จริงหรือ? เดือนรอมฎอนมีแต่ “สันติภาพ” โดยไม่มี “สงคราม”

โดย อุสตาซอับดุชชะกูรฺ บินชาฟิอีย์  (อับดุลสุโก  ดินอะ) กรรมการสภาประชาสังคมชายแดนใต้, อาจารย์พิเศษมหาวิทยาลัยทักษิณ, ผู้ช่วยผู้จัดการโรงเรียนจริยธรรมศึกษามูลนิธิ อ.จะนะ จ.สงขลา Shukur2004@chaiyo.com, http://www.oknation.net/blog/shukur

ด้วย พระนามของอัลลอฮฺผู้ทรงเมตตากรุณาปรานีเสมอ ขอความสันติและความจำเริญแด่ศาสดามุฮัมมัด ผู้เจริญรอยตามท่านและสุขสวัสดีผู้อ่านทุกท่าน

ในเดือนรอมฎอนมีทั้ง สันติภาพและสงคราม ในหน้าประวัติศาสตร์สมัยศาสดา จริงอยู่ถ้าดูหลักการล้วน เป้าหมายการถือศีลอด นั้นเพื่อสุขภาวะต่อตนเองและชุมชน ยิ่งสื่อในและนอกพื้นที่รณรงค์ “รอมฎอนสันติภาพเป็นพันธกิจ: เราจะสื่อสารอะไรในเดือนแห่งความเมตตา?”

ในช่วง วันที่ 29 มิถุนายน  2557- 28 กรกฎาตม 2557 เป็นช่วงที่ชาวไทยมุสลิมและมุสลิมทั่วโลกกำลังถือศีลอด

การถือศีลอดนั้นจะอยู่ในช่วงเดือนรอมฎอนซึ่งเป็นเดือนที่เก้าของปฏิทินอิสลาม (ซึ่งจะนับเดือนตามจันทรคติ)
คำจำกัดความ และเป้าหมายของการถือศีลอด

บรรดานักปราชญ์อิสลาม ได้ให้คำจำกัดความของการถือศีลอด (ศิยามในภาษาอาหรับ) ไว้ว่า “คือ การงดเว้นจากการทำให้เสียศีลอด ตั้งแต่รุ่งอรุณจนตะวันตกดิน ด้วยการเนียต (ตั้งเจตนา) ถือศีลอดเพื่ออัลลอฮฺ (al-Zuhairi,1998:566) กล่าวคือ การงดเว้นของห้ามต่างๆ เช่น การกิน การดื่ม และการร่วมประเวณี ระหว่างสามีภรรยาตั้งแต่รุ่งอรุณจนตะวันตกดินด้วยการเนียตการถือศีลอด เพื่ออัลลอฮ์ในเวลาหลังตะวันตกถึงรุ่งอรุณ”

เหตุที่ทำให้เสียศีลอด มี 8 ประการ1.เจตนากินหรือดื่มแม้แต่เล็กน้อย 2.เจตนาร่วมประเวณี 3.เจตนา ทำให้น้ำอสุจิเคลื่อนออกมาจะด้วยวิธีใดก็ตาม 4.เสียสติโดยเป็นบ้า เป็นลมหรือสลบ 5.เจตนาทำให้สิ่งใดล่วงล้ำเข้าไปภายในอวัยวะ 6.เจตนา อาเจียน7.ปรากฏมีเลือดประจำเดือน(เฮด) เลือดหลังคลอดบุตร (นิฟาส) 8.ตกมุรตัด (สิ้นสภาพการเป็นมุสลิม)

(หมายเหตุ การเสีย ศีลอดด้วยเหตุดังกล่าวต้องเป็นไปตามนี้คือ ก.เป็นไปในเวลากลางวัน ตั้งแต่แสงอรุณจนตะวันตกดิน ข.มิได้ถูกกดขี่บังคับ.)…

พระเจ้าได้ตรัส ว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาทั้งหลาย การถือศีลอดได้ถูกกำหนดแก่สูเจ้า ดังที่พระองค์ได้เคยบัญญัติแก่ชนยุคก่อนจากท่าน เพื่อว่าสูเจ้าจะเป็นผู้ที่ยำเกรง” (อัลกุรอ่าน บทที่ 2 โองการที่ 183)

