ใครคือ “พวกสายกลาง” ที่วอชิงตันสนับสนุนในซีเรีย?

สหรัฐฯ ส่งเงินหลายร้อยล้านดอลล่าร์ให้พวกเขา และพันธมิตรของสหรัฐฯ ก็กำลังให้การสนับสนุนพวกเขาอยู่ แต่ใครกันแน่ที่เป็น “พวกสายกลาง” ในซีเรีย และพวกเขาจะหลีกเลี่ยงการถูกดูดเข้าสู่ลัทธิสุดโต่งที่กำลังยึดที่มั่นอยู่ในตะวันออกกลางได้อีกนานแค่ไหน?

(ภาพ) นักรบ FSA เข้าที่กำบังจากการยิงของกองทัพซีเรีย ในตำบลอีซาอฺ เมืองอาลิปโป ซีเรีย เมื่อวันพุธที่ 12 กันยายน 2012


 

ประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช ประกาศทำ “สงครามต่อต้านการก่อการร้าย” ไม่นานหลังเกิดเหตุการณ์ 11 กันยายน โดยใช้การกล่าวต่อที่ประชุมร่วมของสภาคองเกรสและประชาชนชาวอเมริกัน เพื่อเรียกร้องให้โลกอยู่ข้างอเมริกาหรือจะเผชิญหน้ากับผลสะท้อนที่จะตามมา เกือบ 14 ปีหลังจากนั้น ตะวันออกกลางและโลกยังคงเป็นสถานที่ที่อันตรายและไม่มั่นคงมากกว่าที่เคย เป็นมาก่อน

“สงครามต่อต้านการก่อการร้ายของเราเริ่มต้นกับอัล-กออิดะฮ์ แต่มันจะไม่จบแค่ที่นั่น” บุชกล่าว “มันจะไม่จบจนกว่ากลุ่มก่อการร้ายทั่วโลกจะถูกค้นพบ ถูกหยุด และถูกกำจัดไป”

ขณะที่สหรัฐฯ มองการต่อสู้ส่วนใหญ่ของพวกเขาว่าเป็นความชอบธรรมและสมเหตุสมผล ยังมีคนอีกมากมายที่โต้แย้งว่าการก่อการร้ายและอิสลามสายสุดโต่งถูกใช้ให้ เป็นเบี้ยในเกมที่มหาอำนาจยังคงเล่นต่อไป

มัรวา อุสมาน นักวิเคราะห์การเมืองและอาจารย์บรรยายที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติเลบานอนในกรุง เบรุต บอกกับสำนักข่าวว่า “ตะวันออกกลางได้พัฒนาเข้าสู่การต่อสู้ที่รุนแรงหลายลำดับ ความรุนแรงเช่นนั้นสามารถสืบกลับไปถึงสหรัฐฯ และนโยบายต่างประเทศที่ขาดความรับผิดชอบได้โดยตรง”

“ข้อเท็จจริงง่ายๆ ที่กลุ่มต่างๆ เช่น ไอซิซ (รัฐอิสลามแห่งอิรักและซีเรีย) ในซีเรียมีความแข็งแกร่งกว่าที่เคยเป็นการบอกกล่าวที่ชัดเจนเกี่ยวกับสงคราม ต่อต้านการก่อการร้ายของอเมริกา หลายคนอาจจะกล่าวว่า การก่อการร้ายได้กลายเป็นเครื่องกำบังที่ให้ความสะดวกแก่ลัทธิ จักรวรรดินิยม”

แท้จริงแล้ว สงครามต่อต้านการก่อการร้ายของอเมริกาได้ขยายออกไปไกลเกินกว่าที่ใครจะ สามารถทำนายได้ จากชายหาดของลิเบียไปถึงปากีสถาน และทั่วทั้งซีเรีย อิรัก และเยเมน กองทัพสหรัฐฯ ได้เข้าไปเกี่ยวข้องกับทุกฝ่ายที่ตัวเองได้ขึ้นป้ายไว้ว่าเป็นศัตรูของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในซีเรีย ที่ได้เป็นเวทีกลางสำหรับการต่อสู้ทางใจที่ขมขื่นและซับซ้อน ซึ่งผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า มีการนำการสงครามแบบไม่สมมาตรมาใช้และใช้ในทางที่ผิดเพื่อเอื้อแก่ผล ประโยชน์ทางภูมิศาสตร์การเมืองของสหรัฐฯ เป็นการเลี้ยงกลุ่มหัวรุนแรงมากกว่าที่จะเป็นการทำลายมัน

