แรงงานกัมพูชาทะลักกลับบ้านกระทบธุรกิจไทย

ขอบคุณภาพประกอบจากกรุงเทพธุรกิจ

หลัง จากมีข่าวคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)กวาดแรงงานต่างด้าว เพื่อจัดระเบียบการเข้ามาทำงานในประเทศไทย มีแรงงานชาวกัมพูชาไหลทะลักกลับบ้าน จนทำให้ปัญหาย้อนกลับมากระทบภาคธุรกิจไทยปั่นป่วนไปช่วงหนึ่ง จนเป็นเหตุให้เกิดความกังวลต่อการดำเนินนโยบายแรงงานต่างด้าวตามมา

“เมื่อ วันที่ 16 มิ.ย.ได้รับการยืนยันจากนายกอร์ สัม โสเริต ผู้ว่าราชการจังหวัดบันทายมีชัยของกัมพูชาว่า ชาวกัมพูชาจำนวน 142,000 คน ได้ละทิ้งการงานในไทย และเดินทางกลับประเทศ เพราะวิตกเกี่ยวกับการกวาดล้างแรงงานผิดกฎหมาย”

เฉพาะ ที่ด่านปอยเปต มีคนงานกว่า 2,000 คน เดินทางไปถึง และรอรถของรัฐบาลมารับกลับบ้าน โดยทางหลวงจากเมืองปอยเปตเต็มไปด้วยรถบรรทุกของทหารที่ลำเลียงทั้งผู้ชาย ผู้หญิง และเด็ก กลับไปยังบ้านเกิด

“คน งานก่อสร้างชาวกัมพูชาราย หนึ่ง บอกว่าเข้ามาในไทยประมาณ 2 เดือน กลับไปยังจังหวัดพระตะบอง เพราะกลัวถูกจับ และหากการงานทำได้ในบ้านเกิดก็จะไม่กลับประเทศไทย”

ยิ่ง กว่านั้น เมื่อติดตามข้อมูลที่สำนักข่าวซีเอ็นเอ็น ได้สัมภาษณ์นายโบ ซิน คนงานก่อสร้างชาวกัมพูชา รายหนึ่งพบว่าว่าทหารไทยจะจับพวกเขาแล้วก็จะมีการยิง ซึ่งเมื่อถามว่าได้ข้อมูลนี้มาจากไหน นายโบ ตอบว่าอาจเป็นข่าวลือที่คนพูดต่อๆกันมา ซึ่งก็ไม่ชัดเจนว่าการพูดเรื่องนี้มีต้นตอมาจากไหน

“องค์การ โยกย้ายถิ่นฐานระหว่างประเทศประเมินว่ามีชาวกัมพูชา 150,000 คน ที่ไม่มีเอกสารอย่างเหมาะสม อยู่ในประเทศไทย โดยส่วนใหญ่ทำงานภาคก่อสร้างและเกษตร”

แต่ เมื่อติดตาม ข้อมูลจากเว็บไซต์อิระวดี รายงานว่าดูเหมือนชาวพม่าไม่ได้เดินทางออกจากไทยในจำนวนมากเหมือนกัมพูชา โดยชาวบ้านที่อาศัยอยู่ในเมืองเมียววดีกล่าวว่าไม่มีสัญญาณว่ามีคนงานพม่า จำนวนมากข้ามแดนกลับเข้าไปในประเทศ

จึง มีคำถามว่า เหตุการณ์ต้องการกวาดล้างแรงงานต่างด้าวครั้งนี้ มีความเป็นมาอย่างไร ทำไมมีข่าวเฉพาะการต้องการกวาดล้างแรงงานเฉพาะชาวกัมพูชาเท่านั้น จากการตรวจสอบข่าวพบว่า เกิดจากที่นายสม รังสี ผู้นำฝ่ายค้านของกัมพูชา เปิดภาพแรงงานชาวกัมพูชาถูกยิงเพื่อเดินเกมให้สมเด็จ ฮุนเซ็น รับผิดชอบดูแลแรงงานชาวกัมพูชาที่เดินทางมาทำในต่างประเทศ เพื่อหวังผลทางการเมืองในประเทศกัมพูชา

