เมื่อรวมลำดับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์แล้วจะทำให้มองเห็นแง่มุมที่น่าสนใจเกี่ยว กับลัทธิจักรวรรดินิยมและหลุมพรางของมัน : 17 เมษายน 1961 ได้เห็นการบุกอ่าวหมู (Bay of Pigs) หนึ่งในความเคลื่อนไหวเพื่อการปฏิปักษ์ปฏิวัติ(ปฏิวัติซ้อน) ต่อคิวบาที่มีการวางแผนขึ้นในสมัยที่ ดไวท์ ดี. ไอเซนฮาวร์ ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี และดำเนินการในสมัยของจอห์น เอฟ. เคนเนดี ในทำเนียบขาว ความพยายามครั้งนั้นล้มเหลว โดยการระดมกำลังของคิวบาและการปฏิวัติสามารถกำจัดทหารรับจ้างได้ภายใน 72 ชั่วโมง
ต่อมาในวันที่ 3 พฤศจิกายนปีเดียวกัน เคนเนดีได้เปิดตัวองค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศของสหรัฐฯ (United States Agency for International Development) หรือ USAID โครงการที่ดูเผินๆ แล้วหมายถึงการส่งเสริม “การพัฒนาสังคมและเศรษฐกิจ” แต่ถึงกระนั้นในวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 1962 เคนเนดี้ได้สั่งห้ามการขนส่งสินค้าระหว่างประเทศกับคิวบาเป็นเวลานานหลาย ทศวรรษ
มีคำพูดของเคนเนดี้ใน เว็บไซต์ของ USAID ระบุว่า โครงการนี้เป็น “ข้อตกลงทางใจ” มีหน้าที่เหนือประเทศที่ไม่ต้องพึ่งพาอาศัยผู้อื่นอีก จึงเห็นว่าตามข้อตกลงทางการเมืองของสหรัฐฯ นั้น “ถือว่าเป็นประเทศที่ต่อต้านการเป็นปรปักษ์กับเสรีภาพที่ใหญ่ที่สุดเพียง ประเทศเดียว”
USAID เป็นตัวอย่างสำคัญของการเชื่อมโยงที่เกิดขึ้นระหว่างนโยบายทางการเมือง การเฝ้าระวัง การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรม และการละเมิดสิทธิมนุษยชน การยึดมั่นอยู่บนพื้นฐานของระบอบประชาธิปไตยกระตุ้นให้เกิดความพยายามที่จะ บ่อนทำลายฝ่ายตรงข้ามของลัทธิจักรวรรดินิยมอยู่อย่างไม่จบสิ้น โครงการนี้ของสหรัฐฯ ได้ปลูกฝังแนวคิดเสรีภาพเข้าไปในวาทกรรมของมัน ด้วยเหตุนี้เอง ยุทธศาสตร์การสร้างวาระจึงส่อการละเมิดอย่างแท้จริง ซึ่งนักจักรวรรดินิยมได้ส่งเสริมให้มีขึ้นทั่วโลก
ขณะที่การเข้าแทรกแซง ต่างชาติของสหรัฐฯ แผ่ขยายออกไป USAID ก็ได้ขยายออกไปด้วยเช่นกัน แต่ละทศวรรษจนกระทั่งถึงปี 2000 ได้ถูกกำหนดด้วยเป้าหมายที่เฉพาะเจาะจง สองเป้าหมายในจำนวนนั้นคือผลประโยชน์สำคัญในการสำรวจขอบเขตการกดขี่ที่กว้าง ขึ้น ภายใต้หน้ากากของเสรีภาพ
ในปี 1970 USAID มุ่งเน้นไปในด้าน “ความต้องการขั้นพื้นฐานของมนุษย์” ซึ่งบังเอิญเป็นยุคเดียวกันกับเมื่อครั้งที่เผด็จการในชิลีที่สหรัฐฯ หนุนหลังอยู่ได้ล้มล้างนโยบายทางสังคมที่มีขึ้นในสมัยการปกครองแบบสังคมนิยม ช่วงสั้นๆ ของซัลวาดอร์ อัลเลนด์ ภายหลังการปฏิวัติของคิวบา มันได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้หลายๆ ประเทศในแถบละตินอเมริกาในการเปลี่ยนแปลงทางสังคม
