“ผศ.อรรถพล” เชื่อตัวแปรสำคัญอยู่ที่ “ครู” ทดลองนำหลักสูตรการเรียนการสอนใช้จริงในชั้นเรียน พัฒนา “ครูผู้สร้างโลกในพื้นที่ชายแดนใต้”

27 พฤษภาคม 2566 นายอัฟฎอล อาแว อาจารย์หมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา ในฐานะผู้จัดการโครงการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนและการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองโลก (GCED Teacher Community) โดยความร่วมมือระหว่างโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) และศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, Hall of Education และ HBD2U ภายใต้การสนับสนุนของสหภาพยุโรป (EU) กล่าวว่า

โครงการพัฒนานวัตกรรมการเรียนรู้สู่การพัฒนาอย่างยั่งยืนและการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองโลก (GCED Teacher Community) โดยผนึกกำลังภาคีเครือข่ายด้านการศึกษาเพื่อพัฒนาครูผู้สร้างพลเมืองโลกในพื้นที่ชายแดนใต้ เพื่อเสริมสร้างศักยภาพของสถาบันการศึกษาในพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา ผ่านการพัฒนาและสนับสนุนครูผู้สอนให้สามารถบูรณาการกรอบการพัฒนาอย่างยั่งยืน และการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองโลกในหลักสูตรการเรียนการสอนและนำไปทดลองใช้จริงในชั้นเรียน กิจกรรมชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ

“จัดขึ้นเพื่อนำเสนอเส้นทางการเรียนรู้และการทดลองของครูผู้สอนจาก 30 โรงเรียนในจังหวัดนราธิวาส ปัตตานี และยะลา เราต้องการให้เป็นพื้นที่สำหรับการแลกเปลี่ยนระหว่างภาคีเครือข่ายเพื่อรวบรวมความคิดเห็นและคำแนะนำต่อเนื้อหาหลักสูตรในเชิงนโยบาย และการขยายขอบเขตการดำเนินงานของชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ด้านการศึกษาเพื่อสร้างพลเมืองโลกให้เกิดขึ้นในพื้นที่ชายแดนใต้” นายอัฟฎอล กล่าว

เราแบ่งกิจกรรมเป็นภาคเช้าและภาคบ่าย โดยในภาคเช้า ชวนครูผู้สร้างพลเมืองโลก ทั้ง 30 โรงเรียนได้ร่วมกันแลกเปลี่ยน สร้างการเรียนรู้ร่วมกัน เพื่อให้เกิดชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โดยแบ่งครูออกเป็น 4 กลุ่มอิงตามแผนปฏิบัติการนำ GCED ไปใช้ในระดับชั้นเรียนและโรงเรียน ดังนี้ 1. การบูรณาการ GCED เข้าสู่บทเรียน (Lesson) 2. การกำหนด GCED เป็นหัวข้อของโครงการกิจกรรม (Project) 3. การส่งเสริมการเรียนรู้ GCED ผ่านกิจกรรมหลักสูตร (Co-curricular) และ4. การกำหนด GCED เป็นห้อข้อของกิจกรรมนอกหลักสูตร (Extracurricular)

และในภาคบ่าย Renaud Meyer ผู้แทนโครงการแห่งสหประชาชาติ ประจำประเทศไทย ได้ร่วมต้อนรับและพบปะครูผู้สร้างพลเมืองโลก เป้าหมายของโครงการในครั้งนี้ UNDP ยินดีเป็นอย่างยิ่งที่ได้เข้าร่วมมือกับหน่วยงานรัฐระดับท้องถิ่น กระทรวงศึกษาธิการ คุณครู เพื่อพัฒนาให้นักเรียนในตอนนี้เติบโตไปเป็นพลเมืองของอนาคต โครงการนี้จะช่วยเสริมพลังของชุมชนในการทำบทบาทนี้และพวกเราพร้อมที่จะสานต่อความร่วมมือนี้ต่อไป

