การเข่นฆ่า ทรมาน และดำเนินคดีทางการเมืองโดยชาวพุทธหัวรุนแรง ทำให้ชาวโรฮิงญาในพม่าหลั่งไหลออกไปเป็นจำนวนมาก

ความรุนแรงขั้นเลว ร้ายหลายระลอก รวมทั้งนโยบายการปกครองแบบไม่เป็นธรรม ส่งผลให้ในรอบสองปีที่ผ่านมานี้ชาวโรฮิงญาต้องหนีออกไปจากประเทศที่ประชากร ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธแห่งนี้โดยทางเรือร่วม 100,000 คน ตามข้อมูลของโครงการอาระกัน กลุ่มสิทธิมนุษยชนที่ดูแลชาวโรฮิงญา

(ภาพ) จากภาพวันที่ 28 พฤศจิกายน 2013 ดวงอาทิตย์ตกขณะเรือทอดสมอในแอ่งทะเลนอกหมู่บ้านชอง ทางเหนือของเมืองสิตตเว เมียนม่าร์ โดยที่คริส เลวา ผู้อำนวยการโครงการอาระกันที่ดูแลเรื่องการออกจากประเทศของชาวโรฮิงญามาสิบ ปีระบุว่า ความรุนแรงขั้นเลวร้ายหลายระลอก รวมทั้งนโยบายและแผนที่ไม่เป็นธรรม ส่งผลให้ในรอบสองปีมานี้ ชาวโรฮิงญาต้องหนีออกไปทางเรือร่วม 100,000 คนแล้ว


สิตตเว เมียนม่าร์ – กัปตันเรือหาปลาเล็กๆ ลำนี้ ใช้เวลาส่วนใหญ่ในชีวิตของเขาไปในการช่วยเหลือชาวมุสลิมโรฮิงญาหลบหนีการ ดำเนินคดีและความเกลียดชังในเมียนม่าร์ แต่ปัจจุบันแม้แต่ตัวเขาเองก็มีความกังวลเกี่ยวกับอัตราการหลั่งไหลออกไป อย่างน่าตระหนกที่เกิดขึ้นในช่วงหลายสัปดาห์นี้

“ตอนนี้ทุกคนกำลังไป” ปูตัน เนีย กล่าว “ผมกลัวว่าในไม่ช้า จะไม่มีเหลือสักคน”

ความรุนแรงขั้นเลวร้ายหลายระลอก รวมทั้งนโยบายการปกครองแบบไม่เป็นธรรม ได้ส่งผลให้ชาวโรฮิงญาร่วม 100,000 คน ต้องหนีออกไปจากประเทศที่ชนส่วนใหญ่เป็นชาวพุทธแห่งนี้โดยทางเรือในเวลาสอง ปีมานี้ ตามข้อมูลของโครงการอาระกันกลุ่มสิทธิมนุษยชนที่เฝ้าดูแลเรื่องชาวโรฮิงญา ผอ.คริส เลวา กล่าวว่า จำนวนนี้กำลังเพิ่มขึ้น โดยมีผู้เดินทางออกไปตั้งแต่วันที่ 15 ตุลาคม มากกว่า 15,000 คนแล้ว ซึ่งเป็นสองเท่าของจำนวนผู้ที่หนีออกไปในช่วงเวลาเดียวกันนี้ของปีที่แล้ว

เลวากล่าวว่า ทหารและหน่วยพิทักษ์ชายแดนในรัฐยะไข่ทางภาคเหนือ ซึ่งชาวโรฮิงญาอาศัยอยู่ประมาณ 1.3 ล้านคน กำลังเข้าร่วมในการ “รณรงค์สร้างความหวาดกลัวและทำให้พวกเขาออกไป”

เธอกล่าวว่า ในช่วงหกสัปดาห์ที่ผ่านมานี้ :

