รัฐมนตรีต่างประเทศอิหร่าน นายโมฮัมหมัด จาวาด ซารีฟ กล่าวหาว่า สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์พยายามที่จะ “เปลี่ยนเป็นอีกหนึ่งอิสราเอล” โดยใช้เงินหลายพันล้านดอลลาร์ในการนำเข้าอาวุธ
“สามประเทศในภูมิภาคเชื่อว่า พวกเขาสามารถรักษาความมั่นคงผ่านความสัมพันธ์กับสหรัฐฯ” ซารีฟ กล่าวในการให้สัมภาษณ์พิเศษกับอัลอะราบีทีวี (Al-Araby TV) ในวันอังคาร (11 มิ.ย.) ซึ่งเวอร์ชันเต็มจะออกอากาศในวันพุธ (12 มิ.ย.) นี้ เพรสทีวี สื่ออิหร่านรายงาน
อย่างไรก็ตาม เขากล่าวเสริมว่า พวกเขาคิดผิดที่ว่าพวกเขาสามารถนำเข้าความมั่นคงจากอเมริกาได้ เพราะอาวุธเหล่านี้จะถูกใช้เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของอิสราเอล
ซารีฟฉะใส่บางประเทศในภูมิภาคอาวุธที่นำเข้าที่มากเกินไป โดยกล่าวว่า “สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ใช้จ่ายเงินหลายพันล้านดอลลาร์ไปกับอาวุธยุทโธปกรณ์ และต้องการเป็นอิสราเอลประเทศที่สองในภูมิภาคนี้”
ทั้งนี้การศึกษาของสถาบันวิจัยสันติภาพนานาชาติสตอกโฮล์ม (SIPRI) เผยให้เห็นว่า สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ได้เพิ่มการนำเข้าอาวุธ 63% ระหว่างปี 2012 ถึง 2016 ค่าใช้จ่ายทางทหารคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 31.8 พันล้านดอลลาร์ในปี 2021 จาก 23.6 พันล้านดอลลาร์ในปี 2016
ยูเออีได้ดำเนินนโยบายต่างประเทศที่แทรกแซงมากขึ้นในจุดที่มีความขัดแย้งร้อนแรง เช่น ลิเบีย, ซีเรีย และล่าสุดเยเมน
ซาอุดิอารเบีย, สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และพันธมิตรของพวกเขาได้เข้าห้ำหั่นในเยเมนตั้งแต่ปี 2015 เพื่อฟื้นฟูรัฐบาลเก่าที่เป็นพันธมิตรกับริยาด ผู้คนหลายแสนคนถูกสังหารหรือบาดเจ็บตั้งแต่สงครามที่นำโดยซาอุดิอาระเบียเริ่มปะทุขึ้น
ในการสัมภาษณ์เมื่อวันอังคารที่ผ่านมา ซาริฟชี้ให้เห็นถึงความตึงเครียดที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในตะวันออกกลาง และกล่าวว่า “ทุกอย่างเป็นไปได้” ในบรรยากาศอันตึงเครียดที่สหรัฐฯ กำลังทำสงครามเศรษฐกิจกับอิหร่านผ่านการคว่ำบาตรฝ่ายเดียว
“ไม่มีความแตกต่างระหว่างสงครามทางทหารและเศรษฐกิจ” เขากล่าว “ในสถานการณ์ที่ตึงเครียดทุกสิ่งเป็นไปได้ และภูมิภาคนี้เป็นเหยื่อรายใหญ่ที่สุด”
อย่างไรก็ตามเขากล่าวเสริมว่า อิหร่านจะไม่อนุญาตให้สหรัฐฯ กำหนดสงครามฝ่ายเดียวต่อประเทศอิหร่านซึ่งจะเป็นอันตรายต่อทุกคนอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ในฐานะ “สงครามก็คือสงคราม”
ความตึงเครียดระหว่างวอชิงตันและเตหะรานเพิ่มสูงขึ้นนับตั้งแต่ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ถอนตัวจากข้อตกลงนิวเคลียร์ระหว่างประเทศที่ทำขึ้นในปี 2015 และเริ่มมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจกับอิหร่านรอบใหม่โดยมุ่งเป้าไปที่การซื้อขายพลังงานในตลาดโลก
ในช่วงต้นเดือนพฤษภาคม ฝ่ายบริหารของทรัมป์ได้ส่งกองทัพสหรัฐฯ เข้าในอ่าวเปอร์เซียโดยอ้างถึงภัยคุกคามจากสาธารณรัฐอิสลามต่อกองทหารและผลประโยชน์อเมริกัน
การส่งเครื่องบินบรรทุกเครื่องบิน เครื่องบินทิ้งระเบิด B-52 และขีปนาวุธแพตริออตไปยังตะวันออกกลางของสหรัฐฯ ก่อให้เกิดความกลัวว่ารัฐบาลทรัมป์กำลังพิจารณาบุกรุกทางทหารต่ออิหร่าน
อิหร่านยืนยันว่าจะไม่เริ่มต้นความขัดแย้ง แต่จะปกป้องประเทศอย่างมั่นคงจากการรุกรานใดๆ