กสอ. เผย 10 ข้อ SMEs ต้องรู้ พัฒนาสินค้าอย่างไรให้โดนใจตลาด

ดร.พสุ โลหารชุน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม

ดร.พสุ โลหารชุน อธิบดีกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กล่าวว่า จากนโยบายของรัฐบาลที่ให้ความสำคัญกับการยกระดับวิสาหกิจขนาดกล างและขนาดย่อม (SMEs) ให้เป็นวาระแห่งชาติ โดยการบูรณาการงานส่งเสริม SMEs ของประเทศให้ดำเนินไปในทิศทางเดี ยวกัน ทั้งการมุ่งพัฒนาส่งเสริมผู้ประ กอบการ SMEs วิสาหกิจ ชุมชนทั่วทุกภูมิภาคให้ เติบโตได้อย่างแข็งแกร่ง โดยมีเป้าหมายสูงสุดเพื่อการสนั บสนุนเศรษฐกิจฐานรากให้เข้มแข็ง นับว่าเป็นส่วนหนึ่งในการวางราก ฐานเศรษฐกิจของประเทศให้เติ บโตอย่างยั่งยืนสอดคล้องกั บแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่ งชาติ ฉบับที่ 11 (2555-2559) ที่มีเป้าหมายในการเพิ่มสัดส่วน ขนาด และมูลค่าของวิสาหกิจขนาดกลางแล ะขนาดย่อมให้สูงขึ้น

ซึ่งปัญหาหลักของผู้ประกอบการ SMEs และวิสาหกิจ ชุมชนไทยในปัจจุบันยั งคงเป็นเรื่องของการพัฒนาและต่ อยอดผลิตภัณฑ์ให้สามารถเติ บโตได้อย่างมั่นคง สินค้าส่วนมากยังขาดการพัฒนาและ ออกแบบให้ตรงกับความต้องการของต ลาด โดยเฉพาะรูปแบบของผลิตภัณฑ์ที่ไ ม่มีความหลากหลาย ขาดเอกลักษณ์ ความโดดเด่นและความแตกต่าง ทั้งในแง่ของรูปลักษณ์และประโยช น์ใช้สอย ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังคงมีการ ผลิตโดยไม่คำนึงถึงความต้องการข องตลาด มีการลอกเลียนแบบสินค้ากันไปมาโ ดยขาดความคิดสร้างสรรค์ ทำให้ไม่สามารถเพิ่มคุณค่าให้กั บผลิตภัณฑ์เหล่านั้นได้ เป็นสาเหตุทำให้สินค้าไม่สามารถ จำหน่ายได้ในราคาที่สูงมากนัก ทั้งที่ผู้บริโภคในท้องตลาดโดยเฉพาะในต่างประเ ทศมีความเชื่อมั่นในคุณภาพและมา ตรฐานของผลิตภัณฑ์จากประเทศไทยไม่น้อย

ดร.พสุ กล่าวต่อว่า จากปัญหาดังกล่าว กสอ. จึงริเริ่มโครงการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ให้สอดคล้องกับความต้องการของตล าดขึ้น โดยมุ่งส่งเสริมเติมความรู้ในกา รออกแบบและพัฒนาสินค้า ตลอดจนบรรจุภัณฑ์ให้มีคุณภาพควา มโดดเด่น และมีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งสอดคล้องกับยุทธศาสตร์การพั ฒนาอุตสาหกรรมของประเทศ พ.ศ. 2559-2564 ที่มุ่งส่งเสริมและพั ฒนาอุตสาหกรรมโดยใช้การวิจัยและ พัฒนา (Research & Development) ที่เน้นการประยุกต์ใช้วิทยาศาสต ร์ เทคโนโลยี และนวัตกรรม ผนวกเข้ากับเอกลักษณ์หรือภูมิปั ญญาของไทย เพื่อต่อยอดอุตสาหกรรมดั้งเดิมสู่ กลุ่มอุตสาหกรรมใหม่ สามารถสร้างมูลค่าที่ตอบสนองต่อ กระแสโลกในอนาคต ซึ่งจากการดำเนินโครงการพัฒนาผลิ ตภัณฑ์เพื่อให้สอดคล้องกับความต้ องการของตลาด ประจำปี 2558 ที่ผ่านมา ถือว่าได้รับการตอบรับและประสบผ ลสำเร็จเป็นอย่างดี สามารถพัฒนาผลิตภัณฑ์ไปได้จำนวน 264 ผลิตภัณฑ์ ครอบคลุมพื้นที่ ทั้งในส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งผลจากการดำเนินโครงการดังกล่ าว กสอ. ได้รวบรวมกลยุทธ์ที่สำคัญ ในการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และบร รจุภัณฑ์ 10 ข้อ ที่ผู้ประกอบการไทยจำเป็นต้องคำ นึงถึง ดังนี้

