อิหม่ามใบไม้ร่วง 
: มุสลิมฆ่ามุสลิม หรือสวมรอย?

โดย : มูฮัมหมัด ไยลานี


เหตุการณ์ สังหาร นายยะโก๊บ หร่ายมณี อิหม่ามประจำมัสยิดกลางปัตตานี กลางตลาดนัดจะปังติกอ ปัตตานี เป็นเหตุการณ์สะเทือนใจคนมุสลิมอย่างรุนแรง ใครเป็นคนทำ ใครจะเป็นเป้าหมายต่อไป

นาย ยะโก๊บ หร่ายมณี เป็นอิหม่ามสายกลางมีวิธีการทำงานที่เน้นการพัฒนา การสร้างความสมานฉันท์ การประสานภาครัฐกับภาคประชาสังคม ในการสร้างความเข้าใจระหว่างภาครัฐกับประชาชน ซึ่งในสายตาคนทั่วไปนับว่า เขาได้สร้างประโยชน์อย่างมากมายให้กับสังคม แต่อีกฝั่งหนึ่งมองว่า เขาเป็นเครื่องมือทำงานให้กับรัฐที่จะดึงมวลชนให้ไปอยู่กับรัฐ จึงต้องสังหาร มีคำถามว่า ใครคือผู้สังหารตัวจริง

แม้ จะมีการออกหมายจับผู้ก่อเหตุและมีการมอบตัวของนาย  นายมาฮูเซ็น แมฮะ อายุ 30 ปี ชาวอำเภอยะรัง จ.ปัตตานี  เมื่อวันที่ 26 สิงหาคม 2556 ที่ผ่านมา แต่ไม่อาจคลี่คลายความสงสัยของสังคมมุสลิมได้ เพราะคนที่เจ้าหน้าที่รัฐจับกุมในข้อหาก่อความไม่สงบมากกว่า 80% ศาลพิพากษายกฟ้อง

อย่างกรณีล่าสุดศาล จังหวัดปัตตานีมีคำพิพากษาคดียกฟ้อง นพ.สุกรี กาเดร์ แพทย์ประจำโรงพยาบาลศิริราช ในชั้นฎีกาที่ถูกต้องข้อหาร่วมกันฆ่าและพยายามฆ่า และอีกหลายข้อกล่าวหา สะท้อนให้เห็นถึงความหละหลวมในการแสวงหาพยานหลักฐานของเจ้าหน้าที่ด้านความ มั่นคง ที่จะมักจะใช้วิธีการเหมาเข่งในการกล่าวหา ถ้าพื้นที่ใดอยู่ในความรับผิดชอบของกลุ่มใด (ไม่รู้จริงเท็จจริงแค่ไหน) เวลาเกิดเหตุการณ์ขึ้นมาก็จะเหมารวมว่า เป็นฝีมือของกลุ่มนี้ทำ ผู้ต้องหาบางคนบางกลุ่มจึงมีคดีติดตัวหลายสิบคดี

โดย ข้อเท็จจริงและในการรับรู้ของชาวบ้าน กลุ่มก่อความไม่สงบไม่มีเพียงแต่กลุ่มมุสลิม (BRN,RKK,เบอร์ซาตู เป็นต้น) แต่ยังมีกลุ่มอื่นที่เข้ามาสวมรอยสถานการณ์ หรือก่อเหตุเพื่อแก้แค้น อาทิ กลุ่มของเจ้าหน้าที่บางกลุ่ม กลุ่มทไทยพุทธในพื้นที่ซึ่งได้รับการฝึกฝนอาวุธเพื่อป้องกันตันเองจากเจ้า หน้าที่ฝ่ายความมั่นคง ที่มักก่อเหตุกราดยิงร้านน้ำชาของมุสลิม ซึ่งไลน์การสอบสวนมักจะตั้งประเด็นการก่อเหตุเพื่อโยนความผิดให้กับเจ้า หน้าที่เป็นต้น ในขณะเดียวกัน กลุ่มก่อเหตุเองก็จะทำงานรับจ้างให้กับฝ่ายต่างๆด้วย อาทิ นักการเมืองท้องถิ่น ด้วยความซับซ้อนของสถานการณ์ จึงยากที่จะประเมินว่า การสังหารอิหม่ามยะโก๊บ เป็นฝีมือของคนกลุ่มใด