– ชายชาวโรฮิงญาอย่างน้อยสี่คนถูกทรมานจนตายทางเหนือของยะไข่ ในภาคตะวันตกของเมียนม่าร์ เลวากล่าวว่า เจ้าหน้าที่รักษาความมั่นคงได้หักขาของเหยื่อคนหนึ่งและเผาอวัยวะเพศของเขา ขณะทำการสอบสวน และพบร่างที่ถูกทุบตีของชาวโรฮิงญาอีกคนหนึ่งในแม่น้ำ

– คนหนุ่มถูกหน่วยพิทักษ์ชายแดนและทหารรวบตัวออกจากถนนแล้วทุบตีอย่างทารุณโดย ไม่มีคำอธิบายที่ชัดแจ้งแต่อย่างใด มีภาพหนึ่งที่ถ่ายจากโทรศัพท์มือถือแสดงภาพชายคนหนึ่งหลังจากถูกฟาดด้วยด้าม ปืนที่กราม โหนกแก้ม และท้อง

– มีผู้ถูกจับกุมมากกว่า 140 คนในยี่สิบสี่หมู่บ้าน ด้วยข้อหาที่เลวากล่าวว่าเห็นได้ชัดว่ากุขึ้น ซึ่งมีตั้งแต่ฝ่าฝืนกฎหมายเข้าเมืองไปจนถึงข้อกล่าวหาว่ามีความเชื่อมโยงกับ กลุ่มนักรบมุสลิมหัวรุนแรง

นายเยทุ๊ต รัฐมตรีกระทรวงข่าวสาร ไม่ได้แสดงการตอบรับต่อการกล่าวอ้างเหล่านี้ในทันที

Myanmar-Forced-Exodus_Muha-1(ภาพ) จากภาพวันที่ 19 มิถุนายน 2014, ชาบู คุนา(ซ้าย) และแม่ของเธอ รอกิมา คาตู(ขวา) และพ่อ ฮาบี บุลลอฮ์(กลาง) ที่บ้านของพวกเขาในหมู่บ้านมินลุ๊ต ทางใต้ของมองดอว์ ชาวโรฮิงญาในเมียนม่าร์ประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์อาศัยอยู่ทางตอนเหนือของยะไข่ ซึ่งตั้งอยู่ตามแนวชายฝั่งของอ่าวเบงกอล ถูกตัดออกจากส่วนที่เหลือของประเทศโดยเทือกเขาลูกหนึ่ง หน่วยรักษาความมั่นคงได้ปฏิบัติการในดินแดนแห่งนี้มาเป็นเวลาหลายทศวรรษโดย แทบจะไม่ได้รับโทษแต่อย่างใด ความเกลียดชังอย่างลึกซึ้งที่พวกเขามีต่อสมาชิกต่างศาสนาชนกลุ่มน้อยนี้ สามารถเห็นได้อย่างชัดเจน มันเป็นบางอย่างที่ชาบู คุนา ซึ่งอายุเพียง 23 ปี สัมผัสอยู่ทุกวัน

 

ด้วยเหตุที่กฎหมายแห่งชาติปฏิเสธไม่ให้สัญชาติ ชาวโรฮิงญาในเมียนม่าร์จึงเป็นคนไม่มีชาติ แม้ว่าบันทึกทางประวัติศาสตร์จะแสดงว่าสมาชิกบางคนของชนกลุ่มน้อยนี้ได้เข้า มาในประเทศเมื่อหลายศตวรรษที่แล้ว อีกจำนวนมากเข้ามาจากบังกลาเทศประเทศเพื่อนบ้านในช่วงปี 1900 เมื่อประเทศอยู่ภายใต้การปกครองของอังกฤษ พวกเขาเกือบทั้งหมดตั้งรกรากอยู่ในรัฐยะไข่ สร้างความตึงเครียดให้กับชาวพุทธพื้นเมืองที่ถือว่าเป็นหน้าที่ที่พวกเขา ต้องขัดขวางไม่ให้อิสลามเผยแพร่ไปทางตะวันออกเข้าสู่ชาติของพวกตน