คำว่าผู้ยำเกรงตาม ทัศนะอิสลามหมายถึงการกระทำความดีและละเว้นความชั่ว อิหม่ามชะฮาบุดดีน ปราชญ์ผู้ยิ่งใหญ่ของโลกอิสลามได้ อธิบายคำว่า ความดีในหนังสือ( al-Furuk) หน้า 15ไว้ว่า ” การกระทำความดีหมายถึงการช่วยเหลือผู้ที่อ่อนแอ การบริจาคทานแก่คนยากจน การให้อาหารแก่ผู้ที่หิวโหย การให้เครื่องนุ่งห่มแก่ผู้ขัดสน การพูดจาไพเราะอ่อนโยนกับทุกคน การให้ความเมตตาต่อผู้คน การปรึกษาหารือซึ่งกันและกันเพื่อขจัดความขัดแย้งและการทะเลาะวิวาทและอื่นๆ อีกมากมายที่เกี่ยวกับความดีทุกชนิด”

ท่านศาสดามุฮัมมัด กล่าวว่า”การถือศิลอดเป็นโล่ ถ้าหากว่าผู้หนึ่งในพวกท่านถือศีลอดในวันหนึ่งแล้วเขาไม่ทำชั่วและพูดจาหยาบ คายเมื่อมีผู้หนึ่งดาทอต่อเขาหรือระบายความไม่ดีแก่เขา( ผู้ถือศีลอด) จงกล่าวว่า แท้จริงฉันถือศิลอด”

ดังนั้นการถือศีลอด ที่แท้จริงจะสามารถป้องกันและปรับปรุงตัวของผู้ที่ถือศีลอดเองและจะส่งผลดี ต่อสังคมโดยนำสังคมไปสู่สันติสุขอย่างแท้จริงเพราะสังคมจะปราศจากความชั่ว และอบายมุขและเต็มไปด้วยความดี

แต่ถ้ามุสลิมจำเป็นต้องทำสงครามเพื่อนำสันติภาพเราก็จะพบประวัติศาสตร์สมัยศาสดาสำคัญมีดังนี้

•     ได้มีการแต่งตั้งท่านศาสดามุฮัมมัด  (ซ.ล.)  โดยพระบัญชาแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้า  (ซ.บ.)  ให้ดำรงตำแหน่งศาสนทูต

ท่านเทวทูตญิบรีลได้ ปรากฏตัวขึ้นและพลางกล่าวว่า  “จงอ่านเถิด”  ท่านศาสดา  (ซ.ล.)  ได้ตอบว่า “ข้าพเจ้าอ่านไม่เป็น”  ทันใดนั้นท่านญิบรีลจึงโถมเข้ากอดท่านจนแน่นและแล้วก็ปล่อยท่านจากอ้อมกอด นั้นแล้วพลางกล่าวขึ้นว่า “จงอ่านเถิด” ฝ่ายท่านศาสดา  (ซ.ล.) ก็ยืนกรานด้วยประโยคเดิมว่า “ข้าพเจ้าอ่านไม่เป็น”  เป็นอย่างนี้ถึงสามครั้งสามคราและแล้ว ท่านเทวทูตญิบรีลก็เริ่มอัญเชิญพระดำรัสอันเป็นปฐมโองการจากองค์พระผู้เป็น เจ้าให้ท่านศาสดา  (ซ.ล.)  ได้สดับรับฟังว่า

“(มุฮัมมัด)  เจ้าจงอ่านเถิด  ด้วยพระนามแห่งองค์พระผู้อภิบาลของเจ้า  พระผู้ซึ่งทรงสร้าง  พระองค์ทรงสร้างมนุษย์มาจากก้อนเลือด  จงอ่านเถิด  และองค์พระผู้อภิบาลของเจ้านั้นทรงเกียรติยิ่ง  พระผู้ทรงสอนให้รู้ด้วยปากกา  พระองค์ทรงสอนมนุษย์ให้รู้ในสิ่งที่เขาไม่รู้”  บทอัลอะลัก  1/5   พระดำรัสทั้ง  5  โองการซึ่งเป็นปฐมบัญญัติจากพระผู้เป็นเจ้าได้ประทานลงมาในช่วงเดือนร่อมาฎอ นขณะที่ท่านศาสดา  (ซ.ล.)  มีอายุได้  40  ปี

•    วันที่  17  เดือนรอมฎอน  ปีที่  2  แห่งฮิจเราะห์ศักราช 
ขณะที่ท่านศาสดา  (ซ.ล.)  มีอายุได้  54  ถึง  55  ปี  ได้เกิดสมรภูมิบัดรฺครั้งใหญ่ ท่านศาสดา  (ซ.ล.)  ได้ทราบข่าวว่ามีกองคาราวานอูฐบรรทุกสินค้ามุ่งหน้ามาจากแคว้นชาม  (ซีเรีย)  โดยมีอบูซุฟยาน  ซอคร์  อิบนุ  ฮัรบฺกับชายฉกรรจ์ชาวกุเรซจำนวน  30  ถึง  40  คน ร่วมขบวนมา  นับเป็นกองคาราวานอูฐขนาดใหญ่ที่บรรทุกสินค้าอันเป็นทรัพย์สินมหาศาลของ เผ่ากุเรซและผู้คนในนครมักกะห์

ซึ่งถึงแม้ว่าสินค้า ที่กองคาราวานนี้บรรทุกมาจะมีค่ามากมายเพียงใดก็ย่อมมิอาจเพียงพอต่อการ ชดใช้หรือทดแทนทรัพย์สินที่ชาวมุฮาญี่รีนต้องสูญเสียไปจากการอายัดยึดครอง ของฝ่ายกุเรซในนครมักกะห์  ท่านศาสดา  (ซ.ล.)  ได้เชิญฃวนผู้คนโดยเฉพาะชาวมุฮาญี่รีนให้ออกไปยังกองคาราวานดังกล่าวเพื่อ อายัดทรัพย์สินเอาไว้เพื่อประโยชน์ของฝ่ายมุสลิม

ท่านศาสดา  (ซ.ล.)  ได้นำกำลังพลกว่า  300  นายออกจากนครม่าดีนะห์ในวันที่   8  เดือนร่อมาฎอน  โดยท่านได้แต่งตั้งให้ท่านอับดุลลอฮฺ  อิบนุ  อุมมิมักตูมเป็นผู้รั้งนครม่าดีนะห์และนำผู้คนที่ไม่ได้ออกศึกในการนมัสการ ละหมาด  ครั้นเมื่อเดินทัพถึง  ต.อัรเราฮาอฺ  จึงได้มีคำสั่งให้อบู  ลุบาบะฮฺ  เดินทางกลับสู่นครม่าดีนะห์เพื่อร่วมสมทบกับท่านอับดุลลอฮฺในการรักษานครแทน พระองค์

ไม่ปรากฏว่าในการเดิน ทัพครั้งนั้นมีกำลังม้าศึกร่วมทัพอยู่เลยนอกจากม้าศึกเพียงสองตัว  ตัวหนึ่งเป็นของท่านอัซซุบัยร์  และอีกตัวหนึ่งเป็นม้าศึกของท่านอัลมิกด้าด  อิบนุ  อัลอัสวัด  อัลกินดีย์เท่านั้น  ส่วนทัพอูฐนั้นมีอยู่ราว  70  ตัวโดยให้พลเดินเท้าผลัดเปลี่ยนกันขึ้นขี่ชุดละสองถึงสามคนต่ออูฐหนึ่งตัว  ฝ่ายกองคาราวานของกุเรซที่มีอบูซุฟยานเป็นผู้นำเมื่อได้ทราบข่าวการเคลื่อน กำลังของท่านศาสดา  (ซ.ล.)  ที่หมายเข้าพิชิตกองคาราวานเพื่อตัดทอนกำลังฝ่ายกุเรซ  อบูซุฟยานก็ได้เร่งรุดส่งม้าเร็วมุ่งหน้าสู่นครมักกะห์เพื่อแจ้งข่าวแก่ พลเมืองมักกะห์พร้อมปลุกระดมให้มีการแต่งทัพออกจากมักกะห์เพื่อปกป้องกอง คาราวานสินค้าดังกล่าวซึ่งถือเป็นเส้นเลือดใหญ่ของพลเมืองมักกะห์ทั้งหมดให้ พ้นจากการยึดครองของฝ่ายมุสลิม

