แผ่นดินมังกร (หมายถึงประเทศสาธารณรัฐ ประชาชนจีน) มีพื้นที่ 9 ล้าน 6 แสนตารางกิโลเมตร บ่งบอกถึงความยิ่งใหญ่ของประเทศจีนในในทวีปเอเชีย มีระบบการแบ่งเขตบริหารและเมืองสำคัญๆ ของจีน จึงแบ่งออกเป็นหน่วยบริหารระดับมณฑล 34 หน่วย อันได้แก่ นคร ที่ขึ้นตรงต่อส่วนกลาง 4 นคร มณฑล 23 มณฑล เขตบริหารพิเศษ 2 เขต และเขตปกครองตนเอง 5 เขต
เขต ปกครองตัวเอง 5 เขต ประกอบด้วยเขตปกครองตนเองมองโกเลียใน เขตปกครองตนเองชนชาติธิเบต เขตปกครองตนเองชนชาติจ้วงแห่งกว่างซี เขตปกครองตนเองชนชาติอุยกูรแห่งซินเจียง เขตปกครองตนเองชนชาติหุย แห่งหนิงเซี่ย
ทั้งนี้ในการบริหารจัดการและเพื่อเป็นการกระจายความเสรีทางด้านวัฒนธรรม รัฐบาล จีนจึงได้แบ่งเขตการปกครองตามชนชาติที่อาศัยอยู่ในเขตต่างๆ ออกเป็นเขตปกครองตนเองดังกล่าว เขตปกครองตัวเอง มีตั้งแต่ระดับอำเภอถึงระดับมณฑล เขตปกครองตนเอง ชนชาติหุยแห่งหนิงเซี่ย (Ningxia Hui Autonomous Region) คือเขตปกครองตนเองของชาวหุยระดับมณฑลเพียงมณฑลเดียวในประเทศจีน มีประชากรทั้งหมด 56 ล้านคน มีมัสยิด 3300 แห่ง กระจายอยู่ทั่วมณฑล มีสมาคมเกี่ยวกับศาสนาอิสลามทั้งหมด 13 สมาคม
นอก จากชาวหุยแล้วยังมีชาวอุยกูร ตงเซียง เป่าอัน ซาลา ที่นับถือศาสนาอิสลาม และชาวฮั่น ที่ส่วนมากนับถือศาสนาพุทธ ศาสนาคริสต์ และ ลัทธเต๋า มีศาสนสถานทั้งหมด 200 แห่ง
มณฑล หนิงเซี่ยอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของจีน ตั้งอยู่บนเส้นทางสายไหม ในประวัติศาสตร์นั้น เป็นเส้นทางการค้าที่สำคัญของทางตะวันออกและตะวันตกและในฐานะที่เป็นมณฑลทาง ผ่านของแม่น้ำฮวงโห อีกแห่งหนึ่ง เป็นแหล่งอารยธรรมที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน จึงสามารถพูดได้ว่า เมื่อกล่าวถึงศาสนาอิสลามในจีนทุกๆ คนจะต้องพูดถึงมณฑลดังกล่าว
ตั้งแต่ ต้นศตวรรษที่ 7 บรรพบุรุษของชาวหุย ขี่อูฐและสะพายน้ำจากเปอร์เซียมาทางตะวันออก ขณะที่พวกเขาร่อนเร่พเนจรแต่พวกเขาก็ยังคงทำการค้าขาย กล่าวกันว่าตลาดนัดในสมัยนั้นเต็มไปด้วยเสียงร้องขายสินค้าหัตถกรรมต่างๆ ของพ่อค้าชาวอาหรับ และยังมีชาวอาหรับ และเปอร์เซียส่วนหนึ่งที่ศึกษาแลกเปลี่ยนความรู้ทางด้านต่างๆ กับคนในพื้นที่ เช่น ความรู้ทางด้านดาราศาสตร์ คณิตศาสตร์ เคมี เป็นต้น ทุกวันนี้เรื่องราวเหตุการณ์ทุกอย่างในอดีตนั้นถูกจัดเก็บอยู่ใน ‘พิพิธภัณฑ์ชาวหุย’
