อุปทูตอิหร่านเรียกร้องอเมริกาใช้ปัญญาในกรณีซีเรีย ด้านนักวิชาการชี้ไร้ความชอบธรรม

(จากซ้ายไปขวา) นายเอก มงคล , นายมุศฏอฟา นัจญารียอน และ ดร.ประเสริฐ สุขศาสน์กวิน 

โดย ราญาอี ธนชยางกูร / เดอะ พับลิกโพสต์

อุปทูต อิหร่านเรียกร้องอเมริกาใช้ปัญญาในกรณีซีเรีย เลิกแสวงหาผลประโยชน์ในสถานการณ์ อาจารย์รัฐประศาสนศาสตร์ติงอเมริกาไร้ความชอบธรรมต่อปัญหาซีเรีย

อุปทูตอิหร่านเผย อิหร่านปรารถนาสันติภาพในตะวันออกกลาง แต่อิหร่านกับซีเรียเป็นพันธมิตร ย้ำทุกปัญหาต้องแก้ไขด้วยการทูต อาจารย์คณะรัฐประศาสนศาสตร์ชี้ กรณีซีเรียสหรัฐไร้ความชอบธรรมที่จะเข้าไปในซีเรีย หัวหน้าภาควิชาอิสลามศึกษา ย้ำโลกปัจจุบันต้องปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ เพื่อสร้างสังคมอารยะและสันติสุขที่แท้จริง

จากกรณีที่สหรัฐอเมริกามีเป้าหมายที่จะใช้กำลังทางทหารเข้าจัดการปัญหาซีเรีย ในกรณีการใช้ก๊าซพิษสังหารประชาชนโดยไม่ทราบฝ่ายไหน แต่สุดท้ายรัสเซียเข้ามาเป็นผู้ไกล่เกลี่ยจนทำให้อเมริกาต้องล่าถอยไป อย่างไรก็ตาม แม้สหรัฐอเมริกาจะยุติการเปิดศึกกับซีเรีย แต่กรณีนี้เป็นเพียงการยุติการโจมตีเพียงชั่วคราวเท่านั้น อเมริกายังคงไม่ละความพยายามในการใช้กำลังทางทหารเข้าโจมตีซีเรีย พับลิกโพสต์ ได้สัมภาษณ์ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องและเฝ้าติดตามสถานการณ์มานำเสนอต่อท่าน ผู้อ่านดังนี้

นา ยมุศฏอฟา นัจญารียอน อุปทูตวัฒนธรรม ศูนย์วัฒนธรรม  สถานเอกอัครราชทูตสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่าน ประจำประเทศไทย กล่าวว่า  “อิหร่านกับซีเรียเป็นพันธมิตรต่อกัน และอิหร่านต้องการในเกิดสันติภาพในตะวันออกกลาง และได้พยายามหลีกเลี่ยงที่จะเผชิญหน้าด้วยสงครามทุกวิธี อีกทั้งยังเรียกร้องอยู่เสมอว่า ทุกๆ ปัญหาต้องร่วมกันแก้ปัญหาด้วยการเจรจาเพื่อที่จะได้เข้าใจร่วมกันในสิ่งที่ เกิดขึ้นบนพื้นฐานของความเป็นจริง”

“อิหร่าน เองก็ได้ประกาศอยู่เสมอว่า ไม่ว่าจะเป็นสิ่งใด หากไม่มีความชอบธรรม ไม่ว่าประเทศดังกล่าวจะเป็นประเทศพันธมิตรหรือประเทศใด หากไม่ตั้งอยู่บนความชอบธรรม อิหร่านก็จะไม่มีทางไปปกป้องอย่างแน่นอน ในกรณีของประเทศซีเรียก็เช่นกัน ปัจจุบันถ้าเราได้ติดตามข่าวสารแล้วเราจะรู้ว่า สาเหตุที่อิหร่านเข้าไปปกป้องนั้น ไม่ได้ขัดแย้งกับหลักการแห่งมนุษยธรรมแด่อย่างใด”