เหล่าผู้นำกุเรซก็เร่ง ระดมผู้คนได้กำลังพลราว  1,000  คน  เพื่อทำศึกปกป้องกองคาราวานของตน  ครั้นเมื่อท่านศาสดา  (ซ.ล.)  ทราบข่าวการเคลื่อนทัพของมักกะห์ท่านได้ประชุมหารือกับเหล่าสาวกเกี่ยวกับ การศึก  เหล่าสาวกทั้งหมดก็ขานรับการเรียกร้องของท่านด้วยความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียว  ในที่สุดกองทัพของทั้งสองก็ได้ประจัญบานกัน  ณ  ตำบลบะดัร  การสู้รบดำเนินไปอย่างดุเดือด  ท่านศาสดา  (ซ.ล.)  ได้วิงวอนขอต่อองค์พระผู้เป็นเจ้าว่า

“โอ้ องค์พระผู้เป็นเจ้า หากพระองค์ทรงให้กลุ่มชนนี้  (อันหมายถึงฝ่ายมุสลิมซึ่งมีความเสียเปรียบด้านกำลังพลและ     อาวุธยุทโธปกรณ์)  ได้รับความวิบัติแล้วไซร้  พระองค์ก็จะไม่ได้รับการสักการะในหน้าผืนพิภพนี้” จากคำวิงวอนนี้เองท่านศาสดา  (ซ.ล.)  และกองทัพของท่านก็ได้รับความช่วยเหลือจากพระผู้เป็นเจ้าด้วยการส่งกองทัพ ม่าลาอิกะห์  (เทวทูต)  จำนวน  1,000  ท่านเข้าร่วมรบเป็นกองหนุนแก่ฝ่ายมุสลิมซึ่งได้รับชัยชนะเหนือกองทัพของมัก กะฮฺอย่างงดงาม  ในสมรภูมิบัดรฺครั้งใหญ่นี้ฝ่ายกุเรซเสียกำลังพลไปจำนวน  70  คนและถูกจับเป็นเชลยศึกอีกจำนวน  70  คนฝ่ายมุสลิมได้พลีชีพจำนวน  14  คน

หลังเสร็จสิ้นจากการ ศึกบัดรฺ  ท่านศาสดา  (ซ.ล.)  ได้นำทัพกลับสู่นครม่าดีนะห์ในฐานะจอมทัพผู้มีชัยและพระผู้เป็นเจ้าได้ทรง บันดาลให้พระดำรัสและศาสนาของพระองค์สูงส่งและสมเกียรติตลอดจนทรงดลบันดาล ให้เหล่าทหารผู้กล้าของพระองค์พรั่งพร้อมด้วยเกียรติภูมิ

จากผลพวงของชัยชนะ ทางการทหารของฝ่ายมุสลิมได้ทำให้กลุ่มชนบางพวกเข้ารับอิสลามเพื่ออำพรางว่าย อมสวามิภักดิ์ต่ออำนาจรัฐอิสลามที่มาบัดนี้มีกำลังกล้าแข็งและมีชัยต่อทัพ มักกะห์ ชนพวกนี้เป็นที่รู้จักกันในนามว่า  “พวกหน้าไหว้หลังหลอก” (มุนาฟิกูน) มีผู้นำคนสำคัญคือ อับดุลลอฮฺ อิบนุ อุบัยย์ อิบนิ ซ่าลู้ลซึ่งมีบทบาทในการบ่อนทำลายอิสลามในกาลต่อมา

