สถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม เปิดให้ผู้ประกอบการร้านอาหารแล ะโรงงานอุตสาหกรรมรวม 80ราย ยื่นขอรับคำปรึกษาและขอรับเครื่องหมาย “รสไทยแท้” จาก 13 เมนูที่กำหนดมาตรฐานไปเมื่อปีที่แล้ว และเพิ่มอีก 5 เมนูใหม่ในปีนี้ เดินหน้าเผยแพร่ความรู้เรื่องมา ตรฐานอาหาร “รสไทยแท้” และมาตรฐานการจัดการอาหารปลอดภั ย คาดมีบุคลากรในแวดวงอุตสาหกรรมอ าหารได้รับประโยชน์ไม่น้อยกว่า 1,000 ราย
นายยงวุฒิ เสาวพฤกษ์ ผู้อำนวยการสถาบันอาหาร กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า ในปี 2561 นี้ สถาบันอาหารได้รับงบประมาณจากสำ นักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม ในการดำเนินงานโครงการ “ยกระดับมาตรฐานรสไทยแท้อุตสาหก รรมอาหารไทยในตลาดโลก (Authentic Thai Food For the World)” เพื่อยกระดับคุณภาพการผลิตอาหาร ในภาคอุตสาหกรรมและธุรกิจบริ การอาหารของไทยให้มีคุณภาพปลอดภั ยและมีคุณค่าโภชนาการที่เหมาะสม รักษาไว้ซึ่งเอกลักษณ์ของอาหาร “รสไทยแท้” โดยการให้การรับรองมาตรฐาน “รสไทยแท้” ให้กับร้านอาหารไทย และผลิตภัณฑ์อาหารจากโรงงานอุตส าหกรรมแปรรูป เพื่อสร้างมูลค่าให้แก่อาหารไทย สู่ผู้บริโภคทั่วโลก อันเป็นการส่งเสริมธุรกิจบริการ ร้านอาหารไทย และยกระดับอาหารไทยให้เป็นที่ยอ มรับในระดับสากลอย่างต่อเนื่องแ ละกว้างขวางขึ้น
“โครงการดังกล่าวมีแนวทางการทำงานที่ต่อเนื่องจากปีที่แล้วที่ ได้กำหนดมาตรฐานอาหาร “รสไทยแท้” ไว้แล้ว 13 เมนู แบ่งเป็น อาหารคาว 11 เมนู ได้แก่ ส้มตำไทย ผัดไทย กะเพราหมู ต้มยำกุ้งน้ำใส ต้มยำกุ้งน้ำข้น มัสมั่นไก่ สะเต๊ะไก่ ลาบหมู ต้มข่าไก่ พะแนงเนื้อ แกงเขียวหวานไก่ และอาหารหวาน 2 เมนู ได้แก่ ทับทิมกรอบ และข้าวเหนียวมูนมะม่วงน้ำดอกไม้ ในปีนี้จะเพิ่มอีก 5 เมนู ขณะนี้อยู่ระหว่างการสำรวจความต้องการในการกำหนดเมนูใหม่ โดยการสอบถามและสัมภาษณ์ร้านอาห ารในประเทศและต่างประเทศจำนวน 40 ร้าน เน้นพื้นที่แหล่งท่องเที่ยวที่สำ คัญ คาดว่าจะทราบผลภายใน 1 เดือน หลังจากนั้นสถาบันอาหารจะได้ร่ว มกำหนดสูตรกับผู้เชี่ยวชาญ และผู้ทรงคุณวุฒิด้านอาหารไทยใน การปรุงและทดสอบโดยการชิ มและดมกลิ่น และผ่านกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ โดยใช้เครื่อง Electronic nose และ Electronic tongue มาช่วยในการตรวจวัดคำนวณค่ากลิ่ นรส และรสชาติค่าความเผ็ด ความเค็ม ความหวาน ความเปรี้ยว และอูมามิ เพื่อรวบรวมฐานข้อมูลใช้เป็นค่า มาตรฐานในการอ้างอิงจัดทำหลักเกณฑ์และเงื่อนไขการให้การรับรองมาตรฐานให้กับผลิตภัณฑ์อาหารไทยที่ ส่งออก ตลอดจนเมนูอาหารที่ให้บริการในร้ านอาหารไทยทั่วโลก โดยจัดพิมพ์เป็นคู่มืออ้างอิงมาตรฐาน “รสไทยแท้” พร้อมจัดกิจกรรมประชาสัมพันธ์เผยแพร่ต่อไป”
นายยงวุฒิ กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังจัดกิจกรรมให้คำปรึกษา และพัฒนาผู้ประกอบการในการผลิตอาหารให้ตรงตามมาตรฐานที่กำหนด สำหรับผู้ประกอบการอาหารและเครื่องดื่มที่มีโรงงานผลิตอาหารหรือ ร้านอาหารเป็นของตัวเองรวม 80 ราย แบ่งเป็นร้านอาหาร 30 ราย โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร 50 ราย โดยผู้เข้าร่วมโครงการจะได้รับคำ ปรึกษาด้านวัตถุดิบ รสชาติอาหาร เทคนิคการปรุง กระบวนการควบคุมคุณภาพ(Authentic of Thai Food) คำปรึกษาด้านการจัดการวัตถุดิบห รือการจัดการคลังสินค้าหรือการจั ดการเพิ่มประสิทธิภาพ ฝึกอบรมบุคลากรให้เข้าใจในการจั ดการวัตถุดิบหรือการจัดการเพื่อ เพิ่มประสิทธิภาพ ทั้งนี้ในภาพรวมคาดว่าจะมีบุคล ากรในแวดวงอุตสาหกรรมอาหารได้รับการอบรมความรู้เรื่องมาตรฐาน “รสไทยแท้” และสุขลักษณะที่ดีในการปรุงอาหา รไม่น้อยกว่า 1,000 ราย
โดยสถาบันอาหารจะสนับสนุนงบประมาณสำหรับการตรวจวิเคราะห์ให้ผู้เข้าร่วมโครงการรายละ 1 ผลิตภัณฑ์ ทั้งนี้เป็นการตรวจวิเคราะห์คุณ ภาพตามมาตรฐานรสไทยแท้ ตรวจวิเคราะห์ด้านความปลอดภัยใน อาหาร และตรวจรับรองมาตรฐานอาหารไทย“ร สไทยแท้” มีระยะเวลาในการดำเนินโครงการร วม 6เดือน(มกราคม – มิถุนายน 2561) สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ ที่ คุณกอบกาญจน์ และคุณณรงค์ฤทธิ์ โทร.0 2422 8688 ต่อ 2452, 2102, 2601 E-mail :kobkarn@nfi.or.th, narongrit@nfi.or.th หรือดาวน์โหลดใบสมัครได้ที่ www.nfi.or.th