การวิเคราะห์ภาวะมีบุตรยาก และขั้นตอนในการรักษา

Laboratory assistant holding test tube, Close-up view focused on the test tube

 

การวิเคราะห์ภาวะมีบุตรยาก และขั้นตอนในการรักษา

การวิเคราะห์ภาวะมีบุตรยาก เป็นอีกหนึ่งความต้องการของคู่สมรสที่อยากมีบุตรแต่บุตรยังไม่มาตามที่ปรารถนาไว้ ทำให้อยากรู้ถึงสาเหตุที่บุตรยังไม่มาหรือสาเหตุที่มีบุตรยาก ซึ่งทางบทความก็ได้รวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องนี้มาให้แล้ว ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ภาวะมีบุตรยาก หรือขั้นตอนการรักษา เพื่อให้คู่สมรสทั้งหลายได้เก็บเกี่ยวข้อมูลรายละเอียดและนำไปพิจารณาวางแผนมีบุตรต่อไป

การวิเคราะห์ภาวะมีบุตรยาก ด้วยตนเอง

เริ่มต้นเลยหลายคนสังเกตตัวเองได้ว่ามีภาวะมีบุตรยากหรือไม่ โดยเฉพาะในคู่สมรสที่อยากมีบุตร สามารถวิเคราะห์ได้เบื้องต้น โดยการวิเคราะห์จากระยะเวลาเป็นหลัก ถ้าหากมีเพศสัมพันธ์อย่างสม่ำเสมอ (2-3 ครั้ง/สัปดาห์) โดยไม่คุมกำเนิด ติดต่อกันเป็นระยะเวลา 1 ปี แต่ไม่ตั้งครรภ์ เป็นไปได้ว่าคู่นั้นอาจมีภาวะมีบุตรยาก

การวิเคราะห์ภาวะมีบุตรยาก ทางการแพทย์

หลังจากวิเคราะห์เบื้องต้นด้วยตนเองไปแล้ว คู่สมรสสามารถให้แพทย์วิเคราะห์เชิงลึกได้ เพื่อหาสาเหตุของการมีบุตรยากว่าเกิดจากอะไร แนะนำให้ปรึกษาแพทย์หลังครบยะเวลา 1 ปีที่มีเพศสัมพันธ์อย่างต่อเนื่องโดยไม่คุมกำเนิด แต่ไม่พบการตั้งครรภ์ ซึ่งสิ่งที่แพทย์จะวิเคราะห์ ได้แก่

1.วิเคราะห์การตกไข่ในฝ่ายหญิง

แพทย์จะทำการวิเคราะห์การตกไข่ในฝ่ายหญิง ว่ามีการตกไข่ที่ปกติหรือไม่ และการตกไข่ในแต่ละรอบ มีจำนวนไข่ที่เพียงพอต่อการปฏิสนธิหรือไม่ หากพบความผิดปกติที่การตกไข่ จะทำการวางแผนการรักษาต่อไป ซึ่งวิธีการรักษาที่ง่ายที่สุดกรณีที่มีบุตรยากจากการตกไข่ที่มีปัญหา สามารถใช้วิธีฉีดน้ำเชื้อ (IUI) ได้ เพื่อฉีดน้ำเชื้อเข้าสู่โพรงมดลูกโดยตรง โดยจะเลือกช่วงเวลาที่ใกล้กับช่วงที่มีไข่ตก แต่นอกจากนี้ก็อาจเลือกใช้วิธีอื่นได้ เช่น การทำกิฟต์ เป็นต้น

2.วิเคราะห์เซลล์สืบพันธุ์ในฝ่ายหญิง

นอกจากการตกไข่แล้วแพทย์จะทำการวิเคราะห์เซลล์สืบพันธุ์ในฝ่ายหญิง ได้แก่ ท่อนำไข่ รังไข่ และโพรงมดลูก โดยการฉีดสีตรวจท่อนำไข่และโพรงมดลูก เพื่อดูว่าท่อนำไข่ตีบตันหรือไม่ และมีการตรวจวินิจฉัยด้วยภาพอัลตราซาวด์บริเวณโพรงมดลูกและรังไข่ รวมถึงการส่องกล้องในช่องท้อง เพื่อตรวจความผิดปกติบริเวณท่อนำไข่ รังไข่ หรือมดลูก

หากพบว่ามีความผิดปกติที่บริเวณเซลล์สืบพันธุ์ในฝ่ายหญิง แพทย์จะทำการวิเคราะห์การรักษาที่เหมาะสมต่อไป โดยการรักษาที่เหมาะสมกับผู้ที่มีความผิดปกติของเซลล์สืบพันธุ์ ได้แก่ การทำกิฟต์และการทำเด็กหลอดแก้ว

3.วิเคราะห์จำนวนไข่พื้นฐานในฝ่ายหญิง

จำนวนไข่ที่ผลิตได้ในฝ่ายหญิงมีความสำคัญกับการตั้งครรภ์ โดยภาวะผู้มีบุตรยากสำหรับบางคู่นั้น เกิดจากร่างกายฝ่ายหญิงที่ผลิตไข่ได้ไม่เพียงพอ หรือมีจำนวนที่น้อยเกินไป เกิดขึ้นได้จากสาเหตุสำคัญคือความผิดปกติที่รังไข่ ซึ่งมีหน้าที่ผลิตเซลล์ไข่ออกมา เมื่อแพทย์พบว่ามีจำนวนไข่พื้นฐานที่ไม่เพียงพอ จะทำการวิเคราะห์สาเหตุต่อไป โดยเฉพาะการวิเคราะห์รังไข่ และเมื่อพบความผิดปกติ จะทำการวิเคราะห์การรักษาที่เหมาะสมต่อไป หากผิดปกติที่รังไข่จริง การทำกิฟต์และการทำเด็กหลอดแก้ว  สามารถแก้ปัญหาเรื่องนี้ได้

