ทางออก  “คืนคำพิพากษาให้ผู้พิพากษา  คืนความยุติธรรมให้ประชาชน”

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตาปรานีเสมอ มวลการสรรเสริญมอบแด่อัลลอฮฺผู้ทรงอภิบาลแห่งสากลโลก ขอความสันติสุขแด่ศาสนทูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

#คืนคำพิพากษาให้ผู้พิพากษา  คืนความยุติธรรมให้ประชาชน แฮชแท็ก#อันนี้น่าจะมียอดสูงสุดหลังมีข่าวว่า “นายคณากร เพียรชนะ” ผู้พิพากษาศาลจังหวัดยะลายิงตัวเองภายหลังเสร็จสิ้นการอ่านคำพิพากษาคดี

 เหตุการณ์นี้กระทบความเชื่อมั่นของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรมไทยอย่างมาก  (ทั้งในเชิงประจักษ์ก่อนหน้านี้และที่ทำสำรวจหน้าเฟสบุ๊ค รายบุคคลหรือหลายสำนักข่าว)

แต่ท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองก็ต้องยอมรับว่า กรณีเรื่องนี้มีถึงสองกระแส ด้วยกัน    

หนึ่ง “เชื่อ” ในคำแถลงของนายคณากร เพียรชนะ สอง “ไม่เชื่อ” และกล่าวหาว่ามีเบื้องหลัง

สำหรับประเด็นที่หนึ่งนั้นน่าจำนวนมากที่สุดจนเกิดแฮชแท็ก# อันนี้หรือคล้ายๆ นี้

เช่นนางอังคณา นีละไพจิตร (เขียนเฟสบุ๊คส่วนตัว) โดยท่านติด แฮชแท็ก #ความยุติธรรมและสิทธิมนุษยชนของไทยกำลังถดถอยและถูกถูกคุกคามอย่างมาก#Indepent_of_Judges #ตุลาการที่เป็นอิสระ ข่าววันนี้ผู้พิพากษาศาลจังหวัดยะลายิงตัวเองภายหลังเสร็จสิ้นการอ่านคำพิพากษาคดีความมั่นคง เหตุการณ์นี้กระทบความเชื่อมั่นของประชาชนต่อกระบวนการยุติธรรมไทยอย่างมาก#อยากฝากถึงท่านโฆษกศาลยุติธรรมนะคะ การแถลงข่าวของท่านโฆษกกรณีท่านผู้พิพากษายิงตัวเองเพราะเหตุจากความเครียดส่วนตัว ทั้งที่เรื่องนี้น่าจะเป็น #ความเครียดจากการทำงาน คำว่า #ส่วนตัว ทำให้กระทบต่อครอบครัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ หากท่านไม่อยากให้เรื่องนี้กระทบต่อศาลยุติธรรม จะแถลงเพียงสาเหตุจาก”ความเครียด” อย่างเดียวก็ได้นะคะ #ภาวนาขอให้ท่านปลอดภัย

สองไม่เชื่อคำแถลงของนายคณากร เพียรชนะ

สำหรับคนกลุ่มนี้ส่วนใหญ่จะมาจากกลุ่มหนุนรัฐบาลกล่าวหาว่าเรื่องนี้มีเบื้องหน้าเบื้องหลัง บางคนนำภาพนายคณากร เพียรชนะ ไปเชื่อมกับพรรคอนาคตใหม่ หรือ นำทัศนะฝ่ายค้านที่ออกมารับลูก เช่นภาพอาจารย์วันนอร์ตอนไปเยี่ยมนายคณากร เพียรชนะ ที่โรงพยาบาล หรือที่น่าจะถูกวิพากษ์วิจารณ์มากที่สุดน่าจะเป็นของ “นางสาวปารีณา ไกรคุปต์”  ส.ส.พรรคพลังประชารัฐ จ.ราชบุรี มีการโพสต์ข้อความที่ระบุว่า ผู้พิพากษาจัดฉากยิงตัวตาย ไม่ตาย ไม่เนียน เพราะเป็นคนมีความชำนาญเรื่องปืน และกระสุนปืน ต้องการทำลายความน่าเชื่อถือ ต้องการทำลายสถาบันศาล โกหก ใส่ร้าย จัดฉาก แต่ไม่เนียน สังคมฉลาดพอ มันไม่ง่ายหรอกที่จะทำลายล้างสถาบันที่มีความเข้มแข็ง

