วิกฤตการณ์ “ทะเลจีนใต้” ซัดอาเซียน-สะเทือนถึงไทย

ความขัดแย้งบาดหมางกันจากข้อพิพาทใน “ทะเลจีนใต้” นำโดยยักษ์ใหญ่อย่าง “จีน” ที่ฟาดหางมังกรจนสะเทือนไปทั่วเขตน่านน้ำบริเวณทะเลจีนใต้ ส่งผลให้เกิดข้อพิพาทกับหลายประเทศยาวนานนับศควรรษ ตั้งแต่ ไต้หวัน เวียดนาม ฟิลิปปินส์ บรูไน จนถึง มาเลเซีย นั่นเพราะว่า ทั้งจีนและอีก 5 ประเทศ ต่างก็อ้างสิทธิความเป็นเจ้าของ 2 เกาะ (สแปรทลี่ย์และพาราเซล) และน่านน้ำใน “เขตเศรษฐกิจจำเพาะ” ซึ่งขณะนี้มหาอำนาจจีนกำลังเปิดฉากรุกคืบเข้ายึดเกาะและน่านน้ำอย่างอย่าง ต่อเนื่องโดยไม่สนเสียงทัดทานใดๆ จากมิตรประเทศ

“พับลิกโพสต์” ในฐานะตัวแทนสื่อมวลชนไทยที่ได้มีโอกาสเข้าร่วมงานสัมมนาระดมความเห็นจากนัก วิชาการและนักประวัติศาสตร์จากนานาชาติ (อาทิ ฝรั่งเศส สหรัฐ อังกฤษ เบลเยี่ยม สิงคโปร์ ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน มาเลเซีย และ เวียดนาม) ตามคำเชิญของสถานกงสุลเวียดนามประจำประเทศไทย จ.ขอนแก่น โดยงานนี้จัดขึ้นที่เมืองดานัง ประเทศเวียดนาม เมื่อปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา จึงทำให้ได้ทราบในรายละเอียดของข้อขัดแย้ง หลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญ และบทสรุปจากความคิดเห็นของนักวิชาการจากนานาชาติที่มาร่วมถกประเด็นปัญหา กันในครั้งนี้

นักวิขาการจากฝรั่งเศส-ฟิลิปปินส์
นักวิขาการจากฝรั่งเศส-ฟิลิปปินส์

สาระ สำคัญของงานสัมมนา Paracel and Spratly Archipelagos : Historical Truth  หรือ หมู่เกาะพาราเซล และ สแปรทลี่ย์ : ความจริงทางประวัติศาสตร์ กล่าวถึง การที่จีนอ้างสิทธิ์ในเขตน่านน้ำทะเลจีนใต้ทั้งหมด…..ย้ำว่าทั้งหมด! ที่จีนบอกว่าเป็นของจีนมานานแล้ว ที่จีนอ้างก็ไม่ได้อ้างเปล่า แต่ได้ขนเรือ ขนทหาร ขนอุปกรณ์ต่างๆ เข้าไปยึดเกาะด้วย ทั้งมีการก่อสร้างอาคารสถานที่ มีการรุกเข้าไปสร้างฐานขุดเจาะสำรวจน้ำมันในบริเวณเขตเศรษฐกิจจำเพาะ (Exclusive Economic Zone) และมีการโจมตีเรือประมงของชาวเวียดนามอยู่เป็นระยะๆ อย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะเมื่อเดือนที่แล้ว เรือทหารของจีนพุ่งเข้าโจมตีเรือประมงของชาวเวียดนาม บริเวณน่านน้ำดังกล่าวที่กลุ่มประมงเวียดนามหาปลาทำมาหากินกันจุดนี้มานาน นับศตวรรษแล้ว

นี่ จึงเป็นสาเหตุสำคัญว่า ทำไมเวียดนามจึงไม่อาจนิ่งเฉยต่อปฎิบัติการต่างๆ ที่จีนกระทำอย่างต่อเนื่องได้อีกต่อไป สิ่งที่ได้เห็นจากเหตุการณ์นี้ก็คือ ชาวเวียดนามทั้งประเทศที่เคยสงบนิ่งทำมาหากินกันอย่างสงบเสงี่ยม เริ่มตื่นตัวและเกิดเป็นปฎิกิริยา “ชาตินิยม” ขึ้นมาอย่างเข้มข้น ทั้งจากประชาชนทั่วไป ปัญญาชน นักวิชาการ ภาคธุรกิจ ไปจนถึงนักเรียนนักศึกษาพ่อค้าแม่ค้า คนเล็กคนน้อยก็ยังตื่นตัวในข่าวและเหตุการณ์นี้

จุดยุทธศาสตร์และการอ้างสิทธิในประวัติศาสตร์

เนื้อหา หลักของการสัมมนาครั้งนี้คือ การที่เวียดนามและมิตรประเทศในกลุ่มที่มีข้อขัดแย้งที่ต่างอ้างสิทธิ์ในหมู่ เกาะและเขตเศรษฐกิจจำเพาะบริเวณทะเลจีนใต้ แต่ละประเทศก็ต่างอ้างสิทธิ์ถือครองต่างกันไป เช่น ไต้หวันบอกว่าเกาะพาราเซลเป็นของเขา ฟิลิปปินส์ มาเลเซีย บรูไนบอกว่า เกาะสแปรทลี่ย์เป็นของตน เวียดนามบอกว่าบริเวณเขตเศรษฐกิจจำเพาะเป็นของเวียดนามมาแต่ดั้งเดิม แต่จีนกลับบอกว่าทั้งหมดในบริเวณทะเลจีนใต้และบริเวณรอบๆ เป็นของจีน โดยจีนอ้างว่า ขนาดชื่อยังชื่อทะเลจีนใต้เลย!

ดัง นั้นจึงมีการเรียกร้องความร่วมมือกันของกลุ่มประเทศอาเซียน ในห้วงเวลาที่กำลังจะเกิด “ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน” อย่างเต็มรูปแบบในปีหน้านี้แล้ว เนื่องจากปัญหาข้อพิพาทดังกล่าวหากยืดเยื้อไปก็อาจส่งผลสะเทือนไปทั้ง ภูมิภาคได้ เนื่องจากบริเวณทะเลจีนใต้กล่าวได้ว่า เป็นเส้นทางการจราจรทางทะเลที่คับคั่งที่สุดเป็นอันดับสองของโลก ประมาณกันว่าเกือบครึ่งหนึ่งของเรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่จะต้องเดินทางผ่าน เส้นทางทะเลจีนใต้ นอกจากนี้พื้นที่ในเขตทะเลจีนใต้ยังมีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์ เนื่องจากมีการพบว่า ในบริเวณนี้มีแหล่งน้ำมันและก๊าซธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ และมีหลายประเทศที่ต่างก็ต้องใช้พลังงานจำนวนมาก
P1130170 History1

ประเด็น สำคัญที่กลายเป็นชนวนพิพาทในบริเวณทะเลจีนใต้ คือ การอ้างสิทธิในพื้นที่ดังกล่าว ซึ่งขณะนี้มีความขัดแย้งในหลายประเด็นเกี่ยวกับการอ้างสิทธิเหนือพื้นที่ใน ทะเลจีนใต้ โดยจุดที่มีความขัดแย้งที่สุดและถูกจับตามองจากทั่วโลกคือ การอ้างสิทธิเหนือหมู่เกาะสแปรทลีย์ และหมู่เกาะพาราเซล และบ่อยครั้งที่ความขัดแย้งนี้เกี่ยวพันถึงการอ้างสิทธิเหนือ ทรัพยากรธรรมชาติน้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ซึ่งพอจะสรุปได้ดังนี้

•    จีนได้เผยแพร่แผนที่ทางการของตน (New Map) โดยแสดงเขตพื้นที่คลุมเครือว่า “อาจจะ” ครอบคลุมบริเวณหมู่เกาะนาทูนา อันเป็นแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ของอินโดนีเซียด้วย ทำให้อินโดนีเซียตอบโต้ด้วยการจัดซ้อมรบทางทหารที่ใหญ่ที่สุด เท่าที่เคยมีมาในบริเวณหมู่เกาะนาทูนาในปี พ.ศ. 2539

•    ฟิลิปปินส์ได้ทำการสำรวจและผลิตก๊าซธรรมชาติและคอนเดนเสท ในแหล่ง “มาลาปายา และคามาโก” ซึ่งอยู่ในน่านน้ำที่จีนกำลังอ้างสิทธิ โดยที่จีนไม่เคยได้ทักท้วงมาก่อน

•    แหล่งก๊าซธรรมชาติหลายแห่งของมาเลเซีย บริเวณนอกชายฝั่งของเกาะซาราวัค ก็อยู่ในน่านน้ำที่จีนอ้างสิทธิ แต่จีนก็ไม่เคยทักท้วงการพัฒนาแหล่งก๊าซเหล่านี้ (เช่นเดียวกันกับแหล่งก๊าซของฟิลิปปินส์)

•    เวียดนามและจีน ต่างอ้างสิทธิเหนือแหล่งน้ำมันในพื้นที่นอกชายฝั่งเวียดนาม โดยจีนอ้างสิทธิในพื้นที่ทางตะวันตกของหมู่เกาะสแปรทลีย์ว่าเขต Wan Bei-21 (WAB-21) ซึ่งเป็นเขตที่เวียดนามเรียกว่า Block 133, 134, 135 มาแต่ดั้งเดิม ความขัดแย้งนี้ทำให้บริษัทโคโนโค และปิโตรเวียดนาม ไม่สามารถเข้าขุดเจาะสำรวจบริเวณดังกล่าวได้ตามกำหนด นอกจากนี้แหล่งน้ำมัน Dai Hung (หมีใหญ่) ของเวียดนามก็อยู่ในเขตน่านน้ำที่จีนอ้างสิทธิอีกด้วย

•    ในพื้นที่บริเวณอ่าวไทย ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทะเลจีนใต้ ที่มีก๊าซธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ แต่ยังไม่มีการกำหนดเส้นแบ่งเขตแดนในทะเลจีนใต้ที่ชัดเจน แต่ก็มีหลายบริษัทที่ได้ลงนามในข้อตกลงเพื่อทำการขุดสