‘พิเชษฐ สถิรชวาล’ บุรุษ 2 อำนาจ

KEEP THE BALANCE BETWEEN RELIGIOUS & POLITICAL

การ เข้ามานั่งในตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยของ ‘พิเชษฐ สถิรชวาล’ หรือ ฮัจยีอับดุลรอชีด สถิรชวาล อดีตรัฐมนตรีหลายกระทรวง จนมีการกล่าวขานถึงความเหมาะสม

ภาพ การเมืองกับภาพผู้บริหารองค์กรศาสนาของ ‘พิเชษฐ’ แทบแยกกันไม่ออก เพราะหมวกอีกใบเขานั่งเป็นประธานภาคใต้ของพรรคเพื่อไทย ด้วย เหล่านี้ยังเป็นข้อกังขาที่สังคมกำลังถามถึง
‘พับลิกโพสต์’ จึงได้โอกาสจับเข่าคุยถึงปัญหาลึกๆ ทั้งเรื่องการเมืองและการบริหารองค์กรศาสนา มีคำตอบที่น่าสนใจ
และเชื่อว่าถ้าอ่านบรรทัดต่อบรรทัด จะเข้าใจในคำตอบ และรู้ถึงวิชั่น ของ        ‘พิเชษฐ สถิรชวาล’

 
พับลิกโพสต์: การเมืองจากนี้ไปจะไปในลักษณะไหน โดยเฉพาะเมื่อ บิกจิ๋ว เข้ามาเป็นผู้ใหญอีกคนหนึ่งในพรรคเพื่อไทย
พิ เชษฐ: ทันทีที่ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ เข้ามา ทำให้ความกระตือรือร้นและการเคลื่อนไหวของผู้แทนราษฎรในส่วนของพรรคเพื่อไทย คึกคักขึ้น จากที่เป็นเพียงฝ่ายค้านรอดูสถานการณ์ ก็กลายเป็นมีกิจกรรมต่างๆ ที่มีประโยชน์

เพราะว่าคนก็รู้ว่าที่มา ของรัฐบาลมาจากการค้านส่วน ใหญ่ของประชาชนที่เลือกพรรคพลังประชาชนหรือพรรคเพื่อไทย เลือกพรรคไทยรักไทยแล้วมาเป็นพลังประชาชนแล้วมาเพื่อไทย ก็คือส่วนใหญ่เลือกมาให้บริหารประเทศแต่มันไม่เป็นตามนั้น

เนื่องจาก มันมีเหตุเปลี่ยนแปลง จะโดยอะไรก็แล้วแต่ มันก็เท่ากับว่าเป็นจุดอ่อนที่สามารถโจมตีได้ว่ามันคัดค้านจากเสียงส่วนใหญ่ เพราะฉะนั้นปัญหาของประเทศนั้นเลยไม่ราบรื่น รัฐบาลไม่สามารถไปไหนได้อย่างอิสระ อย่างสง่างามไม่ได้

ความหวังของ เราถือว่า พลเอกชวลิต มีประสบการณ์ มีบารมี โดยเฉพาะภาคใต้ เป็นนายทหารที่ได้รับความเชื่อถือจากคนมุสลิม ถึงแม้เขาจะไม่ใช่มุสลิมก็ตาม

เพราะฉะนั้นโดยภาพรวมในเรื่องประชาชนให้ความสนับสนุนมันเกิดขึ้นกับเขา แถวอีสานไม่ต้องพูดถึง เนื่องจากพื้นเพเดิมมีฐานอยู่แล้ว

การ ยุบพรรคมารวมกัน พลเอกชวลิต  เราสามารถกระจายหาเสียงทางด้านอีสาน สบายใจได้ว่าไม่มีเรื่องกังวล น่าจะขยายในส่วนภาคใต้ โดยเฉพาะเหตุการณ์ความไม่สงบนี้ พลเอกชวลิตมีแนวทาง เพราะพลเอกชวลิต ไม่ต้องการใช้ความรุนแรง ใช้ระบบการเจรจาเป็นหลักพื้นฐาน
โดยเฉพาะ พลเอกชวลิต มาจากสายข่าว ซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญเป็นที่ยอมรับเป็นการข่าวมือหนึ่งของประเทศ ทำให้ผมเชื่อว่าการจะได้ความหวังจากภาคใต้เพิ่มขึ้น ทั้งภาคอีสาน ภาคใต้
เรา มีนโยบายที่ชัดเจนเพื่อแก้ปัญหาชายแดนใต้ เช่น จากนี้ไปทุกโรงพักจะต้องมีทนายอาสา เป็นอัยการให้แก่ประชาชนในพื้นที่ รับทราบปัญหาพร้อมๆ กัน ไม่ใช่ไปรับทราบข้อหาประชาชนโดยไม่รู้กฎหมาย