ไม่นานหลังจากเมียนม่าร์เริ่มเปลี่ยนแปลงจาก ระบอบเผด็จการครึ่งศตวรรษมาสู่ระบอบประชาธิปไตยในปี 2011 เสรีภาพในการแสดงออกทางความคิดที่เพิ่งค้นพบได้โหมกระพือเปลวไฟแห่งความ เกลียดชัง ความรุนแรงโดยกลุ่มชาวพุทธทำให้มีผู้เสียชีวิตถึง 280 คน ส่วนใหญ่เป็นชนกลุ่มน้อยต่างศาสนา และได้ขับไล่พวกเขาออกไปจากบ้านอีก 140,000 คน

ปัจจุบันชาวโรฮิงญาส่วนใหญ่อาศัยอยู่ในค่ายนอก เมืองสิตตเวหรือในหมู่บ้านที่ถูกจำกัดเขตด้วยสภาพที่เหมือนถูกแบ่งแยกชนชาติ พวกเขาออกไปไหนไม่ได้หากไม่จ่ายสินบนเป็นกอบเป็นกำให้กับตำรวจ และต้องเผชิญกับภัยคุกคามของความรุนแรงจากเพื่อนบ้านชาวพุทธในยะไข่อยู่เสมอ

ฮิวโก สลิม จากมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ด กล่าวในรายงานที่ส่งให้สำนักงานเพื่อการประสานงานด้านมนุษยธรรมแห่ง สหประชาชาติว่า พวกเขาอยู่ใกล้บ้านเดิมในระยะ “สั้นจนน่าทรมานใจ” หลายคนอยู่ห่างเพียงไม่กี่ร้อยเมตรจากทุ่งนาที่พวกเขาเคยเพาะปลูก จากโรงเรียนที่เคยส่งลูกๆ ไปเรียน และจากชุมชนที่โจมตีพวกเขา

ชาวโรฮิงญาเข้าถึงการศึกษาและสาธารณสุขอย่าง จำกัด องค์กรแพทย์ไร้พรมแดนซึ่งเป็นผู้ให้การรักษาพยาบาลหลักของชาวโรฮิงญาถูกขับ ไล่ออกจากยะไข่เมื่อแปดเดือนที่แล้วหลังจากรัฐบาลกล่าวหาว่าองค์กรนี้มีความ เอนเอียง รัฐบาลกล่าวเมื่อเดือนกรกฎาคมว่าพวกเขาสามารถกลับมาได้ แต่ยังไม่มีการเชิญตามความเหมาะสม นายวินเมียง โฆษกรัฐยะไข่กล่าวว่า องค์กรนี้จะได้รับอนุญาตให้กลับเข้ามา “เร็วๆ นี้” แต่ไม่ได้ระบุเวลาที่ชัดเจน

ประธานาธิบดีบารัค โอบาม่า, นายบันคีมุน เลขาธิการสหประชาชาติ และบุคคลสำคัญอื่นๆ อีกหลายคนที่มาเยือนเมียนม่าร์สัปดาห์ที่แล้วเพื่อร่วมการประชุมต่างๆ ได้เรียกร้องให้รัฐบาลแก้ไขวิกฤตการณ์นี้ รัฐบาลได้เสนอ “แผนการดำเนินการรัฐยะไข่” แต่ได้รับเสียงวิพากษ์วิจารณ์เช่นกัน

ภายใต้แผนดังกล่าว ผู้ที่สามารถพิสูจน์ได้ว่าอาศัยอยู่ในประเทศมาตั้งแต่ปี 1948 เท่านั้นที่สามารถได้รับสัญชาติ มีไม่กี่คนทำได้ตามข้อกำหนดนี้เพราะพวกเขามีเอกสารบางอย่าง ส่วนผู้ที่ไม่มีคุณสมบัติจะถูกแยกไปว่าเป็น “ชาวเบงคลี” เป็นคำที่แสดงความหมายว่าพวกเขาเป็นผู้อพยพผิดกฎหมาย และสามารถนำพวกเขาไปยังค่ายกักตัว และเนรเทศออกไปในที่สุด