กล่าวโดยสรุปคือพยายามดิสเครดิตส่วนบุคคลของผู้พิพากษา เรียกได้ว่า “ทำฟาล์วในเขตโทษจะให้ไปเตะมุม ฉันใด เขาพูดเรื่องแทรกแซงผู้พิพากษา แด่ดันไปสนใจประเด็นอยากตายทำไมไม่ยิงหัว ฉันนั้น” (Cr.Dr.Bu Pitsuwan)

ในขณะที่นายสราวุธ เบญจกุล เลขาธิการศาลยุติธรรมออกมาปกป้องกระบวนการยุติธรรมของศาลว่าเป็นไปไม่ได้ว่าจะถูกแทรกแซง

ซึ่งท่านเปิดเผยกับ The Reporters ยืนยันว่า คำพิพากษาถือเป็นความลับ ไม่สามารถเปิดเผยก่อนการอ่านคำพิพากษาได้ ไม่เช่นนั้นจะรู้ผลล่วงหน้า และเป็นวิธีปฏิบัติของศาลที่จะปรึกษาหารือกันได้

ซึ่งในกระบวนการทำงานคดีที่มีโทษสูง คดีสำคัญ กฏหมาย พระธรรมนูญ มาตรา 11 (1) ที่ให้อำนาจ อธิบดี นั่งพิจารณาและพิพากษาคดีใดๆของศาลนั้น หรือเมื่อได้ตรวจสำนวนคดีใดแล้วมีอำนาจทำความเห็นแย้งได้ และสามารถให้คำแนำนำแก่ผู้พิพากษาในศาลนั้นในข้อข้ดข้องเนื่องในการปฏิบัติหน้าของผู้พิพากษา และ ปรึกษาหารือกันในองค์คณะที่มีหน้าที่ในการพิจารณาคดีได้

และใน มาตรา 14 ระบุไว้ด้วยว่าให้อธิบดีผู้พิพากษาภาคเป็นผู้พิพากษาในศาลที่อยู่ในเขตอำนาจด้วยผู้หนึ่ง โดยให้มีอำนาจและหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 11 วรรคหนึ่ง รวมทั้งได้ให้อำนาจรองอธิบดีผู้พิพากษาภาคไว้ด้วยเพราะปริมาณคดีมีมาก

“อธิบดี จึงมีสิทธิ ที่จะตรวจสำนวน คำพิพากษา ถ้าไม่ได้ขึ้นไปนั่งพิจารณาคดี ก็มีข้อแนะนำได้ หากการเขียนคำพิพากษามีจุดบกพร่อง ก็แนะนำให้แก้ไขได้ ซึ่งกฏหมายให้อำนาจไว้เพื่อคุ้มครองประโยชน์ของประชาชน

แต่อธิบดีไม่สามารถไปก้าวก่ายการตัดสินของผู้พิพากษาได้ ไม่สามารถแทรกแซงการทำงานได้ เพราะหากผู้พิพากษาไม่เห็นตามนั้น ก็สามารถยืนยันความเห็นของตนเองได้”

ซึ่งมีตัวอย่างในคดีที่ อดีตอธิบดีกรมสรรพากร ถูกฟ้องคดี 157 อธิบดีศาลอาญาในขณะนั้น ซึ่งเป็นท่านชีพ จุลมนต์ อดีตประธานศาลฏีกา เคยมีความเห็นแตกต่างจากองค์คณะว่าควรลงโทษ แต่องค์คณะเห็นว่า ควรยกฟ้อง อธิบดีจึงมีความเห็นว่าให้เอาไปทบทวน ทางองค์คณะ ยืนยันเหมือนเดิมว่า ยกฟ้อง ท่านอธิบดีศาลอาญา จึงทำความเห็นแย้ง

สำหรับในภาค 9 มีคดีความมั่นคงจำนวนมาก การที่อธิบดี มีอำนาจตรวจสำนวนและทำความเห็นแย้งได้ จึงเป็นเรื่องปกติในกระบวนการทำงาน เพราะกฎหมายให้อำนาจอธิบดีมีความเห็นแย้งได้