ชิลี ซึ่งมีประชาธิปไตยมายาวนาน อาจกระตุ้นให้เกิดผลกระทบอย่างมาก หากรัฐบาลของอัลเลนด์ไม่เผชิญกับการกระทำแอบแฝงของสหรัฐฯ เฮนรี่ คิสซิงเจอร์ ได้กล่าวไว้ในปี 1970 ว่า “ข้าพเจ้ามองไม่เห็นเลยว่าทำไมเราต้องเตรียมพร้อมและเฝ้ามองประเทศที่กลาย เป็นคอมมิวนิสต์เนื่องจากความไม่รับผิดชอบของประชาชนของตน” การทดลองแบบเสรีนิยมของชิลีเป็นที่แรกที่พบกับความโหดร้ายป่าเถื่อนที่ ดำเนินการโดยเผด็จการทางทหารที่สหรัฐฯ หนุนหลังทั่วทวีปนี้ ในขณะที่ประเทศต่างๆ อย่างเช่น ชิลี และอาร์เจนตินาต้องต่อสู้กับความจริงที่น่ากลัว เช่นการ “หายตัวไป” ของฝ่ายตรงข้ามของอำนาจเผด็จการ สหรัฐฯ ก็สามารถที่จะยัดเยียดความน่ากลัวแบบประชาธิปไตยของตัวเองมาให้ ในลักษณะเช่นนี้ การทำลายล้างและการช่วยเหลือถูกทำให้มีอยู่โดยการระบุถึงเพียงบางส่วนของ ความรุนแรงที่สร้างขึ้นโดยผ่านการช่วยเหลือในรูปแบบต่างๆ
ในยุค 2000s ภายหลังยุทธศาสตร์ชิงทำสงครามล่วงหน้าก่อนถูกรุกรานของประธานาธิบดีจอร์จ ดับเบิลยู บุช USAID ก็ได้หันความสนใจอย่างน่าขันไปยัง “การทำสงครามและการสร้างใหม่” ในอัฟกานิสถานและอิรัก สองประเทศที่ถูกรุกรานเพื่อปูทางไปสู่การปกครองแบบจักรวรรดินิยมในตะวันออก ลาง ยกตัวอย่างเช่น ในอิรัก USAID ได้กล่าวถึงประเด็นเรื่องสิทธิมนุษยชนด้านต่างๆ อย่างเข้มงวด ในขณะที่ไม่ยอมเอ่ยปากถึงความเสื่อมถอยนับตั้งแต่การเข้าแทรกแซงของนัก จักรวรรดินิยมที่ก่อให้เกิดความไร้เสถียรภาพตราบนานเท่านาน
ชาดี มุคตารี ได้ให้ข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับ USAID สิทธิมนุษยชน และตะวันออกกลางไว้ในหนังสือของเธอในปี 2009 ชื่อ “After Abu Ghraib : Exploring human rights in America and the Middle East.” ในขณะที่ประชากรในภูมิภาคนี้ตระหนักถึงการวางแผน “อำนาจอ่อน” ที่สหรัฐฯ หาทางนำมาใช้ ยุทธศาสตร์ต่างๆ ถูกนำมาใช้ ด้วยการพิจารณาการให้เงินกู้ โดยการจัดสรรจากการปฏิเสธไปจนถึงการยอมรับ โดยมีเป้าหมายเพื่อส่งเสริมความท้าทายแก่ลัทธิจักรวรรดินิยม
อย่างไรก็ตาม การยอมรับเงินกู้ของประเทศต่างๆ ยังกระตุ้นให้เกิดวาระที่บิดเบี้ยวของสหรัฐฯ ทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับความเป็นเอกราชในหมู่ประเทศที่ยอมรับ USAID เข้ามาเป็นข้อโต้เถียงอย่างจริงจัง มีหลักฐานชี้ให้เห็นถึงวงจรความชั่วร้ายของการกระทำความผิดด้านมนุษยธรรมและ การกระจายความช่วยเหลือทางการเงิน ซึ่งตอบแทนด้วยการสร้างความประนีประนอมและไปจนถึงปราบปรามผู้ถูกกดขี่ เพราะเป็นความจำเป็นในการที่จะรักษานโยบายทางการเมืองแบบจักรวรรดินิยมที่ ขึ้นอยู่กับการเปลี่ยนรูปแบบของความรุนแรง
ในกรณีของปาเลสไตน์ USAID ให้เงินกู้แก่คณะปกครองปาเลสไตน์เพื่อที่จะ “สร้างภูมิภาคที่เป็นประชาธิปไตยมากยิ่งขึ้น มีเสถียรภาพยิ่งขึ้น และมั่นคงปลอดภัยมากยิ่งขึ้น เพื่อประโยชน์ของชาวปาเลสไตน์ อิสราเอล และอเมริกัน” ประโยคเข้าใจยากนี้เป็นเพียงวาทะกรรมสวยหรูที่ใช้เพื่อขยายที่ตั้งถิ่นฐาน ของอิสราเอล หรือโครงการล่าอาณานิคม ปฏิบัติการที่ให้สิ่งที่น้อยกว่าปัจจัยขั้นพื้นฐานแก่ชาวปาเลสไตน์ เพื่ออำนวยความสะดวกแก่อิสราเอลในการค่อยๆ ถอนรากถอนโคนประชากรชาวพื้นเมือง