ปัจจุบันชาวโรฮิงญากำลังออกจากประเทศนี้ไปใน จำนวนนวนที่ไม่ค่อยได้เห็นมาก่อน โดยมุ่งหน้าไปยังประเทศต่างๆ เช่นมาเลเซียและอินโดนีเซีย หลายคนผ่านไปทางหมู่บ้านมินลุ๊ต ที่พวกเขาเคยซ่อนตัวอยู่ในบ้านก่อนจะลุยน้ำตอนเที่ยงคืนมาขึ้นเรือประมง

ชาบู คุนา วัย 23 เฝ้ามองชาวโรฮิงยาจากทั่วทุกแห่งในรัฐยะไข่ออกเดินทางจากกระท่อมมืดๆ หลังเล็กๆ ที่เธออาศัยอยู่กับแม่ที่ป่วยไข้ พ่อที่ตกงาน น้องสาวน้องชาย และหลานสาวหลานชายอีกหลายคน เธอจึงตัดสินใจเดินทางร่วมกับพวกเขา

“ฉันไม่สามารถทนอยู่ที่นี่ได้อีกแล้ว” เธอบอกก่อนออกเดินทางในเดือนกันยายน เธอรู้ว่ามันเสี่ยง เธออาจจะถูกจับตัวไปเรียกค่าไถ่ในค่ายกลางป่า ถูกขายเข้าตลาดค้ากาม หรือถูกตีถูกฆ่า แต่ทว่าไม่มีอะไรจะเลวร้ายไปกว่าการยังอยู่ในเมียนม่าร์ได้อีก

การหลั่งไหลออกไปอย่างมากมาย ทำให้ปูตัน เนีย กัปตันเรือมีความเสียใจและรู้สึกผิด ทั้งจากจำนวนชาวโรฮิงญาที่จากไปและจากการวิธีการปฏิบัติที่พวกเขาต้องพบใน ทะเล ชายวัย 59 ปีผู้นี้เป็นหนึ่งในจำนวนกัปตันเรือหลายคนที่ขนส่งชาวโรฮิงญาจากชายหาดของ รัฐยะไข่ไปยังเรือใหญ่ที่ลอยลำอยู่ในอ่าวเบงกอล

เพื่อนบ้านคนหนึ่งของปูตันเนียได้ออกเดินทาง และบอกกับเขาในภายหลังว่า นายหน้าได้ทำการข่มขืนผู้หญิงคนเรือขนส่งสินค้าลำใหญ่และทุบตีผู้ชายอย่าง โหดเหี้ยม

“ผมรู้สึกรังเกียจ” กัปตันกล่าว เขาหยุดขนคนไปขึ้นเรือใหญ่แล้วขณะที่จำนวนคนเริ่มมากจนล้นเมื่อหลายเดือน ก่อน ถึงแม้ว่ามันจะเป็นรายได้เพียงทางเดียวของเขาก็ตาม

เขาเข้าใจว่าทำไมคนจึงหนีออกไปมากมายขนาดนี้ และบอกว่าตัวเขา ภรรยา และลูกชาย อาจจะตามไปในวันหนึ่ง เขาบอกว่า การออกเดินทางไปในแต่ละครั้ง ทำให้ผู้ที่ถูกทิ้งไว้ข้างหลังอ่อนแอลงทุกที

“ผมไม่รู้ว่าเราจะยืนอยู่ด้วยตัวเองอย่างไร” เขากล่าว

แปล/เรียบเรียง: เยาฮาเราะห์ ยอมใหญ่ โต๊ะข่าวต่างประเทศ
ที่มา http://www.mintpressnews.com/