เมื่อใดก็ตามที่สหรัฐฯ เข้าไปแทรกแซง ไม่ว่าจะโดยตรงหรือโดยอ้อม ผ่านความช่วยเหลือทางการทหารหรือการพัฒนาทางการทหาร ในปากีสถาน ลิเบีย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งในซีเรีย การก่อการร้ายก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น

วิลเลียม อิงดาล นักวิเคราะห์ภูมิศาสตร์การเมืองผู้ได้รับรางวัล และที่ปรึกษาด้านความเสี่ยงทางยุทธศาสตร์ ได้กล่าวกับนักข่าวเมื่อเดือนตุลาคม และเรียกยุทธศาสตร์ของอเมริกาในซีเรียและในวงกว้างของภูมิภาคว่าเป็นการตบตา ทางการเมือง เขายืนยันว่าวอชิงตันเพียงแค่ใช้การก่อการร้ายมาเป็นอาวุธสงครามชิ้นใหม่ เท่านั้น

“พวกเขา (รัฐบาลสหรัฐฯ) ล้มซัดดัม ฮุซเซน ฮุสนี มุบารักในอียิปต์ พวกเขาก่อให้เกิดคลื่นการปฏิบัติอาหรับสปริงขึ้นทั่วโลกอาหรับเพื่อจัดการ โครงการในภูมิภาคนี้ใหม่ทั้งหมดเพื่อความได้เปรียบในตำแหน่งทางการทหารของ สหรัฐฯ เมื่อเผชิญหน้ากับจีนและรัสเซีย เป็นมูลฐานสำคัญ” อิงดาลบอกกับนักข่าว

ถึงแม้จะมีคำเตือนมากมาย แต่การให้ทุนแก่ซีเรียยังคงเพิ่มขึ้นอย่างสม่ำเสมอ ในเดือนมิถุนายน 2012 มีรายงานว่ากระทรวงต่างประเทศของสหรัฐฯ จัดสรรเงิน 15 ล้านดอลล่าร์ เพื่อเป็น “ความช่วยเหลือที่ไม่ใช่อาวุธ” ให้แก่กลุ่มต่อต้านในซีเรีย พร้อมกับให้เครื่องมือทางการทหารที่ประกอบไปด้วยปืนยาว ฐานยิงจรวดต่อต้านรถถัง และเครื่องกระสุนอื่นๆ

ในเดือนเมษายน 2013 สหรัฐฯ ยืนยันว่าตั้งโครงการมูลค่า 70 ล้านดอลลลาร์ขึ้นในจอร์แดน “นั่นเป็นการฝึกซ้อมกองกำลังพิเศษของจอร์แดน เพื่อระบุและป้องกันที่ตั้งของอาวุธเคมีทั่วซีเรีย ในกรณีที่รัฐบาลล่มและฝ่ายกบฏอาจจะยื่นมือเข้าไปยุ่งเกี่ยว” ตามที่มีรายงานใน The Economist ในเดือนเดียวกันนั้น คณะบริหารของโอบาม่ายังได้ให้สัญญาที่จะให้ความช่วยเหลือที่ไม่ใช่อาวุธแก่ ฝ่ายต่อต้านในซีเรียเพิ่มเป็นสองเท่า ทำให้มีจำนวนรวมทั้งสิ้น 250 ล้านดอลล่าร์

กลุ่มแนวร่วมแห่งชาติซีเรีย (Syrian National Coalition) ยืนยันในเดือนนี้ว่า กลุ่มตนได้รับเงิน 6 ล้านดอลล่าร์โดยตรงจากสหรัฐฯ เนื่องการความพยายามในการทำสงครามต่อต้านประธานาธิบดีบาชารฺ อัสซาด

ขณะที่ตะวันออกกลางได้กลายเป็นตัวต่อที่กระจัดกระจายของวาระแห่งการ ต่อสู้และเกมทางการเมือง ซีเรียถูกปล่อยให้มอดไหม้ไปกับเปลวไฟของลัทธิสุดโต่งที่เผยแพร่โดยนักรบไอ ซิซ ในขณะที่ฝ่ายต่อต้านที่สหรัฐฯ หนุนหลัง – ซึ่งวอชิงตันอ้างเอาเองว่าเป็น “พวกสายกลาง”- หาทางที่จะโค่นล้มการปกครองของอัสซาด

สี่ปีที่เข้ามาอยู่ในขบวนการอาหรับสปริง รูปพรรณสัณฐาน มูลเหตุจูงใจ และเจตนารมณ์ของบรรดาผู้ที่วอชิงตันได้ร่วมต่อสู้ด้วยเพื่อล้มอัสซาด ยังคงถูกบดบังอยู่ในหมอกควัน คำถามหนึ่งยังคงรบกวนใจบรรดาผู้เชี่ยวชาญและนักการเมืองอยู่ต่อไปก็คือ ใครคือ “พวกสายกลาง” ของซีเรียที่ว่านั้น เหมือนกับกองทัพปลดปล่อยซีเรีย (Free Syrian Army) ที่วอชิงตันได้ปล่อยเงินให้ไปหลายล้านดอลล่าร์หรือเปล่า?

