ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเมตตากรุณาเสมอขอความสันติสุขจงมีแด่ศาสนทูตมุฮัมมัดและผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีแด่ผู้อ่านทุกท่าน
เมื่อ 25 ตุลาคม 2558 มีเวทีคนนอกที่ไม่ใช่ญาติผู้ตายจัดเวทีรำลึก 11 ปีโศกนาตฏกรรมตากใบ อย่างน้อย 2 เวทีใหญ่คือที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ในหัวข้อ“ตากใบ” กับความลักลั่นบนเส้นทางกระบวนการสันติภาพ(ผู้เขียนร่วมด้วย)และที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในหัวข้อ 11 ปีตากใบ ความจริงที่สูญเปล่าความหวังชะตากรรมสันติภาพปาตานี
ใกล้เข้ามาแล้ววันครบรอบ 11 ปี เหตุการณ์โศกนาฏกรรมตากใบ คำถามคือทำไมต้องรำลึกถึงโศกนาฏกรรมตากใบด้วย
คำถามจากฝ่ายรัฐหรือคนเห็นด้วยกับรัฐ ว่าทำให้สังคมนึกถึงความเจ็บปวด เหมือนเป็นปลุกระดมประชาชนให้ต่อต้านรัฐ แค้นรัฐ ทำลายบรรยากาศกระบวนการสันติภาพ ที่สำคัญญาติยอมแล้ว คนไม่ใช่ญาติจัดทำไมทำลายความปรองดองคนในชาติ หรือนักเข้ากล่าวหาผู้จัด เป็นปีกการเมืองของขบวนการแบ่งแยกดินแดน/ขบวนการปลดปล่อยเอกราชปาตานี หรือแนวร่วมมุมกลับของขบวนการแบ่งแยกดินแดน /ขบวนการปลดปล่อยเอกราชปาตานี
ข้อกล่าวหาเหล่านั้นจริงหรือไม่ผู้อ่านสามารถคิดได้เป็นสิทธิของผู้อ่าน แต่เมื่อดูหัวข้ออภิปราย/เสวนา “ตากใบ” กับความลักลั่นบนเส้นทางกระบวนการสันติภาพ จัดโดยเครือข่ายภาคประชาสังคมเพื่อสันติภาพปาตานี (คปส.) เพื่อสร้างความตระหนักต่อบทเรียนการสูญเสียของประชาชนที่เลือกวิธีการทางการเมืองในแนวทางสันติวิธี โดยเฉพาะในกรณีตากใบ ว่าอะไรคือตัวแปรสำคัญที่ทำให้เหตุการณ์ตากใบเกิดขึ้นได้ และเป็นการเพื่อร่วมกันรณรงค์สร้างกำลังใจและความเชื่อมั่นของประชาชนต่อวิธีการทางการเมืองในแนวทางสันติวิธี ว่าเป็นทางออกของความขัดแย้งที่ดีที่สุดภายในงาน จะมีการกล่าวปาฐกถาจากผู้ทรงคุณวุฒิและเสวนาฯโดยทนายอับดุลกอฮาร์ อาแวปูเตะ ผู้อำนวยการมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิมจังหวัดชายแดนภาคใต้ผศ.ดร.อนุสรณ์ อุณโณ คณบดี คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มธ. และ ตูแวดานียา ตูแวแมแง ผู้อำนวยการสำนักปาตานีรายาเพื่อสันติภาพฯ ดำเนินรายการโดย มูฮำหมัดอาลาดี เด็งนิ ประธานมูลนิธินูซันตาราฯ
ในขณะที่หัวข้อ11 ปี ตากใบ ความจริงที่สูญเปล่าความหวังชะตากรรมสันติภาพปาตานีจัดโดยสมาพันธ์นิสิต นักศึกษามุสลิมแห่งประเทศไทยร่วมกับภาคีเครือข่ายมีวิทยากรเสวนา อาจารย์งามศุกร์ รัตนเสถียร จากศูนย์สันติวิธี มหาวิทยาลัยมหิดล นายอัรฟาน วัฒนะ อดีตนักศึกษามหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปัตตานี
ข้อสรุปตรงกันสองเวทีคือหนึ่งประชาชนไม่ได้รับได้รับยุติธรรมหรือได้รับช้า จะเป็นอุปสรรคต่อกระบวนการสันติภาพและเป็นการผลักให้ส่วนหนึ่งใช้ความรุนแรง แก้ปัญหา หากเหตุการณ์ทำนองนี้เกิดขึ้นอีกก็จะซุ้มไฟความรุนแรง ผู้ได้รับผลกระทบใช้กระบวนการทางศาลยุติธรรมไทยต่อสู้แต่ศาลตัดสินว่าผู้เสียชีวิต ขาดอากาศหายใจโดยไม่บอก/ตัดสินว่าใครทำให้เขาขาดอากาศหายใจและนำผู้รับผิดชอบมาลงโทษมันคือความอยุติธรรมในความรู้สึกประชาชน “กระบวนการยุติธรรมไทยจะมีแค่ ยิง ตาย จ่าย จบ หรือ มันต้องมีมากกว่านี้” ความยุติธรรมที่ล่าช้าก็คือความอยุติธรรม (อังกฤษ: justice delayed is justice denied; ฝรั่งเศส: justice différée est justice refusée) จนในเวทีที่ธรรมศาสตร์เรียกร้องให้ตั้งศาล สิทธิมนุษยชนอาเซียน ดั่งบทกวีที่ได้อ่าน “ ……..ความปราชัยคือคำตอบ ความอยุติธรรมเต็มลานดิน เม็ดทรายนับล้านเจ็บปวด เหม็นคาวเลือดหยดเข้ม ฝนกระสุนที่ป่าเถื่อน เดือนอันศักดิ์สิทธิ์ไม่มีอากาศธาตุให้ได้หายใจ เขาจึงตาย เพราะขาดอากาศหายใจ”
สอง บทเรียนที่รัฐจะได้รับจากเหตุการณ์ครั้งนี้โดยไม่ต้องเสียงบประมาณจัดเอง เช่น เหตุการทำนองนี้จะไม่เกิดขึ้นอีกหรือรัฐมีมาตราการการจัดการชุมนุมที่ดีไม่ เกิดการสูญเสีย เปิดพื้นที่ทางการเมืองโดยสันติวิธีให้แก่ผู้เห็นต่างจากรัฐได้เสนอทางออก ทั้งคนในพื้นที่และนอกพื้นที่โดยรัฐไม่ต้องเสียงบประมาณจัดเวทีเอง ท้ายสุดรัฐมีทางออกทางการเมืองกับภาคอื่นๆ ซึ่งรัฐไทยไทยประกอบด้วยคนที่มีแนวคิดทางการเมืองต่างกัน เชื้อชาติ อัตลักษณ์ต่างกัน
คำถามสุดท้ายทำไมรัฐจัดวันรำลีก 6 ตุลาคม 14 ตุลาคม วันสำคัญอื่นๆที่ทำให้คนไทยเสียเลือดเนื้อได้

กรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้, ผู้ช่วยผู้จัดการโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ อ.จะนะ จ.สงขลา
E-mail : shukur2003@yahoo.co.uk