เยอรมนีตีพิมพ์รัฐธรรมนูญเป็น “ภาษาอาหรับ” หวังช่วยผู้ลี้ภัยเรียนรู้เข้าสังคม

Partcipant of a pro-migrants demonstration holds a sign reading 'Keep calm and welcome refugees' at Potsdamer Platz in Berlin on September 12, 2015. Tens of thousands were due to rally in European capitals Saturday in support of migrants as Hungary's populist prime minister called for a giant aid package for countries around war-ravaged Syria to stem mass migration to Europe. AFP PHOTO / AXEL SCHMIDT

รอยเตอร์ – เยอรมนีแปล 20 มาตราแรกของรัฐธรรมนูญของประเทศ ซึ่งสรุปคร่าวๆ เกี่ยวกับสิทธิขั้นพื้นฐานต่างๆ อย่างเช่นเสรีภาพในการพูด เป็นภาษาอาหรับสำหรับผู้ลี้ภัยเพื่อช่วยให้พวกเขาเข้ากับสังคมได้

เยอรมนีกำลังพยายามรับมือกับการไหลทะลักของผู้คนที่คาดว่าน่าจะถึงราว 800,000 คนในปีนี้ ซึ่งมีทั้งผู้อพยพทางเศรษฐกิจและผู้แสงหาที่ลี้ภัยจากสงครามในตะวันออกกลางและแอฟริกา

นอกเหนือจากค่าใช้จ่ายและประโยชน์ของการดูแลคนจำนวนมากขนาดนี้ซึ่งมากเกือบ 1 เปอร์เซ็นต์ของประชากรเมืองเบียร์แล้ว ผู้มีสิทธิออกเสียงจำนวนมากยังเป็นกังวลว่าพวกเขาจะเข้ากับสังคมได้อย่างไร

ซิกมาร์ กาเบรียล รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเป็นประธานพรรคโซเชียลเดโมแครต (เอสพีดี) ฝ่ายกลางซ้ายด้วย บอกกับหนังสือพิมพ์รายวันไบล์ดว่า ผู้ลี้ภัยเป็นที่ต้อนรับแต่ว่าพวกเขาต้องพยายามปรับตัวด้วย

“ผู้คนที่มาที่นี่ต้องไม่เรียนเฉพาะภาษาเยอรมนีเท่านั้น แต่ต้องเรียนรู้กฎกติกาในการอยู่ร่วมกันด้วย” กาเบรียล บอกกับหนังสือพิมพ์เจ้านี้

“ผมเชื่อว่า 20 มาตราแรกของรัฐธรรมนูญของเราเป็นสิ่งที่ทำให้วัฒนธรรมของเราเป็นรูปเป็นร่าง” เขากล่าว พร้อมเสริมว่า เยอรมนีได้ตีพิมพ์ชุดมาตราดังกล่าว 10,000 ฉบับเพื่อแจกจ่ายให้กับผู้ลี้ภัยที่ศูนย์ลงทะเบียน

“กฎหมายพื้นฐาน” ของเยอรมนีซึ่งถูกนำมาใช้ในปี 1949 บรรยายถึงหลักการซึ่งสนับสนุนระบบกฎหมายและการแบ่งสรรอำนาจระหว่างรัฐบาลกลางและรัฐ 16 รัฐ

“เมื่อพวกเขาเข้ามายังเยอรมนี ไม่มีใครถูกบังคับให้เปลี่ยนศาสนาหรือให้เปลี่ยนชีวิตส่วนตัวของตน แต่สิ่งสำคัญสำหรับวัฒนธรรมของเราคือหลักการของสังคมประชาธิปไตยของเราใช้กับทุกๆ คน” กาเบรียล กล่าวเสริม

ผู้ลี้ภัยต้องยอมรับหลักการต่างๆ เช่น การแบ่งแยกศาสนาและรัฐออกจากกัน สิทธิเท่าเทียมสำหรับผู้ชายและผู้หญิง สิทธิที่จะเป็นชาวรักร่วมเพศ และเสรีภาพในการแสดงออก เขากล่าว พร้อมกับชี้ด้วยว่าลัทธิต่อต้านยิวไม่เป็นที่ยอมรับในเยอรมนี

 

ขอบคุณเนื้อหาข่าวจาก ASTVผู้จัดการออนไลน์