 

จิ๊กซอว์ซีเรีย

ด้วยต้องการที่จะกล่าวซ้ำคำจารึกของเขาที่จะมองผ่านการโค่นล้ามอัสซาดใน ซีเรีย ประธานาธิบดีโอบาม่าได้อธิบาย “นโยบายสงคราม” ของอเมริกา –หรือบางคนอาจเรียกว่า กลอุบาย- ในซีเรียระหว่างการปิดการปราศรัยของเขาในที่ประชุมของนาโต้เมื่อเดือน กันยายน และในการแถลงนโยบายประจำปีต่อรัฐสภาเมื่อสัปดาห์ที่แล้วว่า

“ในอิรักและซีเรีย ผู้นำในอเมริกา รวมทั้งผู้มีอำนาจในทางทหารของเรา กำลังหยุดการรุกคืบของไอซิล แทนที่จะทำให้เกิดสงครามขึ้นอีกแห่งหนึ่งในตะวันออกกลาง เราจะนำไปสู่แนวร่วมที่กว้างขึ้น ประกอบไปด้วยชาติอาหรับต่างๆ เพื่อลดระดับและทำลายกลุ่มก่อการร้ายนี้ลงในที่สุด” โอบาม่ากล่าวในการแถลงนโยบายประจำปีต่อรัฐสภาเมื่อวันที่ 20 มกราคม

“เรายังให้การสนับสนุนกับฝ่ายต่อต้านที่เป็นสายกลางในซีเรียด้วย ซึ่งจะช่วยเราได้ในความพยายามนี้ และช่วยเหลือประชาชนจากทุกแห่งที่เผชิญหน้ากับแนวคิดไร้ศีลธรรมของกลุ่มหัว รุนแรง… และข้าพเจ้าขอเรียกร้องต่อสภาคองเกรสแห่งนี้ให้แสดงให้โลกเห็นว่าเราเป็น หนึ่งเดียวกันในภารกิจนี้ ด้วยการผ่านมตินี้ เพื่อให้อำนาจในการใช้กำลังกับไอซิล”
คำพูดของเขาระบุถึงการสนับสนุนของวอชิงตันต่อ “ฝ่ายต่อต้านสายกลางในซีเรีย” ทำให้เกิดการถกเถียงกันและเปิดทางไปสู่การแบ่งแยกขนานใหญ่

ผ่านไปสี่ปีแล้วนับตั้งแต่ชาวซีเรียออกมาสู่ท้องถนนเพื่อเรียกร้องให้ สิ้นสุดการปกครองของอัสซาด และกระแสทางการเมืองของประเทศกลับมืดดำและแปรเปลี่ยนได้ยากยิ่งขึ้น บรรดานักเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตยและสมาชิกสภาแห่งชาติซีเรีย (Syrian National Council – SNC) ซึ่งเป็นกลุ่มที่เรียกร้องให้สหรัฐฯ และชาติพันธมิตรตะวันตกอื่นๆ ให้การสนับสนุนความพยายามในการปฏิวัติของพวกเขา ได้เคลื่อนเข้าสู่ความสับสนของวาระการต่อสู้ต่างๆ เสียงของพวกเขาจมไปด้วยเสียงกลองแห่งสงครามและความจริงทางการเมืองที่ เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว

ขณะที่ SNC ใฝ่ฝันที่จะเปลี่ยนแปลงซีเรียจากระบอบประธานาธิบดีที่มีอำนาจเด็ดขาดมาเป็น รัฐพลเรือนสมัยใหม่ด้วยความราบรื่นเท่าที่สามารถเป็นไปได้ แต่อุดมคติเหล่านั้นถูกเปลี่ยนแปลงไปด้วยกองทหารอาสาสมัครในภาคสนาม ซึ่งจัดตั้งขึ้นภายใต้ธงของกองทัพปลดปล่อยซีเรีย (Free Syrian Army) ที่ได้ต่อสู้แบบประจันหน้ากับกองกำลังติดอาวุธซีเรีย