สอง เพิ่มบทบาทในเรื่องดาโต๊ะยุติธรรม ไม่ใช่ว่าดาโต๊ะยุติธรรม จะมีหน้าที่ในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทอย่างเดียว มันต้องมีอำนาจตัวอื่นในการเจรจาทางสังคมด้วย
พับลิกโพสต์: ในฐานะที่เป็นประธานดูแลภาคใต้ส่วนตัวเองจะขยายฐานภาคใต้อย่างไร
พิ เชษฐ:  ผมจะดูแลในภาพรวม ถ้าเจาะลึกเข้าไปในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้หรือพื้นที่ใกล้เคียงจะ ซูกาโน มะทา ซึ่งเป็นผู้แทนของเรา โดยเขาจะมีบทบาทดูแลรับผิดชอบใน 5 จังหวัดภาคใต้บวกกับสตูลและสงขลา ส่วนผมจะดูแลในอีก 7 จังหวัดที่เหลือฝั่งอันดามัน และพัทลุง

นี่คือพวกกลุ่มแปด โดยภาพรวมโอเค ปัญหาอุปสรรคของประเทศคือวิกฤติเศรษฐกิจเป็นหลัก ทางด้านอันดามัน มีปัญหาการท่องเที่ยวเป็นหลัก จะต้องส่งเสริมการท่องเที่ยว
ผม พูดในเรื่องที่ผมดูแลอยู่ ไม่ใช่เอาศาสนามาเป็นเครื่องมือของการเมือง จะทำไงก็ได้ ให้ประเทศชาติอยู่รอด มีรายได้ เพราะถ้าสังคมดีขึ้น ทุกคนก็จะให้ความสำคัญกับการเมือง

พับลิกโพสต์ :นโยบายฮาลาล จากนี้ไปจะไปในทิศทางไหน
พิ เชษฐ: ที่ผ่านมายอมรับว่าได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลน้อยมาก โดยรายได้ส่วนใหญ่ของคณะกรรมการกลางมาจากค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนสินค้าฮา ลาล ปัจจุบันเรามีสินค้าทั้งหมด 45,000 ผลิตภัณฑ์ โดยมีรายได้จากค่าทำเนียม 500 บาทต่อผลิตภัณฑ์ หรือประมาณ 30 กว่าล้านบาท

แต่เรามีหน้าที่ที่ จะต้องดูแลองค์กรมุสลิมทั้งประเทศมีทั้งหมด 36 จังหวัด คำว่าฮาลาล จะรู้กันในประเทศมุสลิม ซึ่งมีมาตรฐานตามที่ระบุไว้ในอัลกุรอาน ส่วนวิทยาศาสตร์ถือเป็นเครื่องมืออย่างหนึ่ง

ทั้งนี้เรากำลังจะผลัก ดันในเรื่องฮาลาล เพราะเราเชื่อมั่นว่า สินค้าฮาลาลในประเทศไทยที่มีอยู่ในขณะนี้ สามารถรองรับการเป็นครัวโลกได้ แต่ในฐานะเราไม่ใช่ประเทศมุสลิม เราจะต้องสร้างการยอมรับจากประเทศมุสลิมซึ่งต้องใช้เวลา

ผมทำ หน้าที่ในฐานะเหมือนขายสินค้าฮาลาล เดินทางไปแต่ละประเทศ  ซึ่งจริงๆ เป็นหน้าที่ของรัฐบาล และกระทรวงพาณิช หน้าที่เราแค่ออกฮาลาล ก็จบ แต่ในสามัญสำนึกของเราว่ามันต้องเกี่ยวข้องกับเราเหมือนกัน

ในกรณี ผู้ประกอบการขอฮาลาล 45,000 ผลิตภัณฑ์ หากเขาผลิตออกมาแล้วขายไม่ได้ เราก็อยู่ไม่ได้เหมือนกัน เราจึงจำเป็นต้องเดินทางเพื่อเปิดตลาดให้ผู้ประกอบการ  ทั้ง ดูไบ อิหร่าน และ อินโดนีเซีย ซึ่งมีมุสลิม 80% ของทั้งหมด

