“เข็มเหล็ก” จัดสัมมนาแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ชูนวัตกรรมตอบโจทย์มุ่งสู่สังคมคาร์บอนต่ำ พร้อมประกาศจัดงานใหญ่ “88 Green Day”
ในยุคที่การพัฒนาอย่างยั่งยืนเป็นหัวใจหลักของทุกภาคอุตสาหกรรม บริษัท เข็มเหล็ก จํากัด ก้าวสู่การขับเคลื่อนธุรกิจอย่างยั่งยืนผ่านแนวคิด “Green Construction Technology” ส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในการก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม จัดงานสัมมนา GREEN CONSTRUCTION TECHNOLOGY FOR LOW CARBON SOCIETY ภายในงานวิศวกรรมแห่งชาติ 2567 (International Engineering Expo 2024) พร้อมประกาศจัดงานใหญ่ “88 Green Day” ในวันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม 2567 ณ The Banquet Hall at Nathong
สัมมนาครั้งนี้เป็นการรวมตัวของผู้เชี่ยวชาญจากหลากหลายสาขา ทั้งวิศวกรรม สถาปัตยกรรม กลุ่มเครือข่ายนวัตกรรมวัสดุก่อสร้าง ที่มาร่วมแบ่งปันองค์ความรู้ด้านการก่อสร้างที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม มุ่งเน้นการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ และเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรอย่างยั่งยืน ผู้เข้าร่วมสัมมนาในครั้งนี้ต่างให้ความเห็นไปในทิศทางเดียวกัน โดย ดุ๊ก-ภาณุเดช วัฒนสุชาติ กล่าวถึง ความสำคัญของการก่อสร้างที่เป็นป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมในปัจจุบันว่า ตนเองทำงานเกี่ยวกับการแต่งบ้าน ทำสวนมาโดยตลอด แต่ก็ไม่ได้ตระหนักว่าสิ่งที่ทำกระทบกับสิ่งแวดล้อมอย่างไร แต่เมื่อได้รู้จักกับเข็มเหล็ก ได้เรียนรู้ ได้เข้าใจผลกระทบในมิติต่างๆ โดยเฉพาะภาวะที่โลกร้อนขึ้น ทำให้รู้สึกว่าการใช้ชีวิตยากขึ้น แต่เราสามารถช่วยกันรักษ์โลกได้หลายวิธี เช่น การเลือกใช้พลังงานสะอาด พลังงานจากธรรมชาติ นวัตกรรมที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ยกตัวอย่าง การเลือกใช้ผลิตภัณฑ์ทางเข็มเหล็ก ไม่ว่าจะเป็นการติดตั้งเสาเข็ม ค้ำยันต้นไม้ สามารถช่วยลดการปล่อยคาร์บอน ไร้กังวลเรื่องมลภาวะทางเสียง เรื่องฝุ่นที่เกิดขึ้นในการก่อสร้าง ซึ่งเข็มเหล็กตอบโจทย์ประเด็นสำคัญนี้
ด้าน รศ.ดร.สราวุธ จริตงาม ประธานหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวิศวกรรมโยธา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ กล่าวถึง ความสำคัญของ Green Foundation For Green Construction ว่า การนำวัสดุกลับมาใช้ใหม่ในการก่อสร้าง เพื่อสร้างการก่อสร้างสีเขียว อะไรที่สามารถนำมาใช้ซ้ำได้เรียกว่าเป็นประโยชน์ โครงสร้างเข็มเหล็กใช้ซ้ำได้อยู่ได้นาน เป็นวัสดุที่ปลอดภัยเพราะแข็งแรง ติดตั้งได้ง่าย เข็มเหล็กได้เปรียบจากการติดตั้ง ด้วยตัววัสดุสามารถงอได้ ติดตั้งได้ทุกพื้นที่ทั้งทางแคบ พื้นที่น้อย ได้ทุกองศา ทุกมุม ตอบโจทย์ทั้งด้านการ Reuse และ Remove เคลื่อนย้ายไปติดตั้งที่ไหนก็ได้ ย้ายไปค้ำตรงไหนก็ทำได้ ผลิตภัณฑ์เข็มเหล็กจึงตอบโจทย์เรื่อง Green Construction เป็นวัสดุ “รักษ์โลก”