อย่างไร ก็ตาม ข้อมูลล่าสุด ที่มีการวิเคราะห์ในกลุ่มคนชั้นนำในสังคมมุสลิมภาคใต้ เห็นว่า สถานการณ์ในภาคใต้ได้ยกระดับการต่อสู้ไปอีกจุดหนึ่ง คือ เป็นการต่อสู้นอกจากเพื่อแบ่งแยกดินแดน หรือปกครองตัวเองแล้ว ยังมีประเด็นของ “นิกาย” ของศาสนามาเกี่ยวข้องด้วย

การ เปลี่ยนแปลงทางศาสนาที่สำคัญในประเทศไทยและในภาคใต้ คือ การเข้ามาของนิกายใหม่ ที่มองว่า การปฏิบัติของมุสลิมเดิมผิดหลักศาสนา มีการวิพากษ์วิจาราณ์อย่างรุนแรงในหลายเวที ก่อให้เกิดความขัดแย้งมาอย่างต่อเนื่อง นิกายนี้เข้ามาพร้อมๆ กับการกลับมาจากการศึกษาในต่างประเทศของมุสลิมไทย

กลุ่ม นี้มีศูนย์อำนาจใหญ่ในประเทศมุสลิมที่เป็นศูนย์กลางอำนาจของโลกมุสลิม แนวทางการเผยแพร่จะไม่ประนีประนอม แต่เน้นการใช้กำลัง โดยในต่างประเทศกลุ่มนี้ เติบโตมาจากการใช้อำนาจเข้าไปจัดการกับฝ่ายที่ปฏิบัติแตกต่างกับตัวเองจน สามารถควบคุมอำนาจได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด

ใ ประเทศไทยแม้จะเน้นแนวทางการวิพากษ์วิจารณ์คนที่ปฏิบัติแตกต่าง แต่ในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ การใช้กำลังหรือความรุนแรงถูกนำเข้ามาเป็นว่วนหนึ่งของการเผยแพร่ หรือการควบรวมอำนาจเหมือนประเทศศูนย์กลาง

ทั้งนี้ หลังจากผู้ยึดมั่นในแนวทางนี้เข้ามา ก็มีการขยายตัวค่อนข้าวกว้างขวางทั้งทั้งด้านปริมาณและคุณภาพ จนกลายเป็นผู้นำระดับประเทศ ทำให้มีประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนแนวทางของตนเอง คือ การใช้ความรุนแรง ไม้เพียงการต่อสู้กับอำนาจรัฐแต่กับมุสลิมที่ปฏิบัติตรงกันข้ามกับสิ่งที่ ตนเองปฏิบัติด้วย หรือมุสลิมที่กลุ่มนี้มองว่า สยบยอมต่ออำนาจรัฐ หมายถึงผู้นำศาสนาด้วย

ข้อมูล ล่าสุดที่มีการวิเคราะห์กันหลังการเสียชีวิตของอิหม่ามยะโก๊บนั้น มีความชัดเจนในระดับหนึ่งว่า กระบวนการสังหารผู้นำศาสนามาจากเหตุผลใด เมื่อสืบสาวกลับไปก็พบว่า ในพื้นที่มีการสังหารผู้นำศาสนาและครูสอนศาสนาเกิดขึ้นมาหลายครั้งแล้ว แต่รุนแรงที่สุดคือกรณีของอิหม่ามยะโก๊บ จะเห็นว่า หลังจากนั้นก็มีการสังหารอุซตาดที่จังหวัดปัตตานี  และมีผู้นำศาสนาอีกหลายคนอยู่ในแผนการสังหาร เป็นผู้นำศาสนาเป็นกลุ่มเดิมและทำงานให้กับภาครัฐเหมือนอิหม่ามยะโก๊บ

สถาน กาณ์อิหม่ามใบไม้ร่วงจะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องจากนี้ไป กลายเป็นความกังวลของผู้นำศาสนาในพื้นที่ ที่ด้านหนึ่งจำเป็นต้องทำงานร่วมกับภาครัฐ แต่อีกด้านหนึ่ง ก็เกรงกลัวกลุ่มขบวนการ ที่อำนาจรัฐไม่อาจยื่นมือไปดูแลได้อย่างทั่วถึง ทำให้เกิดการชะงักงันของการทำงานพัฒนาท้องถิ่น พัฒนาพื้นที่  กลายเป็นปัญหาสลับซับซ้อนขึ้นมาอีกปัญหาหนึ่ง ที่ยากจะประเมินผลกระทบที่จะตามมา