ในเดือนมีนาคม 2553 จะมีงานใหญ่ที่ภูเก็ต เราเจรจากับเทศบาลป่าตอง ห้างจังซีลอน และโรงแรมเมลีเนียม เพื่อจัดงาน ฮาลาลฟอรั่ม โดยในเดือนพฤศจิกายนนี้ ผมจะเดินทางไปจอร์แดน เพื่อทำรายละเอียดเสนอที่ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เพื่อเป็นเจ้าภาพการประชุมฮาลาลฟอรั่ม ซึ่งถือเป็นงานระดับโลก

เรา เชิญ 3 กลุ่ม คือ สมาชิกโอไอซี กลุ่มที่ 2 อาเชียน     ฮาลาล เรามีเป้าหมายจะคุยกับอินโด-ไทย เวิร์คชอป เอาประเทศที่จะร่วมตรงนี้ โดยเฉพาะมาเลเซียเพราะมาเลเซียเป็นประเทศเดียวที่ไม่ค่อยมีวัตถุดิบ แต่มีตราฮาลาลเป็นที่ยอมรับ เพราะเป็นประเทศมุสลิม กลุ่มที่ 3 ในฐานะที่เรามีความสัมพันธ์กับ          อินเตอเท็ก มีสาขาทั้งหมด 800 สาขา 110 ประเทศ ผมอยากให้เขามาประชุมฟู๊ดเซฟตี้ ที่ภูเก็ต ซึ่งจะมีผู้ประกอบการค้าปลีกรายใหญ่ทั่วโลกมาร่วมด้วย

ส่วนกลุ่มที่ 4 สมาคมโลจิสติค ซึ่งปรกติจะมีการประชุมทุกปี ปีละ 2 ครั้ง จึงต้องการให้มาร่วมประชุมด้วย

นอกจากนี้กิจกรรมในงานจะจัดแสดงอาหารฮาลาลเฟสติวัล อีกทั้งยังจะมี เชฟฮาลาล จากนานาชาติ มาร่วม เพื่อยกระดับอาหารฮาลาลฟู้ดสู่สากล

พับลิกโพสต์ : คณะกรรมการกลางในฐานะเป็นแม่บ้านบริหารความขัดแย้งอย่างไร
พิ เชษฐ : ถ้าพูดเรื่องศาสนาไม่มีขัดแย้ง แต่การบริหารของ พรบ. รวมทั้ง ฮาลาล แต่การบริหารองค์กรศาสนาอิสลามตาม  พรบ.ปี 40  พอเจอปัญหาทางโลกจึงสับสน เพราะในอดีตไม่ได้แยกสายการบริหารทำให้ไปไหนไม่ได้ ติดขัด ผมเลยแยกคณะกรรมการ ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อบริหารออกมารูปของอินเตอร์

การ เชิญตัวแทนของรัฐเข้ามาอยู่ในคณะกรรมการบริการ ฮาลาล จะช่วยให้ประสานงานความร่วมมือกับภาครัฐได้ง่ายขึ้น เช่น การละเมิดลิขสิทธิ์ หรือการคุ้มครองผู้บริโภค ซึ่งรวมถึงสินค้านำเข้าโดยเฉพาะจากจีน ที่มีเครื่องหมายฮาลาล ซึ่งจะต้องผ่านการตรวจสอบว่าฮาลาลจริงหรือไม่

ซึ่งในอนาคต หาก อย.ให้นำสินค้าอุปโภคบริโภคเข้ามา แต่ถ้ามีสินค้าฮาลาลเข้ามาในประเทศ  ขอให้เรามีส่วนรับรู้ เพราะฮาลาล มาจากประเทศจีนเยอะ ที่ผ่านมาเรามัวแต่ดีใจที่สินค้าฮาลาลของเราส่งออกไปเยอะ ในขณะเดียวกันสินค้าฮาลาลนำเข้าก็เยอะ เราไม่มีโอกาสรู้ เราไม่มีรายได้ตรงนี้เลย และที่สำคัญเราไม่รู้ว่าสินค้านั้นฮาลาลจริง ซึ่งทั้งหมดจะนำเข้าไปหารือกับ คณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย. ซึ่งผมจะนำเรื่องไปเข้าสภา สอบถามรัฐบาล และนายกรัฐมนตรีว่า จะหาวิธีคุ้มครองบริโภคมุสลิมด้วยวิธีไหน

พับลิกโพสต์ : เรื่ององค์กรศาสนากับการเมือง
พิ เชษฐ: ต้องยอมรับว่าศาสนากับการเมืองต้องเอื้อซึ่งกันและกัน แต่อย่าเอาประโยชน์ของแต่ละฝ่าย มาเป็นประโยชน์ของแต่ละฝ่าย ขณะเดียวกันอย่าเอาศาสนามาเป็นเครื่องมือในการที่จะทำลาย