ถ้าเสียงเรียกร้องเพื่อเสรีภาพของซีเรียเมื่อปี 2011 ถูกเปล่งออกมาเพื่อให้บรรลุตามความใฝ่ฝันที่เรียบง่ายแต่ทรงพลังนี้ ความรุนแรง การปราบปรามของรัฐ และฝ่ายต่อต้านติดอาวุธ ได้ชักนำการปฏิวัติของซีเรียเข้ามาสู่เส้นทางสายอันตรายเสียแล้ว ซึ่งลัทธิการแบ่งแยกนิกายและลัทธิสุดโต่งได้เพิ่มความมืดมัวเข้าไปอีกหลาย ชั้น

“หลังจากสองปีแห่งการทำสงครามแบ่งแยกนิกายที่โหดร้ายและป่าเถื่อน ความวุ่นวายในซีเรียกลับยิ่งเพิ่มทัศนคติในการแบ่งแยกนิกายหนักยิ่งขึ้นใน ฝ่ายต่อต้านอัสซาดและการปกครองของเขา ซึ่งมีสมาชิกส่วนใหญ่มาจากนิกายอาลาวีที่เป็นชนกลุ่มน้อย” จามี เด็ตต์เมอร์ เขียนใน Daily Beast เมื่อเดือนกันยายน

“พวกเขา (นักเคลื่อนไหวเรียกร้องประชาธิปไตย) ถูกทำให้หวาดกลัวด้วยนักรบญิฮาดและความโหดร้ายของพวกเขาที่เพิ่มมากขึ้น มีความกังวลต่อความแข็งแกร่งของฝ่ายมุสลิมหัวรุนแรงในกลุ่มนักรบชนบทที่เป็น กำลังหลักของกองทหารอาสาสมัคร”

 

ใครคือพวกสายกลาง?

Syria-FSA-Mideast-Syria-Inside-_OCo-800x533-1(ภาพ) นักรบจากกองทัพปลดปล่อยซีเรีย (ซ้าย) และหน่วยพิทักษ์ประชาชนชาวเคิร์ด (YPG) (กลาง) รวมกำลังกันเพื่อต่อสู้กับกลุ่มนักรบของรัฐอิสลามในเมืองโคบานี ซีเรีย นักรบชาวเคิร์ดที่ได้รับการหนุนหลังด้วยการโจมตีทางอากาศอย่างหนักหน่วงที่ นำโดยสหรัฐฯ ได้ผลักดันกลุ่มรัฐอิสลามออกไปจากเมืองโคบานีของซีเรียได้เกือบทั้งหมดเมื่อ วันจันทร์ที่ 26 มกราคม 2015 ถือเป็นความพ่ายแพ้ครั้งใหญ่สำหรับกลุ่มหัวรุนแรงที่หวังว่าจะเอาชนะได้ อย่างง่ายดาย แต่กลับต้องตกอยู่ในการรุมล้อมที่นองเลือดและสิ้นเปลือง ที่ดูเหมือนใกล้จะจบลงด้วยความพ่ายแพ้


 

“ผมคิดว่ามีความคิดที่ดีเยี่ยมอยู่ช่วงหนึ่งว่าใครคือพวกสายกลาง มีกลุ่มสายกลางจริงๆ ที่กำลังสนับสนุนการแก้ปัญหาของซีเรียแบบประชาธิปไตยด้วยการเจรจาอยู่ภายนอก ซีเรีย พวกเขามีอำนาจโน้มน้าวภายในประเทศหรือเปล่าตอนนี้?” แกรี่ แกรปโปกล่าวกับสำนักข่าว เขาเป็นอดีตเอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ประจำโอมาส และผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันวอชิงตัน ซึ่งเป็นกลุ่มนโยบายตะวันอกกลางที่อยู่ในวอชิงตัน

จากข้อมูลที่รวบรวมโดยศูนย์ต่อสู้กับการก่อการร้าย (Combating Terrorism Center) ของปี 2013 มีกลุ่มต่อต้านติดอาวุธประมาณ 1,200 กลุ่มในซีเรีย ที่มีอำนาจบังคับบัญชานักรบประมาณ 80,000 ถึง 320,000 คน “สภาทหารสูงสุดแห่งกองทัพปลดปล่อยซีเรีย(Supreme Military Council of the Free Syrian Army -SMC) ได้ให้ตัวเลขประมาณการณ์ของจำนวนนักรบทั้งหมดในกลุ่มตนที่ผันผวนอย่างมาก เมื่อเดือนมิถุนายน 2013 นายพลอิดริสอ้างว่าบัญชาการนักรบ 80,000 คน แต่หลายวันต่อมา ตัวแทนของ SMC ยืนยันว่าตัวเลขที่แท้จริงคือ 320,000 คน” รายงานดังกล่าวระบุ