“แม้การตรวจสำนวนจะเป็นระบบการตรวจสอบภายใน แต่ไม่สามารถแทรกแซงอำนาจของผู้พิพากษาได้ ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงคำตัดสินของผู้พากษาได้

ในภาค 9 คดีความมั่นคง อธิบดีตรวจเป็นเรื่องปกติในการทำงาน แต่มั่นใจได้ว่าไม่สามารถแทรกแซงอำนาจของผู้พิพากษาได้

“ซึ่งกรณีท่านผู้พิพากษา คณากร เพียรชนะ ท่านก็พิพากษายกฟ้อง ท่านแสดงให้เห็นแล้วว่า ไม่มีใครแทรกแซงท่านได้”

(โปรดดู https://www.facebook.com/TheReportersTH)

ทางออกตามมาตรฐานสากลตามข้อเสนอของมูลนิธิผสานวัฒนธรรม

ทางออกตามมาตรฐานสากลต้อง # Save กระบวนการยุติธรรมตามมาตรฐานสากลที่ชายแดนใต้ต่อทุกรัฐบาล

#เรามิได้Save บุคคลแต่เราSave หลักการกระบวนการยุติธรรมที่ศาลซึ่งนับวัน(เชิงประจักษ์)ประชาชนไม่มีความเชื่อมั่น

ดังนั้นเรามาช่วยฟื้นฟูความเชื่อมั่นศาลสถิตยุติธรรมด้วยกัน   เพราะเหตุการณ์นี้สร้างความตระหนกตกใจให้กับผู้เกี่ยวข้องในคดีที่ผู้พิพากษาคณากร เพียรชนะ มีคำพิพากษา รวมตลอดถึงจำเลยทั้ง 5 คน ญาติ และเจ้าหน้าที่ศาลทุกคน รวมทั้งเมื่อมีข่าวสารเผยแพร่ออกมาพบว่า การตัดสินใจทำร้ายตนเองนั้นอาจเกี่ยวกับการเรียกร้องให้มีการเกิดการตรวจสอบการแทรกความเป็นอิสระของตุลาการ โดยมีเอกสารจำนวน 25 หน้าเป็นหลักฐานที่สำคัญ

คดีดังกล่าวเป็นคดีอาญาที่ไม่ใช่คดีความมั่นคงที่มีจำเลย 5 คน ตกเป็นผู้ต้องหาคดีฆ่าผู้อื่นด้วยอาวุธปืนจำนวน 5 คน เหตุเกิดขึ้นที่ตำบลตาเนาะปูเต๊ะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน 2561 มีการจับกุมบุคคลหนึ่งคนด้วยอำนาจกฎอัยการศึกและรับฟังคำซัดทอดจนเกิดการจับกุมบุคคลอื่นอีกจำนวนหนึ่งต่อมา มีการดำเนินคดีอาญาต่อจำเลยเพียง 5 คน ผู้ต้องสงสัยทั้งหมดถูกนำตัวเข้าสู่กระบวนการซักถามด้วยอำนาจกฎหมายพิเศษเป็นเวลานานก่อนที่จะเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญาปกติ และถูกสั่งฟ้องด้วยพยานหลักฐานที่มีข้อพิรุธไม่สามารถรับฟังได้ตามหลักกฎหมาย เมื่อหัวหน้าองค์คณะผู้พิพากษาคดีนี้ได้เขียนคำพิพากษายกฟ้อง โดยมีการกล่าวอ้างว่าถูกแทรกแซง สั่งการโดยผู้บังคับบัญชา ให้แก้ไขเป็นลงโทษประหารชีวิต 3 รายและจำคุกตลอดชีวิต 2 ราย ทำให้ผู้พิพากษาเจ้าของสำนวน คือ ท่านคณากร เพียรชนะ ทำร้ายตนเองด้วยอาวุธปืน และได้เขียนคำแถลงไว้ 25 หน้าดังกล่าว