“ใน กรณีของประเทศซีเรีย อิหร่านได้ยืนยันมาตลอดว่า จะต้องเป็นไปเพื่อมนุษย์ธรรม และจะต้องอยู่บนพื้นฐานของการเคารพคุณค่าของความเป็นมนุษย์ และอิหร่านได้เรียกร้องให้สหรัฐอเมริกาใช้สติปัญญาให้มากกว่านี้ ในการที่จะแก้ปัญหาวิกฤตการณ์ในซีเรีย และต้องยึดหลักที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง อย่าได้คิดแต่จะแสวงหาแต่เพียงประโยชน์เท่านั้น”

อุปทูต วัฒนธรรมอิหร่าน กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า “ที่ผ่านมาอิหร่านได้เรียกร้องสันติภาพอยู่เสมอในตะวันออกกลาง โดยเฉพาะประเด็นปัญหาของซีเรีย เพียงแต่เสียงของอิหร่านเป็นเสียงที่ไม่ค่อยจะดังพอที่ประชาคมโลกจะได้ยิน และความปรารถนาสันติภาพของอิหร่านนั้นสื่อต่างๆ ในประเทศตะวันตกจะไม่ค่อยได้ให้ความสำคัญ และอิหร่านเองก็ไม่ค่อยได้มีช่องทางที่จะสื่อสารกับโลกมากเท่าไหร่สำหรับใน เรื่องนี้  แต่จุดยืนของอิหร่านเกี่ยวกับซีเรียนั้น อิหร่านได้ยืนยันอยู่เสมอว่าอิหร่านนั้นต้องการและปรารถนาสันติภาพ”

ด้าน นายเอก มงคล คณบดี คณะรัฐประศาสนศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา กล่าวว่า  “ประเด็นอเมริกากับซีเรียนี่มันมีการ Bias(อคติ) มาตั้งแต่แรก เรามีความรู้เกี่ยวกับซีเรียไม่ถึงครึ่งหนึ่งที่เรารู้เกี่ยวกับอเมริกาเลย แต่อย่างไรก็ตาม ตามปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้น อเมริกาไม่มีความชอบธรรมใดๆ เลยที่จะเข้าไปในซีเรีย ไม่ว่ากรณีใดๆ ทั้งสิ้น เช่นเดียวกับที่อเมริกาเคยทำกับอิรัก ซึ่งหลักจากเสร็จสิ้นการปฏิบัติการในสงครามอ่าว อเมริกาก็ไม่สามารถหาหลักฐานหรือข้ออ้างใดๆ ตามที่อเมริกาได้กล่าวหาต่ออิรักว่า อิรักมีอาวุธร้ายแรงหรือมีนิวเคลียร์ ซึ่งท้ายที่สุดแล้วหลังจากอเมริกาเสร็จสิ้นปฏิบัติการในสงครามอ่าว อเมริกาก็ไม่ได้แสดงความรับผิดชอบหรือมีการชดใช้ ในสิ่งที่ตนผิดพลาดเกี่ยวกับอิรักแต่ประการใดมาจนถึงปัจจุบัน”

“ในประเด็นที่เกี่ยวกับซีเรียก็เช่นกัน กรณีซีเรียเองก็ไม่ได้มีปัญหากับอเมริกาโดยตรงตั้งแต่แรก และปัญหาที่เกิดขึ้นในซีเรียก็ไม่ได้เป็นปัญหาที่อยู่ในสถานะที่จะกระทบต่อ โลก มันเป็นปัญหาที่เกิดขึ้นเฉพาะพื้นที่เฉพาะกลุ่ม”

นายเอก กล่าวต่อว่า “อเมริกาใช้กำลังของการเป็นอันธพาลโลกเข้ามาจัดระบบ ฉะนั้นการที่เป็นอันธพาลโลกที่เข้ามายุ่งและแทรกแซงประเทศต่างๆ ในที่สุดประเทศเหล่านี้ที่คิดว่ามีความอ่อนแอกว่าก็จะมีการรวมกลุ่มเข้ามา ต้านอเมริกาได้ เพราะฉะนั้นการที่อเมริกาคิดที่จะเข้ามาทำสงครามหรือคิดจะมาจัดระบบในซีเรีย โดยกำลัง มันหาความชอบธรรมไม่ได้ อธิบายความชอบธรรมไมได้ สรุปความชอบธรรมไม่ได้ และสุดท้ายแล้วอเมริการับผิดชอบไม่ได้”

