คณะแพทย์ มหาวิทยาลัยมุสลิมอาลิการ์ กับทัศนะบทวิพากษ์ โควิด-19 (ตอนที่ 1)

“โควิด-19” ถือเป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่เข้ามามีบทบาทต่อมวลมนุษย์ชาติในห้วงปี 2019-2020 

กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจะเป็นคนที่มีภูมิต้านทานอ่อนแอ และเป็นโรคประจำตัวแต่การคุกคามนี้ยังส่งผลต่อระบบเศรษฐกิจ การท่องเที่ยว ธุรกิจบริการ หากมองอีกมุมหนึ่งไวรัสนี้ทำให้โลกเหมือนกับว่าได้หยุดพักหายใจ ชั้นบรรยากาศ มลภาวะ คาร์บอนไดออกไซด์ ลดลง ระบบนิเวศหลายพื้นที่ในโลกกลับคืนสู่ปรกติ จากที่มนุษย์สร้างผลเสียต่อธรรมชาติมาอย่างยาวนาน พฤติกรรมของคนที่เปลี่ยนไปความระมัดระวังอาจจะเป็นช่วงที่อยู่ในภาวะรุนแรงและผ่อนปรนลงมาบ้างในช่วงเดือนกรกฏาคมสำหรับกรณีของประเทศไทยที่ผ่านมา และในบางประเทศ 

ในบทความนี้ผู้เขียนอยากจะยกตัวอย่างกรณีโควิด-19 ที่เกิดผลกระทบกับประเทศในเอเชียอย่าง “อินเดีย” ที่ถือว่าเป็นประชากรที่กลุ่มที่ใหญ่มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก 

“อินเดีย” ประเทศที่เรียกได้ว่ามีศักยภาพทางเศรษฐกิจ มีความเป็นชาตินิยมที่เข้มแข็งภายหลังจากได้รับเอกราชจากอังกฤษ การที่อินเดียโดนคุกคามสร้างผลเสียต่อระบบสังคม การใช้ชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะกลุ่มคนที่มีรายได้น้อย ระบบสาธารณสุขที่ยังไม่ได้มาตรฐานและไม่พร้อมต่อการรับมือกับการโหมกระพือของไวรัสโคโรน่า การใช้หน้ากากอนามัยและการล้างมือ จึงเป็นเหมือนกับวิธีเดียวที่ป้องกันการแพร่กระจายที่รัฐบาลประกาศ นับตั้งแตวันที่ 25 มีนาคม 2563 และเพิ่มลำดับการการล็อคดาวน์ครั้งที่สองสามอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ผู้เขียนอย่ากจะยกกรณีศึกษา จากคณะแพทย์ศาสตร์จากมหาวิทยาลัย มุสลิมอาลีการ์ (Aligarh Muslim) ที่ถือเป็นสถาบันการศึกษาที่มีบทบาทสำคัญ โดยมีคณะแพทย์ศาสตร์ Jawaharlal Nehru Medical Collage   ถือเป็นการสร้างงานในเชิงรุกการอุทิศตนเสียสละอย่างหนักเพื่อประชาชนชาวอินเดียที่ประสบเคราะห์กรรมที่ยากลำบาก และได้ให้มุมมองใหม่จากกรณีศึกษาที่เกิดขึ้นอย่างมากมาย ด้วยจำนวนประชากรมหาศาลเป็นบททดสอบที่ผ่านการเรียนรู้จนทำให้อัตราฟื้นฟูของผู้ป่วยในเมือง Aligarh ที่ถูกบันถึกเอาไว้ 71.9% ดีกว่าอัตราเฉลี่ยของประเทศที่ทำไดเพียง 56% จากการมองเชิงบวกของทีมแพทย์ที่ทำงานอย่างไม่เคยย่อท้้อกับผลลัพธ์การเสียชิวตที่น้อย สุขภาพที่ดีขึ้น แนวทางการทำงานเชิงกลยุทธ์ที่ใช้ในโรงพยาบาลที่กระทบกับการระบาดใหญ่และการสร้างความเข้าใจกับสถานการณ์ทั้งหมดที่เกิดขึ้นที่ทีมแพทย์ต้องเผชิญ จำนวนผู้เสียชีวิตที่เกิดขึ้นภายหลังจากไวรัสได้เริ่มระบาด นับตั้งแต่วันที่ 21 เมษายน จนถึง 21 มิถุนายน ในจำนวนนี้เป็น แม่บ้าน ที่ติดจากสามี นักธุรกิจค้าเนื้อที่ต้องพบเจอผู้คนมากมาย  นักเคมี พ่อค้า เป็นบุรุษ 13 คนเป็นสตรี 9 คน โดยคณะทีมแพทย์ที่ให้ความมั่นใจถึงการทำงานและการรักษาแบบถูกต้องและการปฎิบัติต่อผู้เสียชีวิต 