มูลนิธิผสานวัฒนธรรมที่ได้ทำงานส่งเสริมการเข้าถึงความยุติธรรมในจังหวัดชายแดนภาคใต้มากว่า 15 ปีพบว่าประเด็นสำคัญเอกสารคำแถลงที่เผยแพร่ในสื่อมวลชนจำนวน 25 หน้ามีความสำคัญแม้เป็นเพียงการกล่าวอ้างฝ่ายเดียว แต่พึงต้องนำไปสู่การตรวจสอบให้เกิดความจริงต่อสาธารณะ

เนื่องด้วยเหตุที่ว่าตามหลักกฎหมาย อำนาจตุลาการ ต้องเป็นอำนาจที่เป็นอิสระปราศจากการแทรกแซงจึงจะสามารถนำพาความยุติธรรมให้เกิดขึ้นได้

มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ขอเรียกร้องให้มีการตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นอย่างรอบด้านและเป็นอิสระเพื่อให้เกิดความกระจ่างต่อสังคมเพราะเกี่ยวข้องโดยตรงกับการที่ประชาชนจะได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรม และสร้างความเชื่อมั่นต่อระบบตุลาการในเรื่องความเป็นอิสระของตุลาการกลับคืนมาให้ โดยมีข้อเสนอดังนี้

1. ขอให้มีคำสั่งย้ายบุคลากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับคำแถลงนี้โดยเร็ว เพื่อให้เกิดการตรวจสอบอย่างเป็นอิสระจากหน่วยงานภายในที่พึงมีบุคลากรจากภายนอกของศาลยุติธรรมเข้าร่วมด้วย โดยให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายเพื่อให้ได้ความจริงและแนวทาง การป้องกันไม่ให้เกิดปรากฏการณ์การแทรกแซงความเป็นอิสระของตุลาการดังเช่นนี้อีก

2. ขอให้มีการตรวจสอบอำนาจพิเศษในทุกรูปแบบที่ส่งผลต่อการได้รับการพิจารณาคดีที่เป็นธรรมต่อประชาชนในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ ทั้งในคดีความมั่นคงและคดีอาชญากรรมปกติ ตามที่คำแถลงการณ์ลงวันที่4 ตุลาคม 2562 ของท่านคณากร เพียรชนะ ได้ระบุไว้เช่น การตั้งข้อหาเกินจริง การควบคุมตัวบุคคล โดยอำนาจกฎอัยการศึกแล้วนำตัวมาเป็นพยานในคดีอาชญกรรม การควบคุมตัวผู้ต้องสงสัยคดีอาชกรรมและซักถามด้วยอำนาจกฎหมายพิเศษก่อนการทำสำนวนเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมปกติ การรับฟังพยานหลักฐานที่เกิดจากการซักถาม รวมทั้งการมีคำสั่งให้เขียนคำพิพากษาให้ขังระหว่างอุทธรณ์ หากไม่ยอมเปลี่ยนจากคำพิพากษายกฟ้องให้เป็นลงโทษ เป็นต้น

3. บทเรียนครั้งนี้จะเป็นการพิสูจน์ระบบตุลาการของไทยและระบบศาลยุติธรรม โดยการนำของประธานศาลฎีกาท่านใหม่ด้วยว่า เราไม่อาจข้ามผ่านปรากฎการณ์ไปได้ด้วยคำชี้แจงว่ากรณีของผู้พิพากษาคณากรฯเป็นเรื่องส่วนตัว รวมทั้งต้องตรวจสอบการพิจารณาคดีที่ไม่เป็นธรรมและนำไปสู่การแก้ไขปรับปรุงและต้องไม่ทำให้เรื่องนี้จบลงท่ามกลางความสับสนและการสูญเสียความเชื่อมั่นต่อระบบตุลาการที่เป็นที่พึ่งสุดท้ายประชาชน

    กล่าวโดยสรุปหากสามารถทำตามข้อเสนอแนะนี้ได้ก็จะเป็น ทางออก  ในการคืนคำพิพากษาให้ผู้พิพากษา  คืนความยุติธรรมให้ประชาชนทั้งชายแดนใต้และประเทศไทย

หมายเหตุ: โปรดดู
1. ผู้พิพากษา ยะลา เขียนก่อนยิงตัวเอง https://prachatai.com/journal/2019/10/84607
2.เปิดคำพิพากษา https://prachatai.com/journal/2019/10/84607
3.ข่าวช่อง3 https://youtu.be/i3PCJB4kRcQ