หลายกลุ่มเป็นกลุ่มเล็ก และปฏิบัติการอยู่ในระดับท้องถิ่น แต่ปรากฏตัวเลขเท่ากับกองกำลังที่แข็งแกร่งด้วยผู้เข้าร่วมทั่วประเทศ และจัดตั้งขึ้นเป็นพันธมิตรกับกลุ่มอื่นๆ ที่มีวาระร่วมกัน ในบรรดากลุ่มที่มีชื่อเสียงมากที่สุดคือกลุ่มสภาทหารสูงสุดแห่งกองทัพปลด ปล่อยซีเรีย (SMC) ซึ่งเป็นกลุ่มที่เข้าร่วมกับกลุ่มย่อยที่มีแนวคิดแบบ “มุสลิมหัวรุนแรง” ที่แข็งแกร่ง เช่น กองพลน้อยนักรบพลีชีพแห่งซีเรีย, กองพลน้อยพายุภาคเหนือ และกองพลน้อยอาห์ราร์ ซูรียา

เอลิซาเบธ โอบากี เขียนในรายงานที่ส่งให้สถาบันเพื่อการศึกษาสงครามเมื่อเดือนมีนาคม 2013 โดยอธิบายว่า SMC หรือที่เรียกว่า FSA มีสมาชิก 30 กลุ่ม แบ่งเป็นห้า “แนวร่วม” แต่ละแนวร่วมจะมี 6 กลุ่ม ในซีเรีย ได้แก่ ภาคเหนือ (อาลิปโป และอิดลิบ), ภาคตะวันออก (ร้อกกอ, ดีรอล-ซูรฺ และฮัซซากา), ภาคตะวันตก (ฮามา, ลาตาเกีย และทาร์ทุส), ภาคกลาง (ฮุมส์ และรัสตัน) และภาคใต้ (ดามัสกัส, ดารออฺ และสุวัยดา)

ขณะที่ FSA พยายามที่จะยืนยันว่าตัวเองเป็นผู้นำขบวนการที่โอบากีเรียกว่าเป็นแนวร่วม แบบหลวมๆ แต่ดูเหมือนจะชัดเจนว่ากองพลน้อยที่เป็นแนวร่วมกับ SMC หรือ SFA ยังคงรักษาอัตลักษณ์ วาระ และอำนาจบังคับบัญชาของตนไว้ บางส่วนทำงานร่วมกับกลุ่มที่มุสลิมเช่น อาห์ราร์ ชาม และกลุ่มนักรบญิฮาดที่มีความเชื่อมโยงกับอัล-กออิดะฮ์

ทั้งๆ ที่มีคำถามมากกว่าคำตอบเกี่ยวกับคำว่า “พวกสายกลาง” แต่โอบาม่าก็ยังตั้งใจที่จะสูบฉีดเงินราวห้าร้อยล้านดอลล่าร์ไปในการเสริม อาวุธและฝึกฝนบรรดานักรบกบฏสายกลางที่กระทำการเพื่อขับไล่อัสซาด ผู้ซึ่งวอชิงตันระบุมานานแล้วว่าเป็นผู้นำที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

อุสมาน ศาสตราจารย์ด้านการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกล่าวว่า “ปัญหาก็คือ การจะทำให้กองทัพปลดปล่อยซีเรีย ซึ่งเป็นการรวมตัวกันของกลุ่มต่างๆ ที่กระจัดกระจายและไม่ถูกกัน มาเป็นกองกำลังที่มีความสามารถในการต่อสู้ไม่เฉพาะกับกองทัพของอัสซาด แต่กับไอซิซด้วยนั้น จำเป็นจะต้องใช้ความพยายามในการทำสงครามอย่างยิ่ง ซึ่งต้องมากกว่าเงินไม่กี่ล้านดอลล่ารห์และการฝึกซ้อมทางการทหารอีกมากนัก” อุสมาสเป็นอาจารย์บรรยายสาขาวิชาการเมืองและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ และมุ่งเน้นเป็นพิเศษไปที่ขบวนการสุดโต่งในตะวันออกกลาง

