เนอวานา ได้รับเลือกเป็น ”หุ้นยั่งยืน” จากตลาดหลักทรัพย์ฯ

เนอวานา ไดอิ ได้รับเลือกให้เป็นบริษัทหุ้นยั่งยืนในกลุ่มอุตสาหกรรมอสังหาริมทรัพย์และก่อสร้างประจำปี 2564 ะท้อนความมุ่งมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน คำนึงถึงผลกระทบต่อชุมชนและสิ่งแวดล้อม ถึงแม้จะต้องเผชิญวิกฤตโควิด-19 ในปีที่ผ่านมา

นายศรศักดิ์ สมวัฒนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท.เนอวานา ไดอิ จำกัด (มหาชน) หรือ “NVD” กล่าวว่า การที่บริษัทได้รับคัดเลือกให้อยู่ในหุ้นยั่งยืน หรือ Thailand Sustainability Investment (THSI) 2021 ของตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยนั้น ตอกย้ำการดำเนินงานที่ให้ความสำคัญกับการสร้างมูลค่าควบคู่ไปกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทั้งภายในและภายนอกองค์กร ปัจจัยของผลกระทบทางเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม รวมถึงแนวโน้มการเปลี่ยนแปลงของโลกตามเป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs)

นายศรศักดิ์ สมวัฒนา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท.เนอวานา ไดอิ จำกัด (มหาชน)

ทั้งนี้ บริษัทยึดมั่นในหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี ภายใต้จรรยาบรรณกาดำเนินธุรกิจอย่างโปร่งใส เป็นธรรม ตรวจสอบได้ เคารพกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง นอกจากนี้บริษัทยังให้ความสำคัญกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตของพนักงาน ชุมชน และสังคมอย่างยั่งยืน รู้จักประหยัดพลังงานและดูแลรักษาสิ่งแวดล้อม มุ่งพัฒนาโครงการที่มีคุณภาพและคำนึงถึงผลกระทบต่อชุมชนรอบข้าง โดยในปี 2564 นี้ ริษัทสามารถปรับตัวและการรับมือกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ยังดำเนินงานโดยคำนึงถึงผลกระทบและรับผิดชอบในกระบวนการธุรกิจ (SD-in-process) ที่เหมาะสมกับลักษณะธุรกิจมากยิ่งขึ้น

อย่างไรก็ตาม หุ้นยั่งยืน ได้จัดทำโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2558 โดยรายชื่อหุ้นยั่งยืน คัดเลือกจากบริษัทจดทะเบียนที่เข้าร่วมตอบแบบประเมินความยั่งยืน ซึ่งครอบคลุมมิติเศรษฐกิจ (รวมบรรษัทภิบาล) สังคม และสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นวัดผลในด้านกระบวนการดำเนินงานด้านความยั่งยืน ซึ่งประกอบด้วยการกำหนดนโยบาย การตั้งเป้าหมาย การนำนโยบายไปปฏิบัติ การวัดผลลัพธ์จากการดำเนินการ และการเปิดเผยข้อมูลของบริษัท ซึ่ง บจ.ที่ได้รับคัดเลือกให้อยู่ในรายชื่อหุ้นยั่งยืนต้องมีคะแนนผ่านร้อยละ 50 ในทุกมิติ และผ่านเกณฑ์คุณสมบัติที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ กำหนด เช่น การประเมินคุณภาพรายงานด้านบรรษัทภิบาล (CGR) ผลประกอบการด้านกำไรสุทธิและส่วนของผู้ถือหุ้น การกำกับดูแลในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับคุณสมบัติของ บจ. และการไม่สร้างผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล เป็นต้น