‘พิพิธ ภัณฑ์ชาวหุย’ ตั้งอยู่กลางลานวัฒนธรรมชาวหุยของจีนในอำเภอหย่งหนิง มณฑลหนิงเซี่ย ลานวัฒนธรรมดังกล่าวเป็นลานที่สร้างขึ้นภายใต้การสนับสนุนของรัฐบาลและ มุสลิม ที่มีใจรักวัฒนธรรมอิสลาม เป็นลานวัฒนธรรมแห่งเดียวทั่วประเทศจีน ที่แสดงวิถีและประเพณีของชาวหุย
และ เป็นสถานที่ท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์วัฒนธรรม แสดงให้เห็นถึงความหลากหลายของวัฒนธรรมอิสลาม และเป็นตัวเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มชนกับประเทศ รวมทั้งมิตรภาพระหว่างท้องถิ่น
ลักษณะ ของตัวอาคารของพิพิธภัณฑ์ จะเป็นรูปตัวอักษร (หุย) และเป็นสถาปัตยกรรม ที่เป็นรูปโดมแนวอาหรับ เริ่มเปิดให้บริการตั้งแต่ปี ค.ศ. 2006 บนเนื้อที่ 6,000 ตารางเมตร ประกอบด้วยห้องแสดงทั้งหมด 5 ห้อง และห้องฉายภาพยนตร์อีกหนึ่งห้อง
ทั้ง 5 ห้องมีเนื้อหาที่แตกต่างกัน ห้องแรก คือประวัติศาสตร์ของชาวหุยในจีน ห้องสองคือ คุณความดีของอารยธรรมอิสลามที่มีต่ออารยธรรมโลก ห้องสามคือ จารีตประเพณีของชาวหุย ห้องสี่คือคุณความดีของชาวหุยต่อวัฒนธรรมจีน ห้องที่ห้าคือ ประวัติของมณฑลหนิงเซี่ย
ภายใน พิพิธภัณฑ์ประกอบด้วยวัตถุโบราณต่างๆ จำนวน 40,000 ชิ้น ข้อมูลรูปภาพต่างๆ หุ่นจำลองและของจริงอีก 1,000 กว่าชิ้น ทำให้สามารถมองเห็นวิวัฒนาการและประวัติของชาวหุยได้อย่างชัดเจน
เมื่อ เราเดินเข้าไปในพิพิธภัณฑ์ดังกล่าว เราจะพบเห็นกล่องใส่เครื่องประดับ เครื่องเทศ ภาชนะกระจก และยารักษาโรค กาน้ำทองแดงลายดอกไม้ เตาแบบอาหรับ รวมทั้งแจกันที่มีลายเป็นภาษาอาหรับ เป็นต้น หุ่นจำลองที่กำลังละหมาด จ่ายตลาด และร้านอาหารชาวหุย
นอกจาก นี้แล้วยังมีเรื่องราวของการ เดินทางรอบโลกของเจิ้งเหอ เหตุการณ์การ สู้รบกับชาวญี่ปุ่น ที่น่าสนใจก็คือ ยังคงมีข้อมูลของชาวหุย ทั้งในประเทศและต่างประเทศ ของจีน เราจึงสามารถมองเห็นคุณค่าทางด้านต่างๆ ของพิพิธภัณฑ์ดังกล่าว
ผู้ เชี่ยวชาญของพิพิธภัณฑ์ชาวหุย เล่าว่า วัตถุโบราณต่างๆ ของชาวหุย ที่หลงเหลืออยู่ค่อนข้างน้อย และในการรวบรวมและจัดเก็บค่อนข้างลำบาก เพราะการฝังศพของชาวหุยนั้นจะต้องทำอย่างเร่งด่วน สิ่งของที่ฝังพร้อมศพนั้นค่อนข้างน้อย
นอกจาก นี้ สมัยราชวงค์ชิง (ค.ศ.1616 –1912) สืบเนื่องมาจากความตื่นตัวของกลุ่มชน จึงทำให้เกิดการกบฏขึ้นหลายครั้ง วัฒนธรรมของชาวหุยในช่วงนี้จึงถูกทำลาย นอกจากนี้แล้วชาวหุย และศาสนาอิสลาม มีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ไม่สามารถแยกออกจากกันได้