ซึ่ง เหตุการณ์ดังกล่าวสอดรับกับการที่คสช. ต้องการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวที่เข้ามาทำงานในเมืองไทย เพราะเห็นว่าแรงงานเหล่านี้เป็นที่มาของปัญหาแหล่งอาชญกรรมและยาเสพติดใน ประเทศ จำเป็นต้องให้แรงงานเหล่านี้ที่เข้ามาทำงานในประเทศมีความโปร่งใส สามารถตรวจสอบจัดการได้

แต่ มีกระแสข่าว ที่น่าติดตามคือว่า การเอาแรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชามาต่อรองในการจัดระเบียบแรงงานในครั้งนี้ มาจากท่าทีปัญหาผู้นำระหว่าง 2 ประเทศระหว่างไทยและกัมพูชาที่ไม่ค่อยลงรอยเท่าใดนักในช่วงปัญหาการเมืองของ ไทยเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ที่ใช้แรงงานมาเป็นข้อต่อรอง และผละปัญหาให้มีการจัดระเบียบแรงงานเหล่านี้

ผล ที่ตามมาหลังจาก แรงงานต่างด้าวชาวกัมพูชาเดินทางกลับบ้าน ปัญหาที่ตามมาได้ส่งผลกระทบต่อภาคธุรกิจไทยพอสมควร เพราะส่วนใหญ่ธุรกิจที่ใช้แรงงานชาวกัมพูชาอยู่นั้น ที่ผู้ประกอบการจ้างงานต่ำกว่าค่าจ้างขั้นต่ำเกิดปัญหาขาดแรงงาน โดยเฉพาะธุรกิจกลางคืน รับเหมาก่อสร้าง ซึ่งเป็นธุรกิจรายย่อยที่ได้รับผลกระทบ

นาย สุพันธุ์ มงคลสุธี ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) กล่าวว่า ผลกระทบที่แรงงานกัมพูชาอพยพกลับประเทศส.อ.ท.ประเมินว่าเป็นเพียงผลกระทบระ ยะสั้นๆไม่น่าจะเกิน 1 เดือน เพราะมั่นใจว่า คสช.จะเร่งประชาสัมพันธ์และแก้ไขปัญหาให้เร็วที่สุด เพราะหากปล่อยไว้นาน จะส่งผลกระทบต่อโครงสร้างเศรษฐกิจไทย โดยระยะสั้นมองว่าภาคอุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบ ได้แก่ ภาคอุตสาหกรรมก่อสร้าง อุตสาหกรรมโรงโม่  และกลุ่มประมงบางส่วน  แต่ด้านภาคการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ยังเป็นแรงงานไทย

“ปัญหา ที่เกิดขึ้นเป็นความเข้าใจผิดของทางกลุ่มแรงงาน ที่มีข่าวว่าจะมีการกวาดล้างแรงงานมากกว่า ที่จริงแล้วเป็นการจัดระเบียบแรงงานต่างด้าวให้ถูกต้องถูกกฎหมายมากกว่า ยอมรับเป็นเรื่องลำบากเพราะปัจจุบันแรงงานแรงงานในไทยก็ขาดแคลนอยู่ ยิ่งจะเป็นการซ้ำเติมปัญหาเข้าไปอีก”

แต่ นายสุชาติ จันทรานาคราช รองประธานงานแรงงาน ส.อ.ท. บอกว่า แม้ภาคธุรกิจจะได้รับผลกระทบไม่มาก จากการอพยพเคลื่อนย้ายแรงงานกัมพูชา แต่อาจจะส่งผลให้สถานการณ์ลุกลามไปยังแรงงานลาวและพม่าที่เป็นแรงงานขนาด ใหญ่ได้

ส่วน นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสอท. มองว่า การที่คสช.มีนโยบายเพิ่มความเข้มงวดกับแรงงานต่างด้าว จนเกิดกระแสข่าวรุนแรง ทำให้แรงงานต่างด้าวโดยเฉพาะกัมพูชาได้เคลื่อนย้ายออกจากไทยนับแสนคนนั้น ขณะนี้ส.อ.ท.อยู่ระหว่างการประเมินข้อมูลถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น  ในเบื้องต้นผลกระทบที่เกิดขึ้นจะอยู่ในภาคธุรกิจที่ใช้แรงงานกัมพูชาเป็น จำนวนมาก ได้แก่ อุตสาหกรรมก่อสร้าง  แต่มองว่าจะกระทบไม่มาก เพราะปีนี้อุตสาหกรรมก่อสร้างอยู่ในขาลง  ส่วนอุตสาหกรรมประมงในพื้นที่ภาคตะวันออก ได้แก่ จ.ระยอง จันทบุรี และตราด  กลุ่มนี้จะได้รับผลกระทบโดยตรง และธุรกิจการเกษตร เช่น การทำสวนยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันออก และ 4.ในธุรกิจร้านอาหารต่างๆ