•    วันที่  10  เดือนรอมฎอน  ปีที่  8  แห่งฮิจเราะห์ศักราช 
ท่านศาสดา  (ซ.ล.)  พร้อมด้วยเหล่านักรบผู้ทแกล้วกล้าจำนวน  10,000  นาย อันประกอบด้วยชาวมุฮาญี่รีน  (เหล่าผู้อพยพจากนครมักกะห์)  และชาวอันซ็อร  (ผู้ให้การสนับสนุนและช่วยเหลือจากชาวเมืองม่าดีนะห์)  ตลอดจนอาหรับเผ่าต่าง ๆ  ที่เป็นพันธมิตรกับฝ่ายมุสลิมได้เคลื่อนกำลังพลออกจากนครม่าดีนะห์มุ่งหน้า สู่นครมักกะห์เพื่อทำการพิชิตนครมักกะห์อย่างเด็ดขาด

สาเหตุการเคลื่อนทัพ ของท่านศาสดา  (ซ.ล.)  ดังกล่าวเกิดจากการละเมิดสนธิสัญญาพักรบอัลฮุดัยบียะห์ซึ่งได้ลงนามกัน ระหว่างฝ่ายมุสลิมกับฝ่ายกุเรซเมื่อราวปีที่  6  แห่งฮิจเราะห์ศักราช  โดยเผ่าบนีบักรซึ่งเป็นพันธมิตรกับฝ่ายกุเรซได้ละเมิดสนธิสัญญาด้วยการลอบ โจมตีคนของเผ่าคุซาอะห์ซึ่งเป็นพันธมิตรฝ่ายท่านศาสดา  (ซ.ล.)  เหตุการณ์ดังกล่าวจึงนับได้ว่าเป็นการสิ้นสุดของช่วงระยะเวลาพักรบระหว่าง สองฝ่าย

เมื่อฝ่ายคุซาอะห์ถูก ลอบโจมตี  ท่านอัมร์  อิบนุ  ซาลิม  และท่านบะดีล  อิบนุ  วัรกออฺซึ่งทั้งสองเป็นคนของคุซาอะห์จึงรุดไปแจ้งขอความช่วยเหลือจากท่าน ศาสดา  (ซ.ล.)  ให้ปราบปรามพวกกุเรซและเหล่าพันธมิตร  ท่านศาสดา  (ซ.ล.)  ได้ตอบรับข้อเรียกร้องอีกทั้งยังได้แจ้งแก่บุคคลทั้งสองด้วยอีกว่าชัยชนะ อย่างเด็ดขาดจะตกเป็นของฝ่ายมุสลิมในการพิชิตนครมักกะห์

นอกจากนี้ท่านศาสดา  (ซ.ล.)  ยังได้ปฏิเสธที่จะลงนามสนธิสัญญาครั้งใหม่กับอบูซุฟยานซึ่งเป็นตัวแทนและ ผู้นำของฝ่ายกุเรซและพันธมิตร เมื่อทุกอย่างพร้อมสรรพท่านศาสดา  (ซ.ล.)  ผู้เป็นจอมทัพจึงได้เคลื่อนกำลังพลชาวมุสลิมสู่นครมักกะห์  ครั้นเมื่อถึงชานเมืองนครมักกะห์  อบูซุฟยาน  อิบนุ  ฮัรบ์  ผู้นำของกุเรซก็ได้เข้าพบท่านศาสดา  (ซ.ล.)  เพื่อต่อรองเกี่ยวกับเรื่องรื้อฟื้นสนธิสัญญา  แต่ก็ไร้ผล

ท่านศาสดา  (ซ.ล.)  ได้เสนออิสลามแก่อบูซุฟยาน  ซึ่งในที่สุดอบูซุฟยานก็ได้เข้ารับอิสลาม  และเมื่อกำลังพลของฝ่ายมุสลิมยาตราทัพเข้าสู่ตัวเมืองมักกะห์  ท่านศาสดา  (ซ.ล.)  ได้มีบัญชาให้ป่าวประกาศแก่พลเมืองมักกะห์ให้เป็นที่ทราบกันว่า “ผู้ใดเข้าสู่เคหะสถานของอบีซุฟยาน ผู้นั้นย่อมปลอดภัย และผู้ใดปิดประตูบ้านเรือนของตน ผู้นั้นย่อมปลอดภัยและผู้ใดหลบเข้าสู่มัสยิดอัลหะรอม ผู้นั้นย่อมได้รับความปลอดภัย”