ใน ช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม (ค.ศ.1966-1976) โบราณวัตถุต่างๆ ของชาวหุย ถูกทำลายอีก พิพิธภัณฑ์แห่งนี้จะเน้นการเผยแพร่ความรู้ ความเป็นวิทยาศาสตร์และความบันเทิงเป็นหลัก สามารถกล่าวได้ว่าพิพิธภัณฑ์แห่งนี้คือ เป็นแหล่งบันทึกเหตุการณ์และบุคคลสำคัญ ประวัติการก่อร่างสร้างตัวเป็นรวมทั้งจารีตและขนบธรรมเนียมของชนชาวหุย นอกจากนี้แล้วยังเป็นแหล่งให้ความรู้ทางด้านต่างๆ ของมณฑลหนิงเซี่ยด้วย
ประเทศ จีน เป็นอีกประเทศหนึ่งที่มีกลุ่มชนชาติที่หลากหลาย ทั้งหมด 56 ชนชาติอยู่ภายใต้การปกครอง และดูแลของรัฐบาลจีน เพื่อเป็นการกระชับความสำคัญทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ และวัฒนธรรม
รัฐบาล ได้กำหนดนโยบายทางชนชาติต่างๆ มากมาย นโยบายเหล่านี้จะเน้นความสำคัญทางด้านความเสมอภาคและสามัคคีเป็นหลัก และจารีตประเพณีของตัวเอง แต่ละชนชาติก็ได้รับการคุ้มครองจากรัฐบาล จะเห็นได้ชัดเจนจากนโยบายที่มีผลกระทบต่อชาวหุย ตั้งแต่การให้ความสำคัญทางด้านอาหาการกิน เทศกาลวันสำคัญ การฝังศพ เป็นต้นล้วนเป็นนโยบายที่อำนวยความสะดวกให้กับชาวหุย จึงไม่น่าแปลกใจเลยที่การสร้างพิพิธภัณฑ์เพื่ออนุรักษ์วัฒนธรรมของตนเอง จึงได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาล
โดย ภาพรวมแล้วพิพิธภัณฑ์ชาวหุย เป็นแหล่งการศึกษาวัฒนธรรมอิสลามในจีนอีกแห่งหนึ่ง สิ่งที่จะต้องย้อนคิดก็คือความ ดีงามต่างๆ นั้นจะแสดงให้เห็นในชีวิตจริงได้เช่นไร และแน่นอนการสร้างพิพิธภัณฑ์ ชาวหุย ก็เป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงความสำเร็จในการพัฒนาทางด้านวัตถุอย่างเด่น ชัด การสนับสนุนของรัฐย่อมเป็นปัจจัยพื้นฐาน ที่สำคัญ และสิ่งนี้ยังคงสะท้อนให้เห็นถึงความสามัคคีในการสร้าง ‘ตัวอาคาร’ แต่สิ่งที่ควรจะต้องตระหนักมากกว่านั้นคือ แนวทางในการลดช่องว่างระหว่างทางวัตถุและทางจิตใจควรจะออกมาเป็นลักษณะไหน ฤาจะให้พิพิธภัณฑ์นี้มีความอลังการทางด้าน ‘อาคาร’ เพียงอย่างเดียว
ตีพิมพ์ครั้งแรก : เดอะพับลิกโพสต์ ฉ.32 กันยายน 2553
อ้างอิง:
http://news.sina.com.cn
http://baike.baidu.com
http://gb.cri.cn
http://www.hinews.cnsystem
http://thai.cri.cn
อาจารย์ประจำ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
nisareen@mfu.ac.th