รศ.ดร.พรเทพ เหมือนพงษ์ อาจารย์ประจำภาควิชาวนวัฒนวิทยา คณะวนศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาตร์ ผู้มีประสบการณ์ในการดูแลและอนุรักษ์ต้นไม้ในพื้นที่ก่อสร้าง กล่าวว่า ความสำคัญของการเปลี่ยนการค้ำยันต้นไม้จากแบบเดิมที่ใช้ไม้ง่ายๆ ใช้เหล็กทั่วไป หรือใช้ปูนเทเพื่อค้ำยัน วัสดุเหล่านี้มีอายุการใช้งานที่สั้น เสื่อมสภาพเร็ว จนได้มาทำวิจัยกับทางเข็มเหล็ก เห็นได้ชัดว่างานก่อสร้างในบ้านเรามักไม่ค่อยระมัดระวังการรักษาต้นไม้เท่าที่ควร ต้นไม้มักจะเป็นสิ่งสุดท้ายที่ถูกคำนึงถึง ไม่ว่าจะการตั้งแคมป์คนงาน การเอาปูนไปเท เมื่อก่อสร้างเสร็จต้นไม้ก็ตาย เราจึงพยายามมองหาสิ่งที่ไม่สร้างผลกระทบกับธรรมชาติและต้นไม้ ซึ่งเข็มเหล็กตอบโจทย์ตรงนี้ด้วยงานวิจัยต่าง ๆ ที่กำลังร่วมกันพัฒนาในด้านของต้นไม้ คือ รุกขวิศวกรรม ซึ่งการสร้างพื้นที่สีเขียวกับการก่อสร้างมีความสำคัญ หากในเมืองมีพื้นที่สีเขียวน้อยลง กลายเป็นชุมชนก็จะเกิดผลกระทบในเชิงสิ่งแวดล้อมตามมา เราจึงพยายามร่วมกับเข็มเหล็กช่วยกันสร้างและรักษาพื้นที่สีเขียวให้เพิ่มขึ้น
ทั้งนี้ นายปวรุตม์ ธรรมมนุญกุล ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาด บริษัท เข็มเหล็ก จำกัด กล่าวถึงมุมมองของผู้ประกอบการด้านความท้าทายและโอกาสในการนำเทคโนโลยีการก่อสร้างสีเขียวมาใช้ว่า เข็มเหล็กเป็นส่วนหนึ่งในวงการก่อสร้าง เป็นจิ๊กซอว์เล็ก ๆ ที่กำลังพยายามอย่างเต็มที่ โดยเน้นการจัดการระบบการก่อสร้างใช้เทคโนโลยีเป็นสิ่งสำคัญในการช่วยลดขั้นตอนการก่อสร้าง ลดวิธีการ และลดมลภาวะ เข็มเหล็กให้ความสำคัญกับคุณภาพ ความคุ้มค่าของลูกค้าผ่านการวิจัย พัฒนาอย่างต่อเนื่อง นำเทคโนโลยีการก่อสร้างสีเขียว ซึ่งเป็นเทคนิคและนวัตกรรมที่ใช้ในการก่อสร้างที่มุ่งเน้นการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ลดการใช้ทรัพยากรและวัสดุก่อสร้างอย่างคุ้มค่า รวมถึงลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนและเพิ่มประสิทธิภาพในการก่อสร้าง เพื่อความยั่งยืนอย่างเป็นรูปธรรมด้วยการพัฒนาผลิตภัณฑ์เข็มเหล็กให้ตอบโจทย์เรื่อง Reuse และ Recycle ไม่ได้มองแค่ตัววัสดุอย่างเดียว แต่มองไปถึงการ Re-engineering ใหม่ เอาอาคารเก่ามาทำใหม่ได้ โดยที่ไม่สร้างมลภาวะ ลดขยะจากการก่อสร้าง
ด้าน นายประเสริฐ ธรรมมนุญกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท เข็มเหล็ก จำกัด กล่าวเสริมว่า เข็มเหล็กจัดงานสัมมนานี้ขึ้น ส่วนหนึ่งเป็นงานรุกขวิศวกรรม เป็นการทำงานร่วมกันของรุกขกร วิศวกร และผู้ออกแบบด้านศิลปะตกแต่ง เพื่อผลักดันให้เกิดงานก่อสร้างที่เรียกว่า Green Construction โดยการใช้การก่อสร้างรักษาและสร้างพื้นที่สีเขียวไปพร้อมกับลดการปลดปล่อยคาร์บอน เพราะการก่อสร้างทั้งหมดมีการปลดปล่อยคาร์บอนจำนวนมาก หากสามารถลดการปลดปล่อยคาร์บอนได้ก็แปลว่าเราก็ช่วยรักษาโลกใบนี้มากขึ้น
“นอกจากการสัมมนาในวันนี้แล้ว เข็มเหล็กกำลังจะจัดงาน “88 Green Day by KEMREX” รวมพลคนทํางานก่อสร้าง ตั้งแต่สถาปนิก วิศวกร คณาจารย์ตามมหาวิทยาลัยต่าง ๆ นักธุรกิจ ตลอดจนผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับวงการก่อสร้างมาเจอกัน เพื่อสร้างสิ่งดี ๆ ในการที่จะช่วยกันพัฒนาให้เกิดสินค้าที่ลดการปลดปล่อยคาร์บอน หรือสร้างสังคมใหม่ขึ้นมาเรียกว่า Low Carbon Society เพราะวงการก่อสร้างมีการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนถึง 30% ของทั้งหมด นับว่าเป็นจำนวนที่มาก เราจึงอยากเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยโลกใบนี้ ขอเชิญชวนท่านที่สนใจเข้าร่วมงาน 88 Green Day ในวันพฤหัสบดีที่ 8 สิงหาคม 2567 เวลา 15.00 – 22.00 น. ณ The Banquet Hall at Nathong สามารถลงทะเบียนเข้าร่วมงานล่วงหน้าที่เว็บไซต์เข็มเหล็ก www.kemrex.com เชิญชวนทุกท่านมารวมพลังกันเพื่อสร้างสังคมงานก่อสร้างสีเขียวหรือ Green Construction ด้วยกันนะครับ” นายประเสริฐกล่าวเชิญชวน