ทำไมทหารต้องมาเยี่ยม สื่ออย่างมีเดียสลาตัน ทั้งๆที่สื่อชายแดนใต้มีมากมาย

โดย : อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์  (อับดุลสุโก  ดินอะ)
กรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้, อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยทักษิณ, ผู้ช่วยผู้จัดการโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ อ.จะนะ จ.สงขลา
Shukur2004@chaiyo.com, http://www.oknation.net/blog/shukur

 

ด้วย พระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสนฑูตมุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

16 เมษายน 2557  เวลา 10.00 น. พ.อ.เฉลิมชัย สุทธินวล สำนักมวลชนและกิจการพิเศษ กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) ในฐานะตัวแทนของแม่ทัพภาคที่ 4 และคณะ ได้เดินทางไปเยี่ยมเยียนสถานีวิทยุมีเดียสลาตัน (Media Selatan)    ณ สำนักงานที่ ถ.ยะรัง อ.เมือง จ.ปัตตานี โดยมีนายแวหามะ แวกือจิก ผู้อำนวยการสถานี เจ้าหน้าที่และภาคีเครือข่ายให้การต้อนรับ การพบปะใช้เวลา 45 นาที

พ.อ.เฉลิม ชัย    สุทธินวล กล่าวระหว่างการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่สถานีว่า ตนต้องการทำความรู้จักมีเดียสลาตันซึ่งเป็นสื่อที่ทำงานในพื้นที่และทำงาน กับประชาชน เฉพาะในเรื่องการสร้างสันติภาพ สันติสุข ให้เกิดขึ้นในพื้นที่ และการเยี่ยมเยียนหนนี้เป็นดำริของแม่ทัพภาคที่ 4 คนใหม่ที่ต้องการให้ไปพบปะกับสื่อโดยเฉพาะสถานีวิทยุ และจะนำสิ่งที่ได้จากพูดคุยไปรายงานให้แม่ทัพรับทราบในคืนนี้

พ.อ.เฉลิมชัย สุทธินวล กล่าวด้วยว่า ทางเจ้าหน้าที่ กอ.รมน.ภาค 4 สน. มีความประสงค์ที่จะส่งเจ้าหน้าที่ไปจัดรายการส่งเสริมสุขภาพเพื่อออกอากาศ ทางสถานีวิทยุมีเดียสลาตันด้วย โดยจะให้เจ้าหน้าที่จากกรมแพทย์ทหารบกเป็นผู้จัด จะให้ออกอากาศทุกๆวันจันทร์ เวลา 15.00-16.00 น.

ผู้ เขียนในฐานะประชาชนคนหนึ่งและเคยแสดงความคิดเห็นตรงไปตรงมาเหมือนผู้จัด รายการและประชาชนในพื้นที่อีกหลายท่านรู้สึกว่า  หน่วยความมั่นคงที่มาจำนวนมากกำลังคิดอะไรอยู่กับสถานีแห่งนี้ ซึ่งผิดวิสัยที่จะมาเยี่ยม

ถึงแม้  พ.อ.เฉลิมชัย สุทธินวล กล่าวระหว่างการพูดคุยกับเจ้าหน้าที่สถานีว่า ตนต้องการทำความรู้จักมีเดียสลาตันซึ่งเป็นสื่อที่ทำงานในพื้นที่และทำงาน กับประชาชน เฉพาะในเรื่องการสร้างสันติภาพ สันติสุข ให้เกิดขึ้นในพื้นที่ และการเยี่ยมเยียนหนนี้เป็นดำริของแม่ทัพภาคที่ 4 คนใหม่ที่ต้องการให้ไปพบปะกับสื่อโดยเฉพาะสถานีวิทยุ และจะนำสิ่งที่ได้จากพูดคุยไปรายงานให้แม่ทัพรับทราบในคืนนี้

ยิ่ง ทางหน่วยความมั่นคง มีความประสงค์ที่จะส่งเจ้าหน้าที่ไปจัดรายการส่งเสริมสุขภาพเพื่อออกอากาศ ทางสถานีวิทยุมีเดียสลาตันด้วย โดยจะให้เจ้าหน้าที่จากกรมแพทย์ทหารบกเป็นผู้จัด จะให้ออกอากาศทุกๆวันจันทร์ เวลา 15.00-16.00 น.ยิ่งทำให้ทางสถานีอาจมีความกังวลถึงแม้จะตอบรัให้จัดซึ่งหน่วยความมั่นคง ก็มีสถานีตัวเองและเครือข่ายอยู่แล้ว

