การเลือกตั้งปากีสถาน 2013 จากกระแสต่อต้านสหรัฐอเมริกาถึงชัยชนะของ นาวาซ ชารีฟ

นับเป็นการเปลี่ยนผ่านทางการเมืองครั้งประวัติศาสตร์สำคัญอีกครั้งของปากีสถาน หลังผ่านพ้นการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันเสาร์ ที่ 11 พฤษภาคม 2556 ท่ามกลางความรุนแรงในหลายพื้นที่  การเลือกตั้งครั้งนี้มีนัยสำคัญอยู่หลายประการ ไม่ว่าจะเป็นจำนวนผู้ที่มาใช้สิทธิมากเป็นประวัติการณ์ ถึงร้อยละ 60 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เป็นตัวเลขที่สูงที่สุดนับตั้งแต่การเลือกตั้งปี 2520 อีกนัยหนึ่งถือเป็นชัยชนะและความกล้าหาญของชาวปากีสถานที่ท้าทายการข่มขู่ กลุ่มตาลิบัน

การเลือกตั้งครั้งนี้ถือเป็นการเปลี่ยนผ่านของรัฐบาลประชาธิปไตยจากชุดหนึ่งไป ยังอีกชุดหนึ่ง ซึ่งถือเป็นครั้งแรกตั้งแต่ก่อตั้งประเทศ เพราะการเปลี่ยนผ่านที่ผ่านมา จะสลับไปมาระหว่างรัฐบาลพลเรือนกับรัฐบาลทหาร อย่างไรก็ตาม พรรคประชาชนปากีสถาน (PPP) ของประธานาธิบดี อาซิฟ อาลี ซาร์ดารี ก็ได้สร้างประวัติศาสตร์คือเป็นพรรคแรกที่อยู่ครบวาระ 5 ปี แม้จะไม่ราบรื่นมากนักก็ตาม

ผล ของการเลือกตั้งที่ออกมายังสะท้อนนัยสำคัญบางอย่างที่น่าสนใจ หากมองจากชัยชนะของพรรคการเมืองที่ได้รับที่นั่งในสภาโดยเฉพาะ 3 ลำดับแรก ซึ่งพรรคที่ชนะการเลือกตั้งอย่างท่วมท้นเป็นอันดับหนึ่งด้วยจำนวน 123 ที่นั่ง ในจำนวน 272 คือ พรรคสันนิบาตมุสลิม (PLM-N) ของอดีตนายกรัฐมนตรีนาวาซ ชารีฟ ตามมาด้วยพรรค PPP ของนายซาร์ดารี สามีอดีตนายกรัฐมนตรี เบนาซีร์ บุตโต(ผู้ล่วงลับ) 31 ที่นั่ง และอันดับสาม พรรคเพื่อความยุติธรรมปากีสถาน (Pakistan Tehreek –e- Insaf) ของนายอิมรอน ข่าน นักกีฬาคริกเกตทีมชาติ ที่ผันตัวเองมาเล่นการเมือง 26 ที่นั่ง

การ คืนสู่อำนาจของชารีฟ ทำให้เขาเป็นผู้นำคนแรกที่เป็นนายกรัฐมนตรีต่างวาระกัน 3 สมัย ชารีฟเป็นนักการเมืองที่มีประสบการณ์สูงมากที่สุดคนหนึ่ง ของปากีสถาน เคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีมาแล้ว 2 ครั้ง แม้จะอยู่ไม่ครบเทอมก็ตาม ครั้งแรกปี 2533 – 2536 ก่อนจะหลุดจากตำแหน่งเพราะข้อหาคอร์รัปชั่น และอีกครั้งระหว่างปี 2540- 2542 หลังถูกยึดอำนาจโดยพลเอกมุชาร์ราฟ ถูกคุมขังและเนรเทศไปอยู่ซาอุดีอาระเบียนาน 7 ปี ก่อนจะกลับเข้าสู่สนามเลือกตั้งอีกครั้งในปี 2551 โดยได้ที่นั่งมากที่สุดเป็นอันดับ 2