“โครงการนี้พยายามให้เกิดความยั่งยืนในพื้นที่มากที่สุด โดยแผนการดำเนินงานหลังจากนี้ ครูผู้สร้างพลเมืองโลกจะได้รับทุนสนับสนุนเพื่อไปต่อยอดการบูรณาการลงสู่ชั้นเรียน และจะมีการไปเยี่ยมชั้นเรียนครูโดยผมและอาจารย์อรรถพล ซึ่งเรามีแพลนว่าจะไปลงเยี่ยมจำนวน 12 โรงเรียน หรือกว่านั้น ในส่วนโรงเรียนที่เราไม่ได้ลงไปเยี่ยมชั้นเรียน ก็จะมีการติดตามผ่านระบบออนไลน์ และจากนั้นในสิ้นเทอมเราจะจัด PLC ครั้งที่ 2 เพื่อให้ครูได้มาร่วมเล่า มาแลกเปลี่ยนอีกครั้งหลังจากที่ครูได้นำไปบูรณาการสู่ชั้นเรียนและโรงเรียนแล้วนั้นเอง” นายอัฟฎอล กล่าว

ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การพัฒนาศักยภาพครู และการประยุกต์ใช้ในห้องเรียนว่า โจทย์ในการทำงานครั้งนี้ ก็คือพลเมืองโลกศึกษาที่คิดว่าเป็นโจทย์ที่สำคัญมากตัวแปรสำคัญของเราคือการพัฒนาครู เชื่อเรื่องในการพัฒนาคุณครู ให้คุณครูเป็นผู้เรียนรู้ตลอดชีวิตและสามารถ มีความเข้าใจในการออกแบบกิจกรรมการเรียนรู้หลักสูตรที่จะตอบโจทย์ ความต้องการของพื้นที่ โดยมีการเสวนาเส้นทางการเรียนรู้ GCED Teacher Community ในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยชวนครูทั้ง 5 ท่าน เล่าถึงการบูรณาการการนำ GCED ไปใช้ในระดับชั้นเรียนและโรงเรียน

ทั้งนี้ GCED Teacher Community ได้เริ่มต้นโครงการตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา สืบเนื่องจากกิจกรรมประชุมริเริ่มโครงการ นำโดยผู้บริหารการศึกษา, ผู้บริหารสถานศึกษา ตัวแทนครู อาจารย์มหาวิทยาลัย ตลอดจนนักจัดการศึกษาในพื้นที่ ได้ร่วมแลกเปลี่ยน ข้อคิดเห็นคิดเห็นในการบูรณาการความเป็นพลเมืองโลกศึกษาสู่สถานศึกษา และมีการจัดทำแบบสอบถาม กระจายไปยังครูผู้สอนในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ เพื่อให้ได้หัวข้อที่ตอบโจทย์ต่อการพัฒนาครูในพื้นที่ ซึ่งผลจากการตอบแบบสอบถามของครูในพื้นที่ ทางโครงการได้ออกแบบการอบรมเชิงปฏิบัติการสำหรับครูผู้สร้างพลเมืองโลก จำนวน 90 คน จาก 30 โรงเรียน ในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยการนำของ ผศ.อรรถพล อนันตวรสกุล ผู้อำนวยการ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอาจารย์อัฟฎอล อาแว อาจารย์หมวดวิชาศึกษาทั่วไป มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา โดยการจัดอบรมเชิงปฏิบัติครูผู้สร้างพลเมืองโลก ได้มุ่งเน้นให้ครูได้เข้าใจแนวคิดและแนวทางของพลเมืองโลกศึกษาผ่านกระบวนการการออกแบบการจัดการเรียนรู้เชิงประสบการณ์ 5E (Engage, Explore, Explain, Expand, Evaluate) มีการจัดประสบการณ์ห้องเรียนคู่ขนานชวนครูทำความเข้าใจประเด็นความเป็นพลเมืองโลกศึกษาให้ลึกซึ้งขึ้น ห้อง 1 พหุวัฒนธรรมและการอยู่ร่วมกันอย่างสันติ ห้อง 2 พลเมืองในโลกที่ยึดโยงและพึ่งพากัน และจัดทำแผนปฏิบัติการรายบุคคล พร้อมทั้งออกแบบบทเรียนบูรณาการพลเมืองโลกศึกษา ในโรงเรียนพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้