เมื่อหันมาทางคิวบา วาทกรรมของ USAID ก็เปลี่ยนไปในทันควัน ความไม่พอใจที่ฟิเดล คาสโตร ประสบความสำเร็จในการมีท่าทีต่อต้านจักรวรรดินิยม ซึ่งได้ฝังรากอยู่บนเกาะนี้เป็นหลักฐานปรากฏชัดอยู่ในคำอธิบายขององค์กรนี้ ที่กล่าวถึงคิวบาว่าเป็น “รัฐที่รวบอำนาจเบ็ดเสร็จ ซึ่งใช้วิธีการปราบปรามเพื่อรักษาอำนาจการปกครอง” ขณะที่สหรัฐฯ พยายามที่จะเข้าไปพัวพันกับองค์กรต่างๆ ที่ทำงานเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนภายในประเทศที่ตนแสดงตัวว่าจะ “ช่วยเหลือ” ท่าทีต่อต้านลัทธิจักรวรรดินิยมของรัฐบาลคิวบากระตุ้นให้มีการสนับสนุนเงิน ทุนแก่ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยในไมอามี่ กลอุบายไม่มีความเปลี่ยนแปลง โดยที่สหรัฐฯ ได้ยุยงส่งเสริมให้เกิดการก่อวินาศกรรมในคิวบา นอกเหนือไปจากความพยายามที่จะสังหารฟิเดล คาสโตร ในขณะที่เขาเป็นหัวหน้ารัฐบาล
เมื่อนัก จักรวรรดินิยมไม่สามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนรัฐบาลในคิวบาได้ จึงทำให้เกิดการปฏิวัติซ้อนขึ้นอีกครั้ง คราวนี้ด้วยการใช้สื่อสังคมออนไลน์ที่ประชาชนกำลังให้ความไว้ใจเพิ่มขึ้น ในเดือนเมษายน สำนักข่าว Associated Press รายงานเกี่ยวกับแผนการแอบแฝงที่รัฐบาลคิวบากล่าวหา เป็นการใช้ระบบการส่งข้อความเหมือนทวิตเตอร์ที่เรียกว่า ZunZuneo ซึ่งเข้าใจว่าเป็นพื้นที่เครือข่ายเชื่อมโยงของสังคมออนไลน์สำหรับชาวคิวบา พื้นที่เครือข่ายนี้เปิดตัวขึ้นไม่นานหลังจากที่ อลัน กรอสส์ ผู้รับเหมาของ USAID ถูกจำคุกในคิวบาเนื่องจากดำเนินโครงการที่มีความมุ่งหมายเพื่อบั่นทอนความ มั่นคงของรัฐบาลคิวบา
AP ระบุว่า มีความมุ่งหมายที่จะค่อยๆ เปลี่ยนเนื้อหาของ ZunZuneo ไปในลักษณะที่จะเปลี่ยนความสนใจจากหัวข้อสนทนาทั่วไปไปสู่ความไม่เห็นด้วย ทางการเมือง โดยเป้าหมายสูงสุดคือความไม่เห็นด้วยนั้นจะนำประชาชนออกจากสังคมออนไลน์ไป สู่ท้องถนน AP ได้อ้างถึงเอกสารของ USAID ว่า เป้าหมายนั้นคือเพื่อ “การต่อรองเพื่อให้เกิดสมดุลทางอำนาจระหว่างรัฐกับสังคม” USAID ปฏิเสธเนื้อหาในบทความของ AP โดยระบุว่า “การพิจารณาอย่างรอบคอบไม่เสมอเหมือนกันกับการแอบแฝง”
นอกเหนือจากคิวบา ซึ่งจนถึงขณะนี้ก็ยังต่อต้านการครอบงำของนักจักรวรรดินิยมแม้จะถูกโดดเดี่ยว ทางเศรษฐกิจมาหลายทศวรรษ ประเทศต่างๆ ที่เป็นเป้าหมายของ USAID ต่างแสดงความรู้คุณอย่างจำยอม สิ่งที่เรียกว่าการต่อรองอำนาจได้เป็นตัวกำหนดนโยบายของสหรัฐฯ มาเป็นเวลาหลายทศวรรษแล้ว ขณะที่ความเพียรพยายามของนักจักรวรรดินิยมยังไม่ลดน้อยถอยลง รูปแบบอันหลากหลายของอำนาจ รัฐและสังคม ซึ่งเป็นที่ยอมรับของประเทศต่างๆ ที่เผชิญกับการกระทำแอบแฝงได้เป็นตัวกำหนดความสำเร็จและความล้มเหลวของการ เข้าไปแทรกแซงของสหรัฐฯ ตามที่ปรากฏชัดเจนจากอุบายต่างๆ ที่ถูกนำมาใช้ การแทรกแซงต่างชาติภายใต้การอุปถัมภ์ของระบอบประชาธิปไตยได้สร้างห่วงโซ่ของ การพึ่งพาอาศัยและความน่าละอาย เป็นการลดเกียรติของมนุษย์อย่างต่อเนื่อง ซึ่งการพูดถึงเรื่องสิทธิมนุษยชนเป็นสิ่งที่พอทำให้ยอมความได้
เขียนโดย Ramona Wadi http://www.mintpressnews.com
ที่มา www.abnewstoday.com