สิ่งที่ผม กลัวที่สุดคือ การเมืองจะเอาศาสนามาเป็นเครื่องมือในการทำงานการเมืองด้วยกัน ยกตัวอย่างง่ายๆ ผมเห็นความแตกแยกในภาคใต้เพราะการเมือง เพราะต้องการชนะการเมือง แต่คุณทิ้งความร้าวฉานความแตกแยกของสังคมมุสลิมเพียงแค่ต้องการชนะการเลือก ตั้ง
วาดะห์เป็นที่ยอมรับใน 3 จ.ชายแดนใต้ มาตลอด พอมีประเด็นเรื่องตากใบ วาดะห์ หาย ทำไม… เพราะมีพรรคการเมืองบางพรรค นักการเมืองบางคน เอาซีดีการทำร้ายประชาชน ในสมัยรัฐบาลนายกทักษิณ ซึ่งมีกลุ่มวาดะห์อยู่ด้วย โดยทำแจกทุกบ้าน กลายเป็นว่า พรรคการเมืองทำร้ายประชาชนมุสลิม

ในที่สุดคุณชนะการเลือกตั้งหมด แต่ทิ้งรอยร้าวความเจ็บปวด ของพี่น้อง จนทุกวันนี้ทำให้ประชาชนเกลียดชังทหาร ทำให้ประชาชนแตกแยก นี่คือเรียกว่า เอาการเมืองโดยใช้ศาสนามาทำลาย

เรื่องนี้ผมระวังที่สุดในกรณีผมจะขอ งบประมาณจากรัฐบาลเขาคงไม่ให้ผม เขาคงคิดว่าผมจะเอาทำไม ไม่คิดว่ามุสลิมก็คือมุสลิม ทำไมต้องคิดว่ามุสลิมอยู่พรรคโน้นพรรคนี้ ส่วนรวมแล้วมันไม่ได้ประโยชน์

ส่วนผมอยู่ได้และมีผลประโยชน์แก่ มุสลิม เพราะอัลเลาะห์ ประทานให้เรา เพราะฮาลาลเป็นของพระองค์ แต่ได้แค่ในประเทศ เราโชคดีที่มีประชากรผู้เกี่ยวข้อง และทรัพยากรของเรา สินค้าเราเลี้ยงคนทั้งโลกได้ แต่งบประมาณมีจำกัดไม่สามารถไปต่างประเทศได้
ดัง นั้นผมเดินทางเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการ ว่าคุณมีตลาดต่างประเทศนะ ผมจะต้องทำ ฮาลาลซูเปอร์มาร์เก็ต อยู่ที่ศูนย์กลางอิสลาม จัดระเบียบให้เป็นที่เป็นทาง จ้างมืออาชีพออกแบบ ตั้งสหกรณ์มาลงทุน หรือ ตั้งหุ้น หาผู้บริหารดีๆ มา บริหาร นี่คือสิ่งที่ผมวางเอาไว้และจะเกิดขึ้นแน่ในปีนี้ สินค้าเรามีอยู่แล้ว ใครก็ได้จะเป็นเจ้าของแต่ต้องเป็นสินค้าฮาลาล

พับลิกโพสต์: เรื่องจุฬาราชมนตรี ที่มีข่าวว่าจะมีการแข่งขันกันมาก
พิ เชษฐ : ท่านจุฬาฯ เองยังมีชีวิตอยู่ ผมเคารพในฐานะผู้นำสูงสุดเรา เมื่อจุฬาราชมนตรีเป็นผู้นำ เราจะต้องรักษาตรงนี้ไว้ เพราะตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ถือเป็นสถาบันสูงสุดของผู้นำศาสนาอิสลามในประเทศไทย เราต้องเทิดทูน

ผม ถือว่าตรงนี้สำคัญ ดังนั้นขอให้เลิกวุ่นวายกับท่านจุฬาราชมนตรี เราต้องนับถือ แม้ว่าท่านจะทำอะไร หรืออยู่ในสถาพไหน แต่ทุกวันนี้ท่านจุฬาราชมนตรียังมีชีวิตอยู่ จึงถือว่า เรายังมีจุฬาราชมนตรี อยู่ จึงไม่บังควรที่จะคิดอย่างอื่น

 

ที่มา : พับลิกโพสต์ ฉ.22 พฤศจิกายน 2552