“ปัจจุบัน นี้มีแรงงานต่างด้าวที่ถูก กฎหมายในไทยประมาณ 2.2 ล้านคน และมีแรงงานที่ผิดกฎหมายมากกว่า 1 ล้านคน ในจำนวนกว่า 1 ล้านคน ที่เข้ามาทำงานผิดกฎหมาย โดย 80% เป็นแรงงานจากพม่า กัมพูชา 15% และลาวอีก 5% ซึ่งแรงงานกัมพูชาที่อยู่ในไทยจำนวนมาก เป็นการเข้ามาทำงานผิดกฎหมาย เนื่องจากต้นทุนการดำเนินงานต่างๆ และค่านายหน้าในกัมพูชาสูง ทำให้มีการลักลอบเข้ามาทำงานในไทย”

ประเด็น ที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ไม่ต้องการใช้แรงงานต่างด้าว เพราะแรงงานเหล่านี้ต้องต่ออายุทุกๆ 2 ปี ทำให้มีการเคลื่อนย้ายแรงงานอยู่ตลอดเวลา สูญเสียเงินในการฝึกทักษะ รัฐบาลต้องเร่งแก้ปัญหาขาดแคลนแรงงานอย่างจริงจัง เพราะไทยไม่สามารถพึ่งพาแรงงานต่างด้าวได้ในระยะยาว จากการประเมินหากเพื่อนบ้านพัฒนาประเทศจนมีค่าแรงเพิ่มขึ้นในระดับ 60% ของค่าแรงขั้นต่ำของไทย แรงงานต่างด้าวก็จะไหลกลับประเทศ  ดังนั้นไทยต้องเตรียมพร้อมการรับมือปัญหาขาดแคลนแรงงานในอนาคต

ปัญหา ผลกระทบของภาคธุรกิจต่อแรงงานต่างด้าว คสช.ได้ประกาศตั้งคณะกรรมการนโยบายการจัดการปัญหาแรงงานต่างด้าว (กนร.) จำนวน 25 คน โดยมีพล.อ.ธนศักดิ์ ปฏิมาปกร ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ในฐานะรองหัวหน้า คสช.ฝ่ายความมั่นคง เป็นประธาน และมีนายจีรศักดิ์ สุคนธชาติ ปลัดกระทรวงแรงงาน เป็นรองประธานกรรมการ โดยให้คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่เสนอแนะนโยบาย มาตรการ และแนวทางการดำเนินการแก้ไขปัญหาแรงงานต่างด้าวทั้งระบบต่อคสช.

จาก ปัญหาแรงงานชาวกัมพูชาอพยพกลับภูมิลำเนาทีมโฆษกคสช. ออกมาระบุว่ากระแสข่าวมีบุคคลแต่งกายคล้ายเจ้าหน้าที่ขับไล่ และใช้อาวุธทำร้ายแรงงานต่างด้าวนั้นไม่เป็นความจริง เพราะไม่มีรายงานมายังคสช. แต่ได้ให้หน่วยทหารในพื้นที่ตรวจสอบแล้ว อาจเป็นการบิดเบือนข้อมูลของกลุ่มต่อต้านคสช.มากกว่า

แรงงาน ต่างด้าว ชาวกัมพูชาที่เข้ามาอยู่ในประเทศไทยมีจำนวนมาก การที่แรงงานส่วนนี้กลับบ้านไปส่งผลกระทบธุรกิจในประเทศไทยไปช่วงหนึ่ง และยังไม่มีการประเมินเม็ดเงินว่าจำนวนเท่าใด แต่นี่คือผลสรุปที่ตามมาว่าไทยยังต้องหวังแรงงานต่างด้วอยู่

ไม่นั้นคสช. คงไม่ได้ออกประกาศว่า”ไม่มีคำสั่งกวาดล้างแรงงานกัมพูชา” เหล่านี้