•    เดือนรอมฎอน  ปีที่  9  แห่งฮิจเราะห์ศักราช 
คณะทูตจากเผ่าซะกีฟ  เดินทางเข้าพบท่านศาสดา  (ซ.ล.)  และประกาศการเข้ารับอิสลามต่อหน้าท่าน เรื่องนี้มีอยู่ว่าท่านอุรวะห์  อิบนุ  มัสอู๊ดผู้นำเผ่าซะกีฟได้เข้าพบท่านศาสดา  (ซ.ล.)  หลังสิ้นการศึกจากสมรภูมิฮุนัยน์และสมรภูมิตออิฟ  และก่อนหน้าท่านศาสดา  (ซ.ล.)  จะเดินทางถึงนครม่าดีนะห์  ท่านอุรวะห์ก็ประกาศตัวเข้ารับอิสลามและเป็นอิสลามิกชนที่ดี  ต่อมาท่านอุรวะห์ได้ขอคำอนุมัติจากท่านศาสดา  (ซ.ล.)ในการเดินทางกลับสู่ประชาคมของตนเพื่อทำการเผยแผ่ศาสนา  ท่านได้อนุมัติตามคำขอนั้นทั้ง  ๆ  ที่ท่านเกรงว่าอาจจะเกิดภัยแก่ท่านอุรวะห์

อย่างไรก็ตามเมื่อท่าน อุรวะห์เดินทางกลับสู่เผ่าซะกีฟท่านก็ได้ทำหน้าที่เรียกร้องชนเผ่าซะกีฟให้ เข้ารับอิสลาม  แต่แล้วพวกนั้นก็ตอบรับคำเรียกร้องของท่านด้วยการยิงธนูใส่ท่านจนถึงแก่ ชีวิต  การพลีชีพของท่านอุรวะห์ได้ก่อให้เกิดความเศร้าโศกเสียใจแก่ผู้คนในเผ่าซะ กีฟตลอดจนได้  สำนึกว่านั่นเป็นการกระทำของคนเขลาเพราะพวกตนไม่อาจสู้รบปรบมือกับกองทัพอัน เกรียงไกรของท่านศาสดา  (ซ.ล.)  ได้เลย

ดังนั้นชนเผ่าซะกีฟจึง ได้ตัดสินใจส่งคณะทูตของพวกตนเข้าพบท่านศาสดา  (ซ.ล.)  และได้ประกาศยอมรับอิสลามราวเดือนรอมฎอน  ตรงกับปีฮ.ศ.ที่  9  ท่านศาสดา  (ซ.ล.)  ได้ยอมรับการประกาศเข้ารับอิสลามดังกล่าวพร้อมทั้งยังได้ส่งท่านอบูซุฟยาน  ช็อคร์  อิบนุ  ฮัรบ์ซึ่งได้รับอิสลามแล้วตลอดจนท่านอัลมุฆีเราะห์  อิบนุ  ชุอฺบะห์ให้ร่วมเดินทางไปพร้อมกับคณะทูตเพื่อทำการเผยแผ่ศาสนาและทำลายรูป เคารพประจำเผ่าซะกีฟ

กล่าวโดยสรุปในเดือนรอมฎอนมีหลักการที่จะนำสู่สันติภาพแต่ถ้าจำเป็นต้องทำสงครามเพื่อนำสันติภาพกลับมาก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้

…………………………….

หมายเหตุประวัติเหตุการณ์สำคัญเดือนรอมฎอนในสมัยศาสดา

•    คัดลอกจาก อ.อาลี เสือสมิง. http://www.alisuasaming.com/main/index.php/mount-history/971-09-raman

•    http://eltrsheheg.yoo7.com/t747-topic

•    http://www.saaid.net/Doat/Althahabi/16.htm