4.วิเคราะห์เชื้ออสุจิในฝ่ายชาย

ปริมาณเชื้ออสุจิในฝ่ายชายมีความสำคัญกับการตั้งครรภ์ รวมถึงคุณภาพของอสุจิก็ส่งผลเช่นกัน แพทย์จึงต้องทำการตรวจวิเคราะห์น้ำอสุจิ (Semen Analysis) เพื่อดูคุณภาพของอสุจิและดูด้วยว่าในน้ำเชื้อมีเซลล์อสุจิหรือไม่ โดยแพทย์จะทำการตรวจผ่านกล้องจุลทรรศน์ หากพบความผิดปกติ สามารถวางแผนการรักษาต่อไปได้ โดยสาเหตุมีบุตรยากจากเชื้ออสุจิที่ไม่แข็งแรง สามารถรักษาได้โดยการการฉีดน้ำเชื้อ (IUI) การทำกิฟต์ และการทำเด็กหลอดแก้ว ซึ่งวิธีการรักษาที่ใช้จะขึ้นอยู่กับระดับความรุนแรงของความผิดปกติในเชื้ออสุจิ

5.วิเคราะห์อวัยวะสืบพันธุ์ในฝ่ายชาย

อวัยวะสืบพันธุ์ในฝ่ายชายมีผลต่อการผลิตและลำเลียงเชื้ออสุจิ จึงต้องมีการวิเคราะห์อวัยวะสืบพันธุ์ในฝ่ายชาย หลักๆ จะเป็นการวิเคราะห์ความผิดปกติที่เกิดกับอวัยวะสืบพันธุ์ เช่น การติดเชื้อที่ระบบอวัยวะสืบพันธุ์ การอักเสบที่ต่อมลูกหมาก อัณฑะอักเสบ เป็นต้น หากพบสาเหตุของความผิดปกติในอวัยวะสืบพันธุ์ แพทย์จะทำการหาวิธีการรักษาที่เหมาะสมต่อไป

6.วิเคราะห์พฤติกรรมของทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย

ปัญหาการมีบุตรยากบางครั้งพบว่าสัมพันธ์กับฮอร์โมนของทั้งฝ่ายชายและฝ่ายหญิง ซึ่งหลายครั้งระดับฮอร์โมนก็สามารถปรับได้จากพฤติกรรมบางอย่าง เช่น การดื่มสุรา การสูบบุหรี่ การพักผ่อนไม่เพียงพอ ความเครียด และอื่นๆ หากมีการวิเคราะห์แล้วแพทย์จะแนะนำการปรับพฤติกรรมที่เหมาะสมให้กับทั้งฝ่ายหญิงและฝ่ายชาย

ขั้นตอนในการรักษาภาวะมีบุตรยาก

  1. คู่สมรสเข้ารับการปรึกษา
  2. ตรวจร่างกายและความพร้อมฝ่ายหญิง
  • ตรวจการตกไข่
  • ฉีดสีตรวจท่อนำไข่และโพรงมดลูก
  • ตรวจจำนวนไข่พื้นฐานและตรวจระดับฮอร์โมนที่ควบคุมระบบสืบพันธุ์
  • ฉายภาพอัลตราซาวด์บริเวณโพรงมดลูกและรังไข่
  • ส่องกล้องตรวจโพรงมดลูก
  • ส่องกล้องในช่องท้อง เพื่อตรวจความผิดปกติบริเวณท่อนำไข่ รังไข่ หรือมดลูกหรือไม่

หมายเหตุ โปรแกรมการตรวจอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคลินิก

3. ตรวจร่างกายและความพร้อมฝ่ายชาย

  • ตรวจอวัยวะเพศ
  • ตรวจฮอร์โมน เช่น ตรวจหาระดับของเทสโทสเตอร์โรน เป็นต้น
  • ตัดชิ้นเนื้ออัณฑะไปตรวจ
  • ตรวจอัลตราซาวด์ต่อมลูกหมาก
  • ตรวจท่อลำเลียงน้ำเชื้อ

หมายเหตุ โปรแกรมการตรวจอาจแตกต่างกันไปในแต่ละคลินิก

4. แพทย์วิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุ

5. แพทย์แนะนำวิธีการรักษา

6. นัดวันเข้ารับการรักษา

การวิเคราะห์ภาวะมีบุตรยาก มีความสำคัญในเรื่องของการหาสาเหตุของปัญหา ซึ่งสัมพันธ์กับการวางแผนการรักษาเพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่เหมาะสมต่อไป ทั้งนี้คู่สมรสที่กำลังประสบปัญหามีบุตรยาก แนะนำว่าให้สังเกตตัวเองตามระยะเวลาที่กำหนดดูก่อน แล้วจากนั้นก็เข้าพบแพทย์ที่ศูนย์ผู้มีบุตรยาก ซึ่งแพทย์จะเลือกใช้เทคนิคการรักษาที่เหมาะสมต่อไป