1. ค้นหาความต้องการ (Needs)การ วิเคราะห์เพื่อหาความต้องการ ของสินค้าเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ ประกอบการจำเป็นจะต้องพิจารณาอย่ างยิ่งในการที่จะเริ่มต้นผลิตสิ นค้าอย่างใดอย่างหนึ่ง ซึ่งอาจทำโดยการสำรวจ สัมภาษณ์ หรือเก็บข้อมูลด้วยวิธีอื่น ๆ ที่สามารถค้นหาความต้องการที่แท้ จริงในปัจจุบันของผู้บริโภคได้ ขณะเดียวกันก็ต้องสามารถพยากรณ์ เทรนด์หรือแนวโน้มความต้องการให ม่ ๆ ที่กำลังจะเกิดขึ้น หรือยิ่งไปกว่านั้นคือความสามาร ถในการสร้างให้ผู้บริโภคเกิ ดความต้องการสินค้าใหม่ที่กำลั งจะผลิตขึ้นได้

2. เน้นการต่อยอด (Development)การปรับปรุงพัฒนาผลิตภัณฑ์ให้ดี ขึ้นถือว่าเป็นความจำเป็นขั้นพื้นฐานที่ผู้ประกอบการจำเป็นต้องทำ อยู่เสมอ ถึงแม้ปัจจุบันลูกค้าจะมีความพึ งพอใจกับสินค้าอยู่แล้ว                    แต่ความต้อง การนั้นๆ ก็อาจเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา ดังนั้นผู้ประกอบการที่ดีควรมีก ารพัฒนาสินค้าของตนให้ดีขึ้นและ สร้างความพึงพอใจที่มากขึ้นให้ กับผู้บริโภคอยู่เสมอ

3. เติมความคิดสร้างสรรค์ (Creative)ความคิดสร้างสรรค์ในเชิงศิลปะ การสร้างสรรค์ความงามที่แปลกใหม่ ให้ผลิตภัณฑ์มีความงดงามและมีคุ ณค่ามากยิ่งขึ้น เป็นการสื่อถึงความมีรสนิยมในกา รสร้างสรรค์และออกแบบสินค้า ซึ่งจะส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดควา มรื่นรมย์และสร้างแรงจูงใจในการ อุปโภคและบริโภคสินค้ามากยิ่งขึ้ น

4. เลือกใช้วัตถุดิบ (Material)การ พิจารณาเลือกใช้วัตถุดิบอย่า งชาญฉลาดจะช่วยให้ผู้ประกอบการส ามารถผลิตสินค้าที่สร้างความน่ าสนใจให้เกิดกับผู้บริโภคได้ อีกทั้งยังสามารถสร้างความได้เป รียบทางการขายได้อีกด้วย อาทิ การเลือกใช้วัตถุดิบที่หาได้ง่า ยในพื้นที่จะทำให้สินค้ามีต้นทุ นไม่สูงและยังสามารถบ่งบอกถึงอั ตลักษณ์และจุดเด่นของผลิตภัณฑ์ ในพื้นที่ได้อีกด้วย

5. ใส่คุณประโยชน์ (Benefit)ผลิตภัณฑ์ที่ดีจำเป็นต้องมีคุณป ระโยชน์ที่ชัดเจนทั้งในแง่ของกา รผลิตและการขาย ต้องสามารถสร้างความชัดเจนในตัว สินค้าในมุมมองของผู้บริโภค ทำให้ผู้บริโภคสามารถเลือกกินเลื อกใช้ได้อย่างถูกต้องเหมาะสมกั บคุณประโยชน์ที่แท้จริงของผลิ ตภัณฑ์นั้นๆ รวมไปถึงสามารถเพิ่มคุณประโยชน์ ที่หลากหลายมากขึ้นให้กับสินค้า ทั้งการเพิ่มคุณค่าทางโภชนาการ และการเพิ่มคุณสมบัติในการใช้สอ ยของผลิตภัณฑ์ เป็นต้น

6. พัฒนาด้วยเทคโนโลยี (Technology)ความรู้ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโ ลยีสามารถช่วยแก้ปัญหาและลบจุ ดอ่อนของสินค้าได้ เช่น การปรับสูตรทางเคมี การปรับปรุงส่วนผสม การปรับแต่งกลิ่นและสี การสกัด  การอบลมร้อน การอบแห้ง การพ่นฝอย การระเหย เทคโนโลยีฟรีซดราย (Freeze Dry) การใช้สารเคมีในกระบวนการผลิตต่ างๆ เป็นต้น