ยิ่ง เหตุผลว่า “ความประสงค์ของเจ้าหน้าที่อีกประการหนึ่งคือการส่งเสริมการมีส่วนรวมของ ประชาชน โดยเฉพาะการสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในพื้นที่ ซึ่งสถานีวิทยุเป็นช่องทางหนึ่งที่สามารถลดความหวาดระแวงของคนในพื้นที่ ฉะนั้นเราจำเป็นที่จะต้องให้ความสำคัญกับสถานีวิทยุในพื้นที่…. การทำงานของมีเดียสลาตันในอันที่จะช่วยเหลือพี่น้องประชาชน เป็นวัตถุประสงค์เดียวกันกับของเจ้าหน้าที่ เป็นสิ่งที่จะส่งผลให้สันติภาพ สันติสุขในพื้นที่”

ถึง แม้ด้านนายแวหามะ แวกือจิ ผู้อำนวยการสถานีวิทยุมีเดียสลาตัน กล่าวว่า สิ่งที่สถานีวิทยุมีเดียสลาตันยังขาดและจำเป็นที่จะต้องเติมเต็ม ก็คือ ความร่วมมือของเจ้าหน้าที่ความมั่นคง โดยเฉพาะด้านข้อมูลข่าวสาร“สิ่งที่ทางสถานีอยากเห็นมากที่สุด คือการที่เจ้าหน้าที่ของกองทัพภาคที่ 4 หรือกอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้าให้สัมภาษณ์ออกอากาศในรายการของสถานีในจังหวะและเวลาที่มีเรื่องราว เกี่ยวข้องต้องนำเสนอ เพื่อสร้างความเข้าใจในเรื่องนั้นๆ” แต่เป็นการให้สัมภาษณ์ไม่ใช่มาจัดรายการเอง

คำ สัมภาษณ์ของนายแวหามะ แวกือจิ ผู้อำนวยการสถานีวิทยุมีเดียสลาตัน น่าจะยืนยันว่าเป็นสื่อกลางนั้นสำคัญแต่ควรอยู่ภายใต้ผังรายการของสถานีซึ่ง ท่านกล่าวภายหลังด้วยว่า “การเปิดพื้นที่ให้กับการสื่อสารของทางราชการ เป็นเรื่องที่มีเดียสลาตันต้องการดำเนินการมานานแล้ว แต่ในฐานะที่เป็นสื่อมวลชน การนำเสนอต้องดำเนินการภายใต้กรอบที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้รับสาร และรูปแบบต้องสอดคล้องกับลักษณะเฉพาะของสถานี ซึ่งตนก็มีความเชื่อว่า เรื่องนี้ทางเจ้าหน้าที่เข้าใจและจะสนับสนุนสถานีมีเดียสลาตันเพราะนั่นคือ หนทางในการสร้างความเข้าใจและแก้ปัญหาที่จะยั่งยืน

ที่ สำคัญที่สุดสื่ออย่างมีเดียสลาตันต้องไม่ถูกแทรกแซง  และการมาเยี่ยมครั้งนี้สำหรับผู้เขียนแล้วมันมีนัยยะสำคัญที่อาจจะทำให้ มีเดียสลาตันอาจจะต้องระวังมากขึ้นในการนำเสนอ

s1

+++หมายเหตุ

ก่อนจะมาเป็นสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกันสลาตัน

ก่อน จะมาเป็นสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกันสลาตันมีจุดเริ่มต้นมาจากเมื่อปีพ.ศ 2546 สำนักข่าวไอเอ็นเอ็น (INN) ได้เข้าร่วมทุนกับสหกรณ์ออมทรัพย์อิสลามปัตตานี เพื่อเปิดรายการร่วมด้วยช่วยกันในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้โดยเช่าเวลาของ สถานีวิทยุ ม.อ. ปัตตานี ออกอากาศวันละ 2 ชั่วโมง

ต่อ มาวันที่ 1 สิงหาคม พ.ศ 2547 หลังเกิดเหตุไม่สงบแล้ว สำนักข่าวไอเอ็นเอ็นเห็นว่าสื่อจะนำเสนอข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อคนใน พื้นที่ได้จึงขยายให้ครอบคลุมทั้ง 3 จังหวัด และ 4 อำเภอของจังหวัดสงขลาจึงย้ายไปเช่าเวลาของสถานีวิทยุทหาร 3 สถานี โดยมีสถานีวิทยุ กวส7 ยะลาเป็นแม่ข่าย เชื่อมสัญญานไปยังสถานีวิทยุกองทัพภาพ 4 ที่จังหวัดปัตตานีและ กวส.6 ที่จังหวัดนราธิวาส

ภารกิจหลักๆ ของรายการคือลดความหวาดระแวงของคนในพื้นที่ ขจัดความยากจน และลดช่องว่างทางความรู้ที่จะเป็นอุปสรรคต่อพัฒนา

ตอน นั้นได้รับการตอบรับจากประชาชนในพื้นที่เป็นอย่างดีและเป็นรายการวิทยุแห่ง แรกในพื้นที่ที่มีการสื่อสาร 2 ทาง คือเปิดโอกาสให้ประชาชนสามารถโทรศัพท์แสดงความคิดเห็นผ่านทางรายการได้ แทนที่จะให้ผู้ดำเนินรายการพูดอยู่คนเดียว

ขณะ นั้นมีประชาชนสมัครเป็นสมาชิกของรายการ ประมาณ 4,000 คน จุดเด่นของวิทยุร่วมด้วยช่วยกันในตอนนั้นคือการทำหน้าที่ประสานงานระหว่าง หน่วยงานรัฐกับประชาชนในพื้นที่ รวมทั้งถึงประสานภาคธุรกิจกับประชาชนในพื้นที่ด้วย แต่น่าเสียดายเมื่อปี 2552 อุดมการณ์ของสำนักข่าวไอเอ็นเอ็นเปลี่ยนไปเน้นหากำไรมากขึ้น ซึ่งขณะนั้นสถานการณ์ในพื้นที่ไม่เอื้อต่อการทำธุรกิจ รายการนี้จึงยุบไป

จาก นั้น จึงเรียกแกนนำสมาชิกประมาณ 350 คน มาประชุมกันที่จังหวัดยะลา เพื่อชี้แจงถึงความจำเป็นในการยุบรายการ แต่ที่ประชุมมีมติเป็นเอกฉันท์ต้องการให้มีรายการวิทยุร่วมด้วยช่วยกันต่อไป จึงกลายเป็นภาระหนัก ประกอบกับวิทยุชุมชนเกิดขึ้นมาพอดี ทำให้เรามีทางออก จึงตั้งสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกันและเปลี่ยนชื่อเป็น “สถานีวิทยุร่วมด้วย ช่วยกันสลาตัน” โดยตั้งสถานีวิทยุชุมชนครั้งแรกที่จังหวัดยะลา

แต่ วิทยุชุมชนไม่ครอบคลุมพื้นที่ ทำให้คนในจังหวัดปัตตานีบางส่วนไม่สามารถรับฟังได้ จึงแก้ปัญหาโดยเชื่อมสัญญาณกับสถานีวิทยุกองทัพภาค 4 ที่ปัตตานี แต่ไม่สามารถเชื่อมสัญญาณกับสถานีวิทยุ กวส .6 นราธิวาสได้จึงเช่าสัญญาณวิทยุชุมชนในจังหวัดนราธิวาส ทำให้สามารถดำเนินการได้ระดับหนึ่ง

ต่อ มา ปี พ.ศ.2553 ได้ย้ายสถานีแม่ข่ายมาตั้งที่ปัตตานีแล้วเชื่อมสัญญาณไปที่จังหวัดยะลาและ นราธิวาส โดยมีสถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกันสลาตันเป็นแม่ข่ายคลื่น ความถี่ 91.50 MHz

การทำงานของมีเดียสลาตันต้องประคับประคองมาตลอดเนื่องจากมีงบประมาณไม่มาก แต่ทุกคนยึดมั่นในอุดมการณ์ทำให้สามารถอยู่ได้

ต่อ มาปี พ.ศ.2555 ด้วยความประสงค์ของพระเจ้ามีทุนจากต่างประเทศมาสนับสนุนมีเดียสลาตันใน ภารกิจ  2 หลัก คือ หลักธรรมาภิบาลและส่งเสริมประชาธิปไตยพร้อมกับการมีการส่วนร่วมของประชาชน ทำให้มีเดียสลาตันมีสีสันมากขึ้น กลายเป็นสื่อวิทยุที่สำคัญในพื้นที่

หมายเหตุ: ดูรายละเอียดของวิทยุมีเดียสลาตันได้ที่ rdselatan.com