พช. ชวนเอามื้อสามัคคี โคก หนอง นา โมเดล เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพิ่มเครือข่ายและสร้างความรักความสามัคคี

นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ  อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน (พช.) เชิญชวนร่วมแรงร่วมใจไปเอามื้อสามัคคี เพื่อศึกษาเรียนรู้การนำแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงพระราชทาน มาประยุกต์ใช้เพื่อบริหารจัดการดิน ป่า น้ำและคน ในรูปแบบ ” โคก หนอง นา โมเดล ” ตลอดเดือนกุมภาพันธ์ 2563 ซึ่งจะได้ทั้งความรู้ เครือข่าย และความรักสามัคคี

อธิบดี พช. กล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ทรงพระราชทานเกษตรทฤษฎีใหม่ ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ โดย ดร.วิวัฒน์ ศัลยกำธร ได้นำมาใช้บริหารจัดการที่ดินและเรียกอย่างง่ายว่า “โคก หนอง นา โมเดล” อันเป็นแนวทางของการที่จะช่วยทำให้มนุษย์สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน ขจัดปัญหาสิ่งแวดล้อมต่างๆที่เป็นวิกฤตของโลกให้หมดสิ้นไป ทั้งภัยแล้ง น้ำท่วม อาหารไม่ปลอดภัยด้วยสารเคมี ยาฆ่าแมลง ฝุ่นละออง ป่าไม้ลดลงจนทำให้ธรรมชาติขาดสมดุลย์ กรมการพัฒนาชุมชน จึงได้ร่วมมือกับมูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร ลาดกระบัง และ Earth Save ร่วมขับเคลื่อนให้แนวทางตามแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (ร.9) บังเกิดผลเป็นรูปธรรมไปยังทุกตำบลทุกหมู่บ้าน ด้วยการสร้างความรู้ ความเข้าใจ และเพิ่มทักษะให้กับบุคลากรกรมการพัฒนาชุมชน นำแนวทางและวิธีการบริหารจัดการพื้นที่ด้วยรูปแบบ “โคก หนอง นา โมเดล” มาปรับใช้

นอกจากนั้น ยังได้ปรับปรุงและพัฒนาพื้นที่ของศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชน วิทยาลัยการพัฒนาชุมชน และศูนย์พัฒนาอาชีพ 18 แห่ง ทั่วประเทศ ให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่มีชีวิต และสร้างครัวเรือนตัวอย่างที่มีการนำเอา “โคก หนอง นา โมเดล” มาบริหารจัดการพื้นที่อย่างน้อยหมู่บ้านละ 1 ครอบครัว ซึ่งการดำเนินงานจะยึดหลักการมีส่วนร่วม และการช่วยเหลือซึ่งกันและกันของพี่น้องประชาชน ให้ประชาชนสามารถเรียนรู้และนำไปปรับประยุกต์ใช้ตามภูมิสังคม และภูมินิเวศน์ของแต่พื้นที่ เพื่อให้เกิดการ “พอกิน พออยู่ พอใช้ พอร่มเย็น” เป็นขั้นพื้นฐาน

สำหรับปฏิทินการขับเคลื่อน เอามื้อสามัคคี “โคก หนอง นา” ทั่วไทย ในเดือนกุมภาพันธ์ มีดังนี้

1. วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2563 นายสมบูรณ์ เรือศรีจันทร์ บ้านเลขที่ 11/3 หมู่ 9 ต. ทองเอน อ. อินทร์บุรี จ. สิงห์บุรี 09-4693-3944

2. วันที่ 4 กุมภาพันธ์ 2563 วัดมิ่งเมือง เมืองน่าน จ. น่าน. 08-3611-6110

3. วันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2563 น.ส.นิตยา สอนหัด. บ้านเลขที่ 65 ม. 11 ต. นาแขม อ. กบินทร์บุรี จ. ปราจีนบุรี. 09-2751-3845

4. วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2563 ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติวังก์พง ต. วังก์พง อ. ปราณบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ 08-4432-0888

5. วันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2563 ร.ต.ท.วิรัช จ้อยนิล บ้านเลขที่ 59 ม. 2 ต. หนองบัว อ.วัดสิงห์ จ. ชัยนาท 09-5623-6556

6. วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2563 นายอักขราพัชร ลายตลับ บ้านเลขที่ 23/1 ม. 4 ต.ศรีพราน อ. แสวงหา จ.อ่างทอง 09-9556-6639

7. วันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2563 นายพิสัย กาละจักร์ บ้านเลขที่ 119 ม.5 ต. กุดชุม อ. กุดชุม จ. ยโสธร 09-3328-4578

8. วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2563 นายบัญญัติ พลสวัสดิ์ บ้านเลขที่ 499 ม. 15 ต. ไร่น้อย อ.เมืองอุบลราชรา จ.อุบลรราชธานี 08-6877-9985

9. วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563 น.ส.ปาณิภา อ่อนฉ่ำธนัส บ้านเลขที่ 28/1 ม. ๅต. บางใหญ่ อ. บางใหญ่ จ.นนทบุรี 08-2293-5263

10. วันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2563 นายนกแก้ว สุขเกษม บ้านเลขที่ 26/1 ม.7 ต. ตลาดน้อย อ. บ้านหมอ จ. สระบุรี 09-9102-5357

11. วันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 นายณรงค์เดช บุญวงค์ บ้านเลขที่ 6 ม. 8 ต. แม่ใจ อ. แม่ใจ จ. พะเยา 06-5109-0657

12. วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 รต.บรรจงศักดิ์ วิเชียรชู บ้านเลขที่ 298 ม. 4 ต. ดอนดา อ. อู่ทอง จ. สุพรรณบุรี 08-9835-2262

13. วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2563 นายสุทนทร แววมะบุตร บ้านเลขที่ 55 ม. 3 ต. บ้านแพรก อ. บ้านแพรก จ.พระนครศรีอยุธยา 08-1650-4386

14. วันที่ 22 – 23 กุมภาพันธ์ 2563 วัลภาฟาร์ม อ.เมืองลพบุรี จ. ลพบุรี 08-3677-3053

และ 15. วันที่ 29 กุมภาพันธ์ 2563 นางประทุมพร กุลาหลัก บ้านเลขที่ 176 ม. 1 ต. แม่สาคร อ. เวียงสา จ. น่าน 09-6510-3587

นอกจากเรียนรู้โคกหนองนาโดยการเอามื้อตามจุดที่กำหนดแล้ว ยังสามารถไปร่วมเรียนรู้ได้ที่ศูนย์ศึกษาและพัฒนาชุมชนทั้ง 11 แห่งทั่วประเทศ โดยผู้ที่สนใจสามารถติดต่อสอบถามได้ที่ 0-2141-6254

กรมการพัฒนาชุมชน ได้แก้ไขปัญหาและพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชน อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีเป้าหมายให้ทุกครัวเรือนปฏิบัติให้ได้อย่างน้อย 3 เรื่อง เรื่องแรก คือ ให้ทุกครัวเรือนได้มีความมั่นคงทางอาหาร ด้วยการส่งเสริมการปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ และแปรรูปผลผลิต เพื่อให้ได้อาหารที่สะอาด ปลอดภัย เพียงพอต่อความต้องการ ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น อีกทั้งยังช่วยลดรายจ่าย เพิ่มรายได้ เรื่องที่สอง การสร้างสิ่งแวดล้อมให้ยั่งยืน ด้วยการจัดการขยะมูลฝอยอย่างถูกวิธี มีการจัดสุขลักษณะภายในบ้าน และรู้จักห่วงใยสิ่งแวดล้อมด้วยการรู้จักใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า และเรื่องสุดท้าย คือ การสร้างภูมิคุ้มกันทางสังคม ด้วยการทำครอบครัวให้อบอุ่น ปฏิบัติศาสนกิจ และทำกิจกรรมสาธารณประโยชน์ ซึ่งจะก่อให้เกิดความสามัคคีปรองดองกัน ช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน สามารถเป็นพลังของชุมชนที่เข้มแข็งได้ สามเรื่องนี้ จะทำให้ครัวเรือนมีความมั่นคง พออยู่ พอกิน พอใช้ และพอร่มเย็น พร้อมรับมือกับปัญหาด้านต่าง ๆได้ และที่สำคัญคือ มีการปรับทัศนคติให้ประชาชน ได้เห็นถึงความสำคัญของการศึกษา การได้รับการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพื่อนำความรู้ และคุณธรรม มาเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตนั่นเอง อธิบดี พช. กล่าวทิ้งท้าย