7. ผลิตอย่างมีมาตรฐาน (Production)กระบวนการผลิต รวมถึงเครื่องจักรในการผลิต ต้องมีความสะอาด ปราศจากสารพิษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกระบวนการผลิ ตผลิตภัณฑ์ประเภทอาหาร จะต้องได้เครื่องหมายรับรองมาตร ฐานการผลิตต่าง ๆ อาทิ อย. ฮาลาล มอก. ISO GMP HACCP เป็นต้น เพราะสุขภาพและความปลอดภัยของผู้บริโภคเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด

8. ใส่ใจบรรจุภัณฑ์ (Package)บรรจุภัณฑ์ที่ดีควรมีคุณสมบัติพื้ นฐานที่สำคัญ 2 ประการ คือ 1. ต้องสามารถป้องกันและรักษาคุณภา พของสินค้า อาทิ ความชื้น ความร้อน ฝุ่นละออง และการปนเปื้อนต่าง ๆ  2. ต้องส่งเสริมการขาย การออกแบบและโทนสีต้องบ่งบอกถึง อัตลักษณ์ของสินค้า สามารถสื่อสารกับผู้บริโภค ถึงคุณประโยชน์ของสินค้า มีเอกลักษณ์พิเศษที่ดึงดูด สร้างการจดจำ แสดงออกถึงความน่าเชื่อถือของสิ นค้าและอำนวยความสะดวกในการใช้ง าน

9. รักษาอัตลักษณ์สินค้า (Identity)การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุ ภัณฑ์ที่กล่าวมาข้างต้น     จะต้องสื่อถึงอัตลักษณ์ของสินค้ า ตราสินค้า (Brand) และเอกลักษณ์ของสินค้า ซึ่งจะต้องสามารถสื่อถึงตัวตน            และประโยชน์ใช้สอยของสินค้าได้อ ย่างชัดเจนไม่ผิดเพี้ยน อีกทั้งสามารถสร้างการรับรู้ให้ ผู้บริโภคจดจำและเข้าใจ  ในสิ่งที่ผู้ประกอบการตั้งใจจะ สื่อไปถึงผู้บริโภคได้

10. ระมัดระวังต้นทุน (Cost)การพิจารณาข้อมูลด้านต้นทุนในกา รผลิตสินค้าใดสินค้าหนึ่งไปจนสิ้ นสุดกระบวนการผลิต เป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ประกอบการจำ เป็นต้องคำนึงถึงควบคู่ไปกั บการออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ และบรรจุภัณฑ์ ไม่ว่าจะเป็น การใช้วัตถุดิบ ปริมาณแรงงาน จำนวนเครื่องจักร พลังงานที่ใช้ ของเสียจากกระบวนการผลิต ฯลฯ เพราะการควบคุมต้นทุนที่ผิดพลาด จะนำไปสู่การตั้งราคาที่สูงเกิ นความเหมาะสม และทำให้ไม่สามารถสร้างยอดขายได้ อย่างที่คาดการณ์

อย่างไรก็ตาม ในปี 2559 กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมได้จัดโคร งการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อให้สอดค ล้องกับความต้องการของตลาด อย่างต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 ซึ่งประกอบไปด้วยกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การให้คำปรึกษาในด้าน การออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุ ภัณฑ์ การประเมินผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณ ฑ์ การจัดทำ Market Survey   การกำหนดกลยุทธ์การพัฒนาผลิตภัณ ฑ์ การพัฒนาผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ การจัดทำ Market Test การปรับปรุงผลิตภัณฑ์และบรรจุภั ณฑ์ กระบวนการผลิตผลิตภัณฑ์และบรรจุ ภัณฑ์ เป็นต้น โดยโครงการดังกล่าวมุ่งเป้าหมาย ส่งเสริมในกลุ่มผู้ประกอบการอุ ตสาหกรรมที่มีศักยภาพทั้ งในประเทศและส่งออก 10 กลุ่ม ได้แก่ 1.อาหารแปรรูป  2.ยานยนต์และชิ้ นส่วน 3.อัญมณีและเครื่องประดับ 4.ยางพารา 5.สิ่งทอและเครื่องนุ่งหุ่ม 6.เครื่องหนัง  7.ไม้และเครื่อง เรือน 8.เซรามิกและแก้ว 9.เกษตรแปรรูป 10.เครื่องดื่ม เป็นต้น