ชัยชนะ ของพรรค PLM-N เหนือพรรครัฐบาล PPP และการเบียดขึ้นมาของพรรค PTI มีนัยสำคัญที่สะท้อนกระแสความนิยมของคนปากีสถานได้เป็นอย่างดี พรรค PLM-N กับพรรคใหม่อย่าง PTI แม้จะเป็นคู่ปรับกัน แต่การเคลื่อนไหวที่ผ่านมาจะเห็นว่าทั้ง 2 มีจุดร่วมที่น่าสนใจ โดยเฉพาะด้านความมั่นคงและนโยบายต่างประเทศ ที่ต่อต้านอิทธิพลของสหรัฐอเมริกาในปากีสถาน ซึ่งสวนทางกับนโยบายของซาร์ดารี ที่ไม่มีอะไรแตกต่างไปจากสมัยของอดีตประธานาธิบดีมุชาร์ราฟ กล่าวคือให้ความร่วมมือกับสหรัฐในสงครามต่อต้านการก่อการร้ายอย่างไร้ขอบเขต แลกกับความช่วยเหลือต่างๆ และปล่อยให้สหรัฐเข้ามาปฏิบัติการทางทหารในปากีสถานโดยไม่เคารพต่ออธิปไตย ของชาติ ทำให้คนประชาชนเสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก โดยเฉพาะปฏิบัติการโจมตีด้วยเครื่องบินไร้นักบิน (drone)
ข้อมูล จาก Drone Team ณ วันที่ 3 มกราคม 2556 มีจำนวนผู้เสียชีวิตจากการโจมตีของโดรนในปากีสถาน ตั้งแต่ปี 2547 – 2556 อยู่ที่ 2629 – 3461 คน ในจำนวนนี้ส่วนใหญ่กว่า 80%  เป็นพลเรือน 174 คนเป็นเด็ก มีเพียง 2 % เท่านั้นที่เป็นแกนนำระดับสูงของกลุ่มติดอาวุธ

ล่าสุด ในวันที่ 9 พฤษภาคมที่ผ่านมา ศาลสูงของปากีสถานได้ตัดสินแล้วว่าการใช้โดรนของสหรัฐเหนือน่านฟ้าปากีสถาน นั้นเป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมายและเข้าข่ายอาชญากรสงคราม

พฤติกรรม เหล่านี้สร้างความไม่พอใจและกระแสต่อต้านสหรัฐมากขึ้นๆในปากีสถาน เพราะมองว่าเป็นพฤติกรรมที่ขัดกับกฎหมายระหว่างประเทศ กฎหมายสิทธิมนุษยชนและหลักมนุษยธรรมสากล ตลอดจนไม่พอใจรัฐบาลอิสลามาบัดที่สงบยอมต่ออิทธิพลของสหรัฐมากจนเกินไป

กระแส ความไม่พอใจสหรัฐในปากีสถานได้สะสมมายาวนาน โดยเฉพาะเมื่อสหรัฐเข้ามามีอิทธิพลมากขึ้นตั้งแต่ปี 2545 หลังเหตุการณ์ 9/11 กระทั่งปัจจุบันชาวปากีสถานจำนวนไม่น้อยยังคงเชื่อว่าปากีสถานกำลังสู้รบ อยู่ในสงครามของอเมริกัน  โดยมองว่าก่อนหน้าปี 2002 ที่สหรัฐจะเข้ามาทำ “สงครามต่อต้านการก่อการร้าย” ในภูมิภาคแถบนี้ ปากีสถานไม่ได้มีภัยคุกคามจากผู้ก่อการร้ายและภัยคุกคามดังกล่าวนี้จะหายไป ทันทีที่ทหารสหรัฐถอนออกไปจากภูมิภาคแถบนี้ หลายครั้งที่ประชาชนประท้วงเรียกร้องให้รัฐบาลอิสลามาบัดตัดความสัมพันธ์กับ สหรัฐ เพราะเชื่อว่าสหรัฐเป็นเหตุทำให้สถานการณ์ทางเศรษฐกิจและความมั่นคงใน ปากีสถานมีสภาพที่เลวร้ายลงไปกว่าเดิม

ผล การสำรวจความคิดเห็นของ “แกลลัป” บริษัททำโพลล์สัญชาติอเมริกัน ในช่วงปี 2009  พบว่า 59% ของชาวปากีสถานมองว่าสหรัฐคือภัยคุกคามมากกว่ากว่าตาลิบัน มีเพียง 11% คิดว่าตาลิบันเป็นอันตรายกว่า

หาก มองจากปรากฏการณ์และกระแสความไม่พอใจข้างต้น ประกอบกับจุดยืนและการเคลื่อนไหวที่ผ่านมาของพรรคการเมืองต่างๆ ต่อประเด็นดังกล่าว จึงไม่น่าแปลกที่พรรค PLM-N จะได้ที่นั่งมากเป็นอันดับ 1 และพรรค PTI จะมาแรงแซงพรรคอื่นๆ ด้วยนโยบายที่สอดรับกับกระแสมวลชน

