าประเทศเมียนม่าร์ อย่างไรก็ตาม ภารกิจของโรงพยาบาล Muslim Free Hospital ไม่เปลี่ยนแปลง

นับตั้งแต่เริ่มต้น โรงพยาบาล Muslim Free Hospital ไม่มีการเลือกปฏิบัติจากพื้นฐานของศาสนา กลุ่มชาติพันธุ์ หรือฐานะเลย ชาวมุสลิมในพม่ายังคงจ่ายเงินเพื่อให้มีการรักษาทางการแพทย์แก่คนยากจนทั้ง ที่เป็นมุสลิม พุทธ คริสต์ ฮินดู หรือศาสนาอื่นๆ

2015-02-13-MuslimHospitalAmbulance-thumb-1

สิ่งที่น่าสังเกตเป็นพิเศษก็คือ เรื่องนี้เกิดขึ้นในเมียนม่าร์ มุสลิมเป็นชนกลุ่มน้อยในเมียนม่าร์ ประมาณ 4% ของประชากรทั้งหมด มุสลิมจำนวนมากในเมียนม่าร์ใช้ชีวิตอยู่ด้วยความหวาดกลัว ความรุนแรงต่อชาวมุสลิมที่อยู่อย่างสงบกำลังเพิ่มมากขึ้น พระสงฆ์พุทธที่ชอบใช้กำลังส่งเสริมให้ใช้ความรุนแรงต่อชาวมุสลิมอย่างเปิด เผย ในบางพื้นที่ของพม่า สถานที่ทางธุรกิจและบ้านเรือนถูกเผา มุสลิมถูกฆ่า พระสงฆ์พุทธเรียกร้องให้ชาวมุสลิมทั้งหมดออกไปจากประเทศของพวกเขา และเรียกพวกเขาว่าสัตว์ ในบทความหนึ่งของนิตยสารไทม์ปี 2013 กล่าวถึงความรุนแรงที่กระทำโดยพระสงฆ์พุทธรูปหนึ่งในมันดาเลย์ หลังจากที่มีบทความนั้น สถานการณ์ก็เลวร้ายลงอย่างต่อเนื่อง

แต่ถึงกระนั้น โรงพยาบาล Muslim Free Hospital ยังคงให้การักษาพยาบาลแก่ชาวพุทธที่เป็นคนส่วนใหญ่โดยไม่มีค่าใช้จ่ายและ ไม่มีข้อข้องใจ โรงพยาบาล Muslim Free Hospital ไม่มีวาระทางการเมือง

ความเปิดกว้างต่อความหลากหลายทางศาสนานี้ ยังมีอยู่ในตัวของลูกจ้างในโรงพยาบาล Muslim Free Hospital นี้ด้วย แพทย์และพยาบาลชาวมุสลิม พุทธ และคริสเตียน ทุกคนต่างทำงานร่วมกันด้วยความเคารพ

ปริมาณและคุณภาพของการรักษาพยาบาลเมื่อดู จากทรัพยากรอันจำกัดของโรงพยาบาลอาจเป็นสิ่งที่คาดไม่ถึงในสหรัฐฯ ชาวมุสลิมในเมียนม่าร์บริจาคเงินปีละ 400,000 ดอลล่าร์ ถ้าผู้ป่วยมีเงิน พวกเขาจะจ่ายเท่าที่สามารถจ่ายได้ ถ้าพวกเขาไม่มีเงิน พวกเขาก็ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย

คลินิกผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลรักษาผู้ป่วย นอก 450 คนต่อวัน โรงพยาบาลแห่งนี้มี 160 เตียง ในปี 2000 ปีที่มีการจัดทำสถิติ มีการรักษาพยาบาลผู้ป่วยในประมาณ 6,000 คน โรงพยาบาลแห่งนี้มีแผนกอายุรกรรม ศัลยกรรม สูติเวชกรรม และแผนกพิเศษสำหรับผู้ป่วยโรคตา ปัจจุบันมีเด็กคลอดประมาณเดือนละ 220 คน โรงพยาบาลนี้ยังมีเครื่องเอกซ์เรย์, แผนกเภสัชกรรม ห้องอัลตราซาวด์ และห้องผ่าตัด

มีแพทย์ทั้งหมด 45 คน ที่ทำงานและสละเวลาให้กับโรงพยาบาลแห่งนี้

ในโลกที่สลับซับซ้อนที่มีเหตุการณ์ น่ากลัว เกิดขึ้นไม่เว้นแต่ละวัน ดีเหลือเกินที่ได้เห็นแสงสว่างหนึ่งส่องมาจากกลุ่มที่เอาใจใส่กับการช่วย เหลือผู้อื่นเท่านั้น มันยังเป็นสิ่งเตือนใจอย่างหนึ่งด้วยว่า อย่าได้พูดเหมารวมไปเสียทั้งหมด

 

 

2015-02-13-MFHHematologist-thumb-1(ภาพ) ดร.Phyo Wai Htun – แพทย์ทางด้านโรคโลหิตวิทยา ได้รับปริญญาโทในเมียนม่าร์ ปริญญาเอกในญี่ปุ่น และฝึกงาน 3 ปีที่เซนต์จู้ด ในสหรัฐฯ ปัจจุบันเขาทำงานที่โรงพยาบาล Muslim Free Hospital
2015-02-13-surgicalwardheadnurse-thumb-1(ภาพ) พยาบาล New New San หัวหน้าพยาบาลแผนกศัลยกรรม ทำงานที่โรงพยาบาล Muslim Free Hospital มา 23 ปีแล้ว
2015-02-13-headnurseofobstetrics-thumb-1(ภาพ) พยาบาล Ei Popo Hans San หัวหน้าพยาบาลแผนกสูติศาสตร์
2015-02-13-MoosaM-thumb-1(ภาพ) มูซา มาดาน – หลานชายของผู้ก่อตั้งโรงพยาบาล Muslim Free Hospital และปัจจุบันเป็นประธานคณะกรรมการบริหาร เป็นนักธุรกิจในย่างกุ้ง
2015-02-13-newbornmother-thumb-1(ภาพ) แม่กับลูกที่เพิ่งคลอดในโรงพยาบาล Muslim Free Hospital
2015-02-13-onedaypostop-thumb-1(ภาพ) ผู้ป่วยศัลยกรรม หนึ่งวันหลังการผ่าตัด
2015-02-13-medicalwardpatientwithmask-thumb-1(ภาพ) ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยอายุรกรรมทั่วไป
2015-02-13-OBpatientwithfriend-thumb-1(ภาพ) ผู้ป่วยในหอผู้ป่วยสูติศาสตร์

source http://www.huffingtonpost.com/stephen-wallace-md-jd/a-positive-story-about-mu_b_6662460.html
ที่มา http://fatonionline.com