ความสำเร็จจากคณะทีมแพทย์  นวัฒกรรมจากอาลีการ์ มาตรการป้องกันและความสัมพันธ์ทางสังคมเมือง จากความมานะพยายามของทีมหนุ่มสาวในวงการแพทย์และความร่วมมือจากคณะอื่นๆที่เกี่ยวข้อง การใช้นวัฒกรรมที่ส่งผลต่อประโยชน์ สำหรับการป้องกัน Covid 19 การสร้างระบบป้องกันทางเดินหายใจด้วยต้นทุนที่ประหยัด การได้รับความช่วยเหลือจาก คณะวิศวกรรมศาสตร์ และภายหลังจากการผ่อนคลายระยะสั้นๆ การอพยพของนักศึกษาในมหาวิทยาลัย การเดินทางกลับบ้านอย่างปลอดภัย ระบบการบริหารจัดการเพื่อลดความเสี่ยงทำได้ดีกว่าหลายเมืองในรัฐเดียวกัน โดยที่มหาวิทยาลัยได้ใช้หลักการปฎิบัติการกักตัว เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวกและลดภาวะความเสี่ยง หอพัก นักศึกษาชายและหญิงบางพื้นที่ถูกนำมาใช้เป็นที่กักตัวและการดูแลได้อย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้มหาวิทยาลัยได้ทำการปฎิบัติตามบรรทัดฐานทางสังคมอย่างเคร่งครัดการสแกนความร้อน ในทุกประตูของมหาวิทยาลัย ทั้งนี้มหาวิทยาลัยมีเครื่องในการตรวจสอบและแจกจ่ายสารฆ่าเชื้อแอลกอฮอล์ สแกนอุณหภูมิแบบไม่สัมผัสและได้รับการอบรมเจ้าพนักงานในมหาวิทยาลัยเพื่อความรอบคอบในการทำงานเสริมสร้างความปลอดภัย แต่ด้วยจำนวนประชากรที่มาก การใช้ยาต้นทุนในการสร้างยังคงเป็นปัญหาในการเข้าถึงแหล่งชุมชน เพราะจากการศึกษารายงานข่าวจากประเทศอินเดียด้วยประชากรที่มาก ด้วยผู้ป่วยในระยะต่างๆจาก จำนวน 30% และสูงถึง 70% เป็นเพราะความกังวลในการระบาดจนทำให้ทีมแพทย์ทุ่มเทเล็งเห็นความสำคัญของโรคนี้มากกว่าสิ่งอื่นถือเป็นสิ่งสำคัญ นอกจากนี้แล้วความวิตกกังวลถือเป็นปัญหาทางกายภาพกับจำนวนประชากรที่มากมหาศาล เฉพาะเมืองเดียวมากระดับล้านคน ด้วยการควบคุมที่ยากและบางเมืองนอกจากอาลีการ์ ยังเป็นกระแสการต่อต้าน ไม่รับรู้ เพราะการควบคุมจะทำให้ผู้คนต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม แม้ว่าหน่วยงานกรมตำรวจจะใช้วิธีปรับหนักถึงขั้นจำคุกผู้ฝ่าฝืนมาตการล็อคดาวน์เพื่อให้ประชาชนปฎิบัติได้อย่างเคร่งครัดและตามความเหมาะสม แต่การปฎิบัติที่เป็นต้นแบบจากอาลีการ์ การปรับหอพักเพื่อความพอเพียงต่อผู้ป่วย แม้ว่าผู้คนอินเดียยังมีอีกมากที่ยังไม่เข้าอกเข้าใจที่ประเทศกำลังเผชิญอยู่ การติดต่อกับแพทย์พยาบาลโดยผ่านทาง โทรศัพ ท์ แอพลิเคชั่น ถือเป็นความยากลำบาก ด้วยจำนวนประชากรที่มากแต่ด้วยจิตวิญญาณของแพทย์จะพยายามทำให้ผู้ป่วยรับรู้ว่าเขามิได้ถูกทอดทิ้ง ผู้ป่วยจะได้รับการรักษาอย่างเหมาะสมและถือเป็นเรื่องที่น่ายินดี กับการทำงานระดับที่เรียกว่าการอุทิศตนเพื่อให้ประชาชนได้รับการดูแล รอวันที่สถานการณ์จะกลับไปสู่ภาวะปรกติ ในส่วนของผู้เสียชีวิตถูกจัดการปฎิบัติอย่างถูกต้อง นับเป็นมุมมองใหม่ที่มาจากทีมแพทย์เพื่อก่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ชัดเจนและขอพระผู้เป็นเจ้าปกป้องคุ้มครอง 

(อ่านต่อตอนหน้า)

** อ้างอิง จาก Dr Rahman, S.Z & Saif Khan, S Department of Pharmacology, J N Medical College, Aligarh Muslim University