“เพราะฉะนั้นทางที่เป็นไปได้ก็คือ ถ้าละความโลภของตัวเองไปได้ ใช้สติและคิดอะไรที่มันจะแก้ปัญหาได้มากกว่านี้ เหตุการณ์เหล่านี้ หรือความเศร้าความเสียใจก็จะไม่เกิดขึ้น และจะได้ไม่ต้องหาใครมารับผิดชอบในความสูญเสียที่จะเกิดขึ้นจากสงครามใน อนาคตได้อีก” คณบดี รัฐประศาสนศาสตร์ กล่าว

ส่วน ดร.ประเสริฐ สุขศาสน์กวิน หัวหน้าภาควิชาอิสลามศึกษา  สถาบันเทคโนโลยีแห่งอโยธยา กล่าวว่า “ประเด็นปัญหาที่เกิดวิกฤติในโลกปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นตะวันออกกลางหรือส่วนไหนของโลก…มันเป็นวิกฤตที่ชาวโลกส่วน ใหญ่ไม่อยากจะให้เกิดขึ้นโดยเฉพาะสงครามระหว่างมนุษยชาติมันมีแต่ความเลว ร้ายที่เกิดขึ้น”

“ปัญหา ของซีเรียเป็นตัวชี้วัดอย่างหนึ่งว่า ประชาคมโลกไม่ว่าจะเป็นมุสลิมหรือไม่ใช่มุสลิมต่างก็ไม่ต้องการสงครามอีก แล้ว แม้กระทั่งในสหรัฐอเมริกาเองโพลล์ล่าสุดจากการสำรวจพบว่า ประชาชนกว่า 70% ไม่ต้องการสงคราม หรือไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลที่จะทำการโจมตีซีเรีย”

“ดังนั้นสิ่งที่ที่ได้เห็นในปรากฏการณ์ปัจจุบันก็คือว่า  ประชาชนทั้งส่วนใหญ่ของโลกได้ปรับเปลี่ยนกระบวนทัศน์ที่มีต่อสงครามแล้ว การใช้กระบวนทัศน์แบบโบราณที่ว่าข้าถูกอย่างเดียว ใครคิดต่างเป็นผู้ผิดและจะต้องกำจัดให้หมดไปนั้น ถือว่าเป็นความคิดที่ล้าหลัง ดังนั้นการที่จะทำให้เกิดสันติภาพได้นั้น ทุกคนจะต้องยอมรับในความแตกต่างที่มีอยู่ แล้วก็สามารถอยู่ร่วมกับความแตกต่างนั้นอย่างสมดุล เกิดพลวัตหรือพลังแห่งการขับเคลื่อนไปสู่การอยู่ร่วมกันอย่างสันติโดย แท้จริง”

“ดังนั้นปัญหาที่เกิดขึ้นในซีเรีย เป็นสิ่งที่ชี้ให้เห็นว่า ชาติมหาอำนาจไม่สามารถใช้มติ หรือสภาคองเกรสเองก็ไม่สามารถที่จะเทคะแนนเสียงเพื่อสนับสนุนนายบารัค โอบามา เพราะไม่เห็นประโยชน์จากสิ่งที่เกิดขึ้น แสดงให้เห็นว่าไม่ว่าชนชั้นนำหรือชนชั้นระดับรากหญ้าได้ปรับเปลี่ยนกระบวน ทัศน์ที่จะทำให้สันติภาพเกิดขึ้นในตะวันออกกลาง ต่อไปในอนาคตคนที่มีกระบวนทัศน์แบบโบราณ แบบข้าใหญ่คนเดียวก็จะไม่มีพื้นที่ที่จะยืน…แต่สำหรับคนที่สามารถปรับ เปลี่ยนกระบวนทัศน์ในกระบวนทัศน์ คือ คนที่สามารถอยู่ได้ในท่ามกลางความแตกต่างอันหลากหลายและสามารถสร้างสันติภาพ ได้นั้น คนกลุ่มนี้จะสามารถนำโลกไปสู่สังคมอารยะและสันติสุขได้อย่างแท้จริง” หัวหน้าภาควิชาอิสลามศึกษา กล่าว