เบิกจ่ายงบปี 59 กว่า 96% ดันฟื้นเศรษฐกิจได้จริงหรือ?‏

การประชุมคณะรัฐมนตรี(ครม.)เมื่อวันที่ 20 ต.ค.ผ่านมา นายสมศักดิ์ โชติรัตนะศิริ ผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ ได้เสนอที่ประชุมพิจารณาแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำ ปีงบประมาณ 2559 ให้ที่ประชุมรับทราบ ได้กำหนดเป้าหมายการเบิกจ่ายงบประมาณ ในส่วนของงบประมาณ เพื่อการลงทุนไม่น้อยกว่า 87% จากวงเงินลงทุนรวม 544,354 ล้านบาท 

การ เบิกจ่ายงบประมาณประจำ ตั้งเป้าหมายการเบิกจ่ายไว้ที่ 98% จากวงเงินรายจ่ายประจำ 2,175,646 ล้านบาท โดยเบิกจ่ายงบประมาณในภาพรวมไม่น้อยกว่า 96% ของงบประมาณรายจ่ายปี 2559 วงเงินรวม 2,720,000 ล้านบาท

รายละเอียดระยะเวลาเป้าหมายเบิกจ่ายงบประมาณเพื่อการลงทุนปี 2559 รายไตรมาส

โดย ไตรมาส 1 ช่วงเดือนต.ค.-ธ.2558 วงเงินเบิกจ่าย 102,339 ล้านบาท คิดเป็น 19% ไตรมาส 2 เบิกจ่าย 116,492 ล้านบาท คิดเป็น 21% ไตรมาสที่ 3 เบิกจ่าย 115,947 ล้านบาท คิดเป็น 21% และไตรมาสสุดท้ายเบิกจ่าย 138,810 ล้านบาท คิดเป็น 26% 

หลัง จากที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นได้จัดทำแผนการปฏิบัติงานและแผนการใช้จ่ายงบ ประมาณประจำปี2559 ซึ่งผ่านความเห็นชอบจากรองนายกรัฐมนตรี หรือรัฐมนตรีที่กำกับดูแลและส่งให้สำนักงบประมาณจำนวน 420 หน่วยงาน พบว่ามีความสอดคล้องกับเป้าหมายในภาพรวมที่รัฐบาลกำหนดไว้

แผนการ ใช้จ่ายงบประมาณของหน่วยงานต่างๆตามแผนการใช้จ่ายครบ 100% พบว่า ในไตรมาสแรกของปีงบประมาณ 2559 ช่วงเดือนต.ค.-ธ.ค.2558 จะมีการเบิกจ่ายรวม 157,611 ล้านบาทคิดเป็น 29% ของงบลงทุนทั้งหมด ไตรมาสที่ 2 มีแผนเบิกจ่ายวงเงิน146,667ล้านบาทคิดเป็น 27%ไตรมาสที่3 เบิกจ่าย119,022ล้านบาท คิดเป็น22% และไตรมาสที่4เบิกจ่าย 121,052 ล้านบาท คิดเป็น22%

สำนัก งบประมาณ ยังได้เสนอความเห็นว่า แผนการใช้จ่ายงบประมาณรายไตรมาสที่ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่นจัดทำมีความสอดคล้องกับเป้าหมายการเบิกจ่ายราย ไตรมาสตามมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการเบิกจ่าย จึงอยู่ในวิสัยที่ผลการเบิกจ่ายงบประมาณ เป็นไปตามเป้าหมาย และเพื่อให้การใช้จ่ายงบประมาณ การลงทุนภาครัฐในปีงบประมาณ2559 มีส่วนในการกระตุ้นให้เกิดการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ และเป็นไปตามแผนที่กำหนดไว้

ให้ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีเจ้าสังกัด กำกับดูแลให้หัวหน้าส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่น และผู้ว่าราชการจังหวัดติดตาม และกำกับดูแลการปฏิบัติงานให้เป็นตามแผนการใช้จ่ายงบประมาณ ประจำปีงบประมาณ 2559 ที่กำหนดไว้ และปฎิบัติตามมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณ รายจ่าย ประจำปีงบประมาณ 2559 ตามมติครม.เมื่อวันที่ 1 ก.ย.2558 หากมีความจำเป็นต้องดำเนินการตามนโยบายรัฐบาลที่มีความจำเป็นเร่งด่วน แต่ไม่ตั้งงบประมาณไว้ สมควรให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจและหน่วยงานอื่น สามารถพิจารณาปรับแผนการปฏิบัติงาน และแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปี2559 โดยให้ขอความเห็นชอบจากรัฐมนตรีเจ้าสังกัดก่อน เพื่อตกลงกับสำนักงบประมาณ ตามระเบียบที่เกี่ยวข้อง

นอกจาก นี้ ยังกำหนดให้ส่วนราชการ รัฐวิสาหกิจ หน่วยงานอื่น จังหวัดและกลุ่มจังหวัด รายงานผลการปฏิบัติงานและการใช้จ่ายงบประมาณเป็นรายเดือน โดยบันทึกในระบบฐานข้อมูลการใช้จ่ายงบประมาณ และส่งรายงานให้สำนักงบประมาณเพื่อใช้ในการติดตามความก้าวหน้าของการปฏิบัติ งานและสรุปรายงานเสนอ ครม.ต่อไป

ทั้งนี้ ได้มีการประชุมรับฟังคำชี้แจง และหารือเกี่ยวกับนโยบายรัฐบาลเมื่อวันที่ 4 ก.ย.2558 มาแล้ว โดยมีประเด็นสำคัญที่จะขอให้ทุกส่วนราชการดำเนินการจัดทำแผนการปฏิบัติงาน และแผนการใช้จ่ายงบประมาณประจำปีงบประมาณ 2559 ตามมาตรการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้จ่ายงบประมาณ รายจ่ายประจำปีงบประมาณ2559

ใน ปีงบประมาณ 2559 รัฐบาลมีความตั้งใจที่จะเร่งรัดการเบิกจ่ายงบประมาณ เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการกระตุ้นเศรษฐกิจ โดยจะเร่งเบิกจ่ายงบลงทุนโครงการขนาดเล็กที่สามารถเบิกจ่ายได้รวดเร็ว ในกรณีที่เป็นงบลงทุนในโครงการที่มีมูลค่าไม่เกิน 2 ล้านบาท ที่สามารถใช้วิธีการสอบราคา (การตรวจสอบราคาในตลาด) จะใช้เวลาในการจัดซื้อจัดจ้างเพียง 20-30 วัน ขณะที่งบลงทุนในโครงการที่มีมูลค่าสูงกว่า 2 ล้านบาท จะใช้วิธี e-bidding จะใช้เวลา 30-42 วัน

สำหรับ งบประมาณปี 2559 ที่มีวงเงินรายจ่ายรวม 2.72 ล้านล้านบาท เป็นงบขาดดุล 3.9 แสนล้านบาท และมีงบลงทุน 5.43 แสนล้านบาท ในจำนวนงบลงทุน ได้จัดแบ่งกลุ่มตามวงเงินลงทุน

โดย งบลงทุนที่เป็นโครงการลงทุนขนาดเล็กไม่เกิน 1 ล้านบาท จำนวน 1.69 หมื่นล้านบาท ,โครงการลงทุนมากกว่า 1 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 2 ล้านบาท มี 1.54 หมื่นล้านบาท , โครงการลงทุนมากกว่า 2 ล้านแต่ไม่เกิน 5 ล้านบาท มีอยู่ 4.63 หมื่นล้านบาทลักษณะของโครงการลงทุน แบ่งได้ตามวงเงินและงบประมาณดังนี้

โครงการ ลงทุนวงเงินมากกว่า 5 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 10 ล้านบาท มีจำนวน 5.51 หมื่นล้านบาท โครงการมากกว่า 10 ล้านบาท ถึง 50 ล้านบาท จำนวน 1.22 แสนล้านบาท โครงการมากกว่า 50 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 100 ล้านบาท จำนวน 4.16 หมื่นล้านบาท

โครงการ มากกว่า 100 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 500 ล้านบาท จำนวน 8.58 หมื่นล้านบาท โครงการมากกว่า 500 ล้านบาท แต่ไม่เกิน 1 พันล้านบาท จำนวน 2.95 หมื่นล้านบาท

โครงการ ลงทุนที่มากกว่า 1 พันล้านบาทขึ้นไปมี 4.25 หมื่นล้านบาท ส่วนที่เหลือเป็นงบกลางของปีงบ 2559 เป็นงบลงทุนอีก 8.72 หมื่นล้านบาท

จะ เห็นว่าการตีกรอบงบรายจ่ายงบประมาณประจำปี2559 โดยเฉพาะงบเพื่อการลงทุนไม่น้อยกว่า 87% จากวงเงินลงทุนรวม 544,354 ล้านบาท ที่ตามเบิกจ่ายรายไตรมาสแล้ว

พบ ว่าเป็นการเบิกจ่าย เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่ที่พบในหลักการจัดทำงบประมาณ แต่งบลทุนดังกล่าวถือว่าน้อยนิดประมาณ 20% ของงบประมาณรายจ่ายประจำปี

อย่างที่พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีว่า“งบ ประมาณรายจ่ายปี2559 วงเงิน 2.72 ล้านล้าน ตั้งงบขาดดุลไปเรื่อยๆ ขณะเดียวกันหนี้สินก็พอกพูน การลงทุนที่ชัดเจนเรื่องโครงสร้างพื้นฐานก็ไม่เกิดแล้ว จะเอารายได้ที่ไหนมาพัฒนาประเทศ “

คำถาม ที่ตามมาคือว่า งบประมาณเพื่อการลงทุนที่รัฐบาลระบุว่าจะใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจนั้น สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้จริงหรือ? ขณะที่เศรษฐกิจไทยชะลอตัวลงแรงในช่วงไตรมาสที่ 4 ของปี 2558