เธอกล่าวต่อไปว่า “FSA ขาดความสามัคคีทางการเมืองและการเป็นผู้นำ ที่อันตรายยิ่งกว่าก็คือ พวกเขาไม่สนใจอะไรเลยเกี่ยวกับประชาธิปไตย ความใฝ่ฝันของพวกเขาเป็นแนวเดียวกันกับไอซิซมากกว่าที่มหาอำนาจตะวันตกจะ สนใจยอมรับ หรือเต็มใจยอมรับเรื่องนั้น”

อับดู รูมานี นักเขียนบล็อกที่อยู่ในดามัสกัสกล่าวว่า การที่ซีเรียตกลงมาอยู่ภายใต้ลัทธิสุดโต่งก็เป็นเพราะตัวชาวซีเรียเอง ขณะที่กลุ่มต่างๆ พยายามที่จะส่งเสริมการได้อำนาจของตนเองแทนที่จะทำงานเพื่อความฝันที่จะมี อิสรภาพของชาวซีเรีย

รูมานีได้อธิบายกับสำนักข่าวว่า ประเทศของเขาเกิดความวุ่นวายด้วยปัญหาของการแบ่งแยกทางนิกายและชาติพันธุ์ เพราะถูกทรยศจากผู้นำ SNC ที่ไม่มีคุณธรรม และในที่สุดนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงจาก “สายกลาง” เป็นปีกของสายสุดโต่ง

“เรานิยามคำว่าพวกสายกลางในขณะนั้นจากความสามารถของพวกเขาในการริเริ่ม วิสัยทัศน์ที่ดีกว่าภายหลังการปกครองของอัล-บาธในซีเรีย ซีเรียเปลี่ยนไปมากนับตั้งแต่ปี 2011 และการนิยามคำว่าพวกสายกลางของเราก็เปลี่ยนไปมากด้วย เมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มนักรบญิฮาดหรือพวกแบ่งแยกดินแดนชาวเคิร์ด หลายคนอาจมองดูแนวร่วมแห่งชาติซีเรีย(Syrian National Coalition) และกองทัพปลดปล่อยซีเรีย(Free Syrian Army) ที่ตะวันตกหนุนหลังแล้วทึกทักเอาว่าคนเหล่านี้เป็นพวกสายกลาง แต่พวกเขาไม่ใช่” รูมานีกล่าว

“ฝ่ายต่อต้านที่ตะวันตกหนุนหลังมีส่วนรับผิดชอบอย่างมากต่อการบิดเบือน แนวทางของขบวนการประท้วงในช่วงแรก และจึงทำให้มันล้มเหลว” รูมานีกล่าวเสริมถึงการเรียกร้องเสรีภาพและประชาธิปไตยของผู้ประท้วงแต่ เริ่มแรกที่ถูกกลืนไปอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นการทำลายความหวังในการปฏิรูปประเทศไป

“ขบวนการนั้นพบทางตันมานานก่อนที่รัฐบาลจะกดดันมัน มันจบไปตั้งแต่ที่ผู้ประท้วงส่วนใหญ่หันเข้าสู่ความรุนแรงทางการเมืองและลืม ไปว่าทำไมพวกเขาจึงออกมาประท้วงกันในตอนแรก”

สี่ปีในการปฏิวัติของซีเรีย ผู้เชี่ยวชาญส่วนใหญ่เห็นพ้องกันว่า “พวกสายกลาง” ของซีเรียเป็นอะไรอื่นที่ไม่ใช่สายกลาง แต่ถึงกระนั้น ชาติประชาธิปไตยตะวันตกภายใต้การนำของอเมริกาก็ยังคงพากันสนับสนุนการต่อสู้ ขับไล่อัสซาดของพวกเขาอยู่ ด้วยเหตุที่อัสซาดถูกชี้ตัวว่าเป็นเป้าหมายดั้งเดิม เงินหลายล้านดอลล่าร์จึงยังคงถูกอัดฉีดให้กับกองทหารอาสาฝ่ายกบฏของซีเรีย ต่อไป

เหมือนอย่างที่ Dettmer เขียนไว้ว่า “ทหารอาสาส่วนใหญ่ที่มีรูปแบบการต่อสู้ที่มีประสิทธิภาพ และประสบความสำเร็จอย่างมากมายในการสู้รบกับไอซิซนั้น ไม่เป็นสายกลางตามมาตรฐานของตะวันตก ส่วนใหญ่เป็นพวกมุสลิมหัวรุนแรงในระดับต่างๆ”

 

ความผิดพลาดในอดีตและวาระแอบแฝง?