ข้อ สังเกตหนึ่งที่น่าสนใจ คือ พรรคและผู้นำรัฐบาลที่แพ้การเลือกตั้ง 2 ครั้งที่ผ่านมีการดำเนินนโยบายด้านความมั่นคงและนโยบายต่างประเทศต่อ สหรัฐอเมริกาที่ไม่ต่างกัน  แล้วก็นำไปสู่ผลลัพธ์ของการพ่ายแพ้การเลือกตั้งไม่ต่างกัน  ชัดไปกว่านั้นพรรคที่ชูนโยบายที่สวนทางและเคลื่อนไหวต่อต้านความรุนแรงและ อิทธิพลของสหรัฐกลับได้ชัยชนะอย่างท่วมท้น ไม่ว่าจะเป็นชารีฟ ที่เน้นหาเสียงโดยชูนโยบายทบทวนความสัมพันธ์กับสหรัฐและลดบทบาทของมหาอำนาจ ในปากีสถาน เจรจาสันติภาพกับตาลิบัน ส่วนอิมรอน ข่าน ขวัญใจคนรุ่นใหม่ชูนโยบายห้ามโดรนบินผ่านน่านฟ้าปากีสถาน ซึ่งถูกใจของคนปากีสถานอย่างมาก ทั้งหมดนี้อาจชี้ให้เห็นว่าปัจจัยและอิทธิพลภายนอกที่ส่งผลกระทบภายในประเทศ นั้นกลายเป็นตัวแปรสำคัญที่ชี้ขาดการเมืองและการเลือกตั้งของปากีสถานไปแล้ว

ชา รีฟ ที่ชนะการเลือกตั้งก็ใช่ว่าจะไม่มีประวัติด่างพร้อย ในอดีตก็เคยถูกข้อหาคอร์รัปชั่นมาแล้ว แต่สถานการณ์ปัจจุบันสำหรับคนปากีสถานแล้ว อาจมองว่าใครก็ได้ที่สามารถกู้ปัญหาความมั่นคงและหยุดยั้งอิทธิพลของ สหรัฐอเมริกาในปากีสถาน

ชา รีฟและซาร์ดารี มีจุดยืนต่างกันในหลายประเด็น หนึ่งในนั้นคือประเด็นความสัมพันธ์กับสหรัฐในสงครามต่อต้านการก่อการร้าย  ซาร์ดารียังคงนโยบายเดิมของมุชาร์ราฟไว้เกือบทั้งหมด แต่ชารีฟต้องการให้มีการเปลี่ยนแปลงเกือบทั้งหมด

ชา รีฟ มีแนวคิดหลายอย่างที่อาจทำให้สหรัฐไม่พอใจ เช่น ไม่ยอมรับว่าตาลิบันเป็นกลุ่มก่อการร้าย แต่มองว่าเป็นขบวนการต่อต้านรัฐบาลภายในประเทศที่ไม่ต่างจากนักรบอัฟกันมุ ญาฮีดีนในทศวรรษ 80 ชารีฟต้องการจำกัดความร่วมมือในสงครามต่อต้านการก่อการร้ายกับสหรัฐเฉพาะ ด้านการแลกเปลี่ยนข้อมูลการข่าวเท่านั้น ปฏิบัติการทางทหารในดินแดนปากีสถานต้องดำเนินการโดยกองทัพปากีสถานเท่านั้น ไม่เห็นด้วยกับการปฏิบัติการร่วมทางทหารระหว่างสองประเทศหรือการปฏิบัติการ ฝ่ายเดียวของสหรัฐ

ชา รีฟมองว่าปากีสถานควรมีอิสระในการจัดการกับกลุ่มหัวรุนแรงและกลุ่มติดอาวุธ ในปากีสถานด้วยตัวเอง สหรัฐไม่ควรเข้ามาก้าวก่ายหรือชี้นำใดๆ ทั้งสิ้น ชารีฟยังต่อต้านพฤติกรรมของหน่วยข่าวกรองปากีสถาน ที่จับกุมผู้คนตามรายชื่อที่สหรัฐระบุว่าเป็นผู้ต้องสงสัยว่า มีความสัมพันธ์กับกลุ่มอัลกออิดะห์และตาลิบัน แล้วแอบส่งตัวให้กับหน่วยงานของสหรัฐ โดยไม่ผ่านกระบวนการทางกฎหมายของปากีสถาน

ใน ทำนองเดียวกัน อิมรอน ข่าน ก็เคลื่อนไหวต่อต้านปฏิบัติการของสหรัฐมาอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะปฏิบัติการ โดรน เขาเคยนำการประท้วงใหญ่โดยมีขบวนพาหนะเข้าร่วมมากกว่า 100 คัน เพื่อขับเคลื่อนจากอิสลามาบัดไปยังวาซิริสถานใต้ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่ถูกโดรนโจมตีมากที่สุดแห่งหนึ่ง อิมรอนพยายามฉายภาพให้ทั่วโลกได้รับรู้ถึงความไม่พอใจของชาวปากีสถานที่มี ต่อปฏิบัติการโดรนของสหรัฐ

อาจ กล่าวได้ว่าแนวคิดและจุดยืนทั้งที่ผ่านมาของชารีฟและอิมรอน เป็นความสอดรับกับกระแสต่อต้านอิทธิพลของสหรัฐในปากีสถาน และน่าจะเป็นเหตุผลที่ชาวปากีสถานเทคะแนนให้

แม้ ชารีฟจะเคยเป็นนายกรัฐมนตรีมาแล้วถึง 2 ครั้งในยุค 90 แต่การรับมือปัญหาความวุ่นวายทางการเมืองของประเทศนี้คงไม่ง่ายแน่ เพราะนี้คือปากีสถานในศตวรรษที่ 21 ที่ชารีฟเองใช้คำว่า “ยุ่งเหยิง”  ชารีฟกำลังเล่นกับกระแสต่อต้านสหรัฐในประเทศ ที่อาจหมายถึงการจุดประเด็นความขัดแย้งกับมหาอำนาจและปิดประตูยุทธศาสตร์ สงครามต่อต้านการก่อการร้ายของสหรัฐที่จะส่งผลทั้งต่อระดับภูมิภาคและระดับ โลก สหรัฐคงไม่พอใจแน่ แล้วเงินช่วยเหลือจากสหรัฐที่เคยหลั่งไหลเข้ามาจำนวนนับพันล้านเหรียญสหรัฐ ในแต่ละปีก็คงถูกระงับ ชารีฟจะหาเงินจากที่ไหนมาทดแทน

นอกจาก นี้ มองจากการเมืองภายใน ชารีฟ ยังต้องรับมือกับหลายกลุ่มอำนาจโดยเฉพาะพลเอกมุชาร์ราฟ ที่ยังวนเวียนอยู่ในแวดวงการเมืองและมีบารมีของทหารคุ้มครองอยู่ ที่สำคัญเป็นบุคคลที่ใกล้ชิดและเป็นที่ประทับใจของสหรัฐมากที่สุดคนหนึ่ง

ใน ด้านความมั่นคง ชารีฟจะรับมืออย่างไรกับกลุ่มติดอาวุธแบบไม่มีสหรัฐหนุนหลัง อีกทั้งสหรัฐจะถอนทหารจากอัฟกานิสถานในปี 2558 ยิ่งเป็นโจทย์ใหญ่ที่เขาต้องรับมือในอนาคต หรือหากสหรัฐไม่หยุดปฏิบัติการโดรน รัฐบาลของชารีฟจะตอบโต้อย่างไรเมื่อศาลสูงของปากีสถานตัดสินแล้วว่าผิด กฎหมาย สิ่งที่น่าจับตามองต่อไปคือสถานการณ์ด้านความมั่นคงและความสัมพันธ์กับ สหรัฐอเมริกา ตลอดจนนโยบายต่อต้านการก่อการร้ายของทั้งสองประเทศที่อาจต้องเดินแยกทางกัน
เรา อาจจะเห็นปากีสถานโฉมใหม่ในอนาคตอันใกล้ ภายใต้ผู้นำที่มากับกระแสต่อต้านสหรัฐ ที่อาจพลิกสถานการณ์ทั้งการเมืองภายใน ความมั่นคง และสำคัญที่สุดคือความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกา

โดย เฉพาะหากสหรัฐไม่ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมตัวเอง และหากกชารีฟยังมั่นคงในจุดยืนที่ประกาศไว้ ก็นับถอยหลังสถานการณ์ความตึงเครียดระหว่างปากีสถานกับสหรัฐได้เลย