“จอร์จ โซรอส” และไฮโดรคาร์บอน : เบื้องหลังที่แท้จริงของวิกฤตโรฮิงญาในพม่า??

จอร์จ โซรอส © AP Photo/ Kevin Wolf

สปุตนิก – นักวิชาการชี้ ความขัดแย้งกรณีชาวโรฮิงญาในพม่าซึ่งปะทุขึ้นอีกครั้งในเดือนสิงหาคม 2560 ดูเหมือนจะเป็นวิกฤติหลายมิติ โดยมีปัจจัยจากภายในและภายนอกประเทศ ที่เชื่อมโยงกับผู้เล่นระดับโลก

ความขัดแย้งกรณีชาวโรฮิงญาซึ่งปะทุขึ้นในรัฐยะไข่ทางตะวันตกของพม่าเมื่อปลายเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา เห็นได้ชัดเจนว่าถูกกระตุ้นจากผู้เล่นระดับโลกที่อยู่นอกประเทศ “ดมิทรี มอสซีคอฟ” (Dmitry Mosyakov) ผู้อำนวยการศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ออสเตรเลีย และโอเชียเนีย สถาบันตะวันออกศึกษา สภารัฐบัณฑิตวิทยาศาสตร์แห่งสหพันธรัฐรัสเซีย (Russian Academy of Sciences) กล่าวกับสำนักข่าวอาร์ทีของรัสเซีย

ตามความเห็นของนักวิชาการจากสถาบันวิทยาศาสตร์สำคัญของรัสเซียเขาบอกว่า ความขัดแย้งนี้อย่างน้อยมี 3 มิติ

“ประการแรก นี่เป็นเกมในการต่อต้านจีน เพราะจีนมีการลงทุนขนาดใหญ่ในอาระกัน (ยะไข่)” มอสซีคอฟบอกกับสำนักข่าวอาร์ที “ประการที่สอง มีจุดมุ่งหมายในการกระตุ้นความคลั่งไคล้ของมุสลิมในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ … ประการที่สาม เป็นความพยายามที่จะหว่านความไม่ลงรอยกันในอาเซียน (ระหว่างพม่ากับอินโดนีเซียและมาเลเซีย)”

ตามความเห็นของดมิทรี มอสซีคอฟ ความขัดแย้งยาวนานนับศตวรรษถูกใช้โดยผู้เล่นภายนอกเพื่อบ่อนทำลายเสถียรภาพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความจริงที่ว่า “สิ่งเดิมพัน” ก็คือ แหล่งสำรองมหาศาลของ “ไฮโดรคาร์บอน” (hydrocarbons) ที่ตั้งอยู่นอกชายฝั่งของรัฐยะไข่

“”มีแหล่งก๊าซขนาดใหญ่ซึ่งถูกตั้งชื่อว่าตานฉ่วย (Than Shwe) ตามชื่อนายพลที่ปกครองประเทศพม่ามาอย่างยาวนาน” มอสซีคอฟ กล่าว “นอกจากนี้บริเวณชายฝั่งของอาระกัน (ยะไข่) ค่อนข้างชัดเจนว่ามีน้ำมันไฮโดรคาร์บอนด้วย”

หลังจากที่มีการค้นพบแหล่งพลังงานสำรองของยะไข่ในปี 2004 (พ.ศ.2547) จึงดึงดูดความสนใจของจีน ในปี 2013 (พ.ศ.2556) จีนได้สร้างท่อส่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติซึ่งเชื่อมต่อท่าเรือเมืองเจ้าผิว (Kyaukphyu) ของพม่ากับเมืองคุนหมิงของจีนในจังหวัดยูนนาน

ท่อส่งน้ำมันช่วยให้ปักกิ่งสามารถส่งน้ำมันดิบในตะวันออกกลางและแอฟริกาผ่านทางช่องแคบมะละกาได้ ในขณะที่ท่อส่งก๊าซก็ขนส่งไฮโดรคาร์บอนจากเขตนอกชายฝั่งของพม่าไปยังประเทศจีน

การพัฒนาโครงการพลังงานของจีน-พม่าใกล้เคียงกับการทวีความรุนแรงของความขัดแย้งโรฮิงญาในปี 2011-2012 (พ.ศ.2554-2555)เมื่อผู้ลี้ภัย 120,000 คนอพยพออกจากประเทศหนีการนองเลือด

ตามทัศนะของ ดมิทรี อีกอเชนกอฟ (Dmitry Egorchenkov) รองผู้อำนวยการสถาบันยุทธศาสตร์ศึกษาและการพยากรณ์ (Institute for Strategic Studies and Prognosis) แห่งมหาวิทยาลัยมิตรภาพประชาชนแห่งรัสเซีย (Peoples’ Friendship University of Russia) เหตุการณ์นี้ มันแทบจะไม่ใช่เหตุบังเอิญ แม้ว่าจะมีสาเหตุภายในบางอย่างอยู่เบื้องหลังวิกฤตโรฮิงญา แต่ก็อาจเป็นแรงกระตุ้นจากผู้เล่นภายนอกเช่นสหรัฐอเมริกา

ความไม่สงบของพม่าอาจส่งผลกระทบต่อโครงการพลังงานของประเทศจีนและสร้างความไม่มั่นคงถึงถิ่นของปักกิ่ง อีกทั้งด้วยวิกฤติที่กำลังเกิดขึ้นระหว่างสหรัฐฯ กับเกาหลีเหนือประเทศเพื่อนบ้านอีกด้านหนึ่งของจีน อีกไม่นานปักกิ่งอาจพบว่าตัวเองกำลังติดอยู่ท่ามกลางกองไฟ

ขณะเดียวกันหน่วยเฉพาะกิจในพม่าซึ่งประกอบด้วย “องค์กรหลายแห่ง” ที่ได้รับทุนสนับสนุนจาก “จอร์จ โซรอส” และดำเนินงานอย่างแข็งขันในพม่ามานับตั้งแต่ปี 2103 (พ.ศ.2556) ก็เรียกร้องให้ประชาคมระหว่างประเทศยุติสิ่งที่เรียกว่า “การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชนกลุ่มน้อยชาวโรฮิงญา” อย่างไรก็ตามการแทรกแซงของโซรอสต่อกิจการภายในประเทศพม่านั้นเข้าไปลึกอย่างมากถึงประวัติศาสตร์ของประเทศนี้

ในปี 2003 (พ.ศ.2546) จอร์จ โซรอส เข้าร่วมกลุ่มกองกำลังเฉพาะกิจสหรัฐฯ (US Task Force group) ที่มุ่งเป้าไปที่การเพิ่ม “ความร่วมมือของสหรัฐฯ กับประเทศอื่นๆ เพื่อนำมาซึ่งการเมือง เศรษฐกิจ ที่น่าจะมีมานานแล้ว และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในพม่า”

เอกสารปี 2003 ของ “สภาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ” หรือ “ซีเอฟอาร์” The Council of Foreign Relation’s – CFR) ชื่อ “พม่า : เวลาแห่งการเปลี่ยนแปลง” (Burma: Time For Change) ซึ่งประกาศการจัดตั้งกลุ่มยืนยันว่า “”ประชาธิปไตย … ไม่สามารถอยู่รอดได้ในพม่าโดยปราศจากความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ และประชาคมโลก”

“เมื่อ จอร์จ โซรอส มาถึงประเทศใด … เขาจะมองหาความขัดแย้งทางศาสนา เชื้อชาติ หรือสังคม เลือกรูปแบบการดำเนินการสำหรับหนึ่งในตัวเลือกเหล่านี้หรือผสานรวมกัน แล้วพยายามทำให้มันร้อนระอุขึ้นมา” อีกอเชนกอฟ อธิบายในการให้สัมภาษณ์กับสำนักข่าวอาร์ที

ในอีกด้านหนึ่งตามทัศนะของอีกอเชนกอฟ ดูเหมือนว่าบางประเทศเศรษฐกิจโลก กำลังพยายามจำกัดวงการพัฒนาทางเศรษฐกิจที่รวดเร็วของประเทศในกลุ่มอาเซียน โดยการกระตุ้นให้เกิดการปะทะกันภายในกลุ่ม

นักวิชาการให้ความเห็นว่า นโยบายการจัดการแบบโลกาภิวัตน์นั้นคาดหวังที่จะหว่านเมล็ดพันธุ์แห่งความบาดหมางให้ก่อตัวในภูมิภาคที่มีเสถียรภาพ โดยการกระตุ้นความขัดแย้งในระดับภูมิภาค จากนั้นผู้เล่นภายนอกก็จะกระโดดเข้ามาเมื่อสบโอกาสเพื่อที่จะสามารถควบคุมรัฐเอกราชและออกแรงกดดันอย่างมากต่อพวกเขา

วิกฤติโรฮิงญาล่าสุดนี้ เริ่มขึ้นในวันที่ 25 สิงหาคม เมื่อกลุ่มติดอาวุธชาวมุสลิมชาวโรฮิงญาโจมตีกองกำลังรักษาความมั่นคงในรัฐยะไข่ของพม่า ปฏิกิริยาตอบสนองที่รุนแรงของเจ้าหน้าที่พม่าได้ก่อให้เกิดการปะทะกันอย่างรุนแรง มีการอ้างว่ามีผู้ชีวิตอย่างน้อย 402 คน อย่างไรก็ตามตามการคาดการณ์บางแหล่งเชื่อว่า มีชาวมุสลิมมากกว่า 3,000 คนที่ถูกสังหารในช่วงความขัดแย้งที่ผ่านมา

ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นเมื่อประมาณหนึ่งศตวรรษก่อนหน้านี้ได้ทวีความรุนแรงขึ้นเรื่อยๆ นับตั้งแต่ปี 2011 (พ.ศ.2554) และทวีขีดสุดในปี 2012 (พ.ศ.2555) เมื่อมุสลิมโรฮิงญาหลายพันครอบครัวต้องลี้ภัยไปอยู่ในค่ายผู้ลี้ภัยพิเศษในดินแดนของประเทศพม่าหรือหนีไปประเทศบังคลาเทศ ความขัดแย้งรุนแรงได้เริ่มก่อตัวขึ้นอีกครั้งในปี 2016