เมื่อมองดูซีเรียต่อสู้กับอิสลามสายสุดโต่งแล้ว เป็นไปไม่ได้ที่จะไม่ดึงไปเปรียบเทียบกับอัฟกานิสถาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเมื่อทั้งคู่มีตัวประกอบเหมือนๆ กันคือ สหรัฐฯ และการก่อการร้ายประชาชนทั้งสองชาติได้เห็นเพื่อนร่วมชาติตกเป็นเหยื่อของ ลัทธิสุดโต่ง ถูกขายไปกับลัทธิก่อการร้ายที่ทำลายล้างชุมชนที่เคยหนาแน่น และทำลายทุกอย่างที่เป็นความสามัคคีในชาติที่พวกเขาเคยมีร่วมกัน และเพียงแค่บรรดาขุนศึกตกอยู่ภายใต้การโน้มน้าวของตาลีบันแห่งอัฟกานิสถาน พวกสายกลางของซีเรียก็เปลี่ยนความจงรักภักดีไปให้กับกลุ่มต่างๆ ที่มีแนวคิดไปในทางเดียวกันกับอัล-กออิดะฮ์เสียแล้ว

“ด้วยการที่ไม่มีสายการบังคับบัญชาที่ชัดเจน หรือแนวคิดที่แน่นอนที่จะผูกพันกองพลน้อยของกองทัพปลดปล่อยซีเรียที่ กระจัดกระจายให้แน่นแฟ้น บรรดานักรบจึงละทิ้งหน้าที่เพื่อไปเข้ากับคู่แข่งที่มีเงินทุนดีกว่าอย่าง ต่อเนื่อง เช่นจับฮาตุน-นุสรอ (แนวร่วมนุสรอ) และไอซิซ คู่ปรับของมัน” รูมานีกล่าวเน้น

ลีธ ฟาเดล นักหนังสือพิมพ์ของสำนักข่าวอัล-มัสดาร์ นิวส์ รายงานเมื่อ 9 มกราคมว่า นักรบปลดปล่อยซีเรีย 3,000 คน ละทิ้งหน้าที่หันไปหาไอซิซ ฟาเดลยังกล่าวถึงความเสียหายของกลุ่มย่อยต่างๆ ในกองทัพปลดปล่อยซีเรีย ซึ่งเลือกที่จะแยกทางกับกลุ่มต่อต้านนี้

โทนี่ คาร์ทาลุชชี่ นักวิเคราะห์ภูมิศาสตร์การเมือง ได้เขียนในรายงานของ New Eastern Outlook เดือนนี้ว่า
“มีรายงานเมื่อไม่นานมานี้ว่า ‘กบฏสายกลาง’ ประมาณ 3,000 คนของ ‘กองทัพปลดปล่อยซีเรีย’ ได้หันไปเข้ากับ ‘รัฐอิสลาม’(ไอซิซ) แม้ว่าจะไม่ใช่ครั้งแรกที่ ‘พวกสายกลาง’ ได้ข้ามไปหาอัล-กออิดะฮ์ หรือไอซิซ อย่างเปิดเผย แต่มันเป็นครั้งหนึ่งของการข้ามไปที่มีจำนวนมากที่สุดที่เคยเกิดขึ้น

นักรบเหล่านี้จะนำเอาอาวุธ เงินสด อุปกรณ์ การฝึกซ้อมไปกับพวกเขาด้วย ซึ่งสิ่งเหล่านี้ได้มาจากซาอุดิอารเบีย กาตาร์ สหรัฐฯ อังกฤษ และบางทีที่น่าเย้ยหยันที่สุดหลังการโจมตีก่อการร้ายที่เพิ่งเกิดขึ้นใน ปารีส ก็คือฝรั่งเศส ที่จริงแล้ว แนวรบของไอซิซและอัล-กออิดะฮ์ขยายตัวออกไปอย่างต่อเนื่อง ท่ามกลางเครือข่ายของ “การกวาดล้างการก่อการร้าย” ที่มีเล่ห์เหลี่ยมนี้ ซึ่งมีแต่จะทำให้มันเจริญเติบโตขึ้นเท่านั้น”

ลักษณะที่เหมือนกันระหว่างซีเรียและอัฟกานิสถาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งจำนวนผู้สนับสนุนที่ดูเหมือนจะเพิ่มขึ้นของอิสลามสายสุด โต่ง ทำให้ผู้เชี่ยวชาญหลายคน รวมทั้งวิลเลียม อิงดาล ตั้งคำถามถึงจุดมุ่งหมายของวอชิงตันในภูมิภาคนี้ อิงดาลได้ตั้งสมมุติฐานไว้ว่า สงครามต่อต้านการก่อการร้ายของอเมริกา ที่แท้แล้วอาจจะเป็นการแสดงให้เห็นถึงความทะเยอทะยานแบบจักรวรรดินิยมของ อเมริกาในตะวันออกกลางก็ได้

“รายละเอียดที่รั่วไหลออกมาทำให้เข้าใจว่า ไอซิซ และ ‘ความแปรปรวน’ ทางทหารที่สำคัญในอิรัก –และในซีเรียประเทศเพื่อนบ้าน- ถูกกำหนดและควบคุมมาจากกองประจำการของซีไอเอและเพนตากอนในแลงลีย์ เวอร์จีเนีย และที่อื่นๆ เพื่อให้เป็นเวทีถัดไปในการแพร่กระจายความสับสนวุ่นวายในรัฐที่มีน้ำมันมาก ที่สุดเป็นอันดับสองของโลก นั่นก็คืออิรัก รวมถึงเพื่อความพยายามที่จะสร้างความอ่อนแอให้กับเสถียรภาพของซีเรียใน ปัจจุบัน” อิงดาลเขียนเมื่อเดือนมิถุนายน

อย่างไรก็ตาม แกรปโป อดีตเอกอัครราชทูตสหัฐฯ ประจำโอมาน ไม่เห็นด้วย เขายืนยันว่าข้อกล่าวหาเกี่ยวกับข้อตกลงแอบแฝงและปฏิบัติการมืดเหล่านี้ ไม่มีเนื้อหาที่เชื่อถือได้ และเขายืนกรานว่า สหรัฐฯ ไม่ได้ให้เงินทุนกับพวกสุดโต่งทั้งๆ ที่รู้ เพื่อแสดงเจตนาทางการเมืองของตนในดามัสกัส โดยเขาได้บอกกับสำนักข่าวว่า

“มีหลักฐานที่น่าเชื่อถือน้อยมากที่จะสนับสนุนการกล่าวอ้างนั้น (ว่าวอชิงตันกำลังใช้การก่อการร้ายมาเป็นอาวุธที่ไม่สมมาตรในสงคราม) การเผยแพร่ของคณะกรรมมาธิการตรวจสอบของสภาคองเกรส โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากมีรายงานเรื่องการทรมาน รวมทั้งการสนับสนุนอันน้อยนิด ทำให้แม้แต่พวกสายกลางในที่นี้ ก็ยากมากที่จะเชื่อการกล่าวอ้างเช่นนี้”

ทว่าแกรปโปก็ยอมรับว่ามีความผิดพลาดทางยุทธวิธีและความพลั้งเผลอเกิดขึ้น “อาวุธ และ/หรืออุปกรณ์อื่นๆ ที่ส่งให้กับพวกสายกลาง กลับไปตกอยู่ในมือกลุ่มอื่นโดยผ่านการปฏิบัติงานที่หละหลวม พวกสายกลางเก่าที่ได้หันไปเข้ากับกลุ่มหัวรุนแรงในภายหลัง หรือการจัดการที่ไม่ชำนาญของผู้ประสานงานของพวกสายกลางก็ไม่ใช่สิ่งที่เป็น ไปได้เท่านั้น แต่น่าจะเป็นอย่างนั้น” เขาระบุ

“คำว่า ‘ความก้าวหน้าทางการเมือง” มันอ่อนและล้าสมัย แนวทางปฏิบัติ (ที่คงอยู่ได้แม้จะเสี่ยง) สำหรับสหรัฐฯ ก็คือการสนับสนุนพวกสายกลาง ซึ่งมันไม่ได้ทำอย่างมีประสิทธิภาพเลยจนถึงปัจจุบัน ไม่มีแนวทางปฏิบัติที่สมเหตุสมผลอื่นใดอีกแล้วต่อการดำเนินการตามนโยบาย สหรัฐฯ”

ขณะที่ผู้เชี่ยวชาญและเจ้าหน้าที่ยังคงถกเถียงกันด้วยข้อกล่าวหา และตอบโต้ข้อกล่าวหา การหมุนดิ่งลงและความยุ่งเหยิงของซีเรียก็ดำเนินต่อไป มันยังคงเปิดให้มีการถกเถียงกันว่า ใครที่ได้ประโยชน์มากที่สุดจากการโอนอำนาจให้นี้

 

 

By Source http://www.mintpressnews.com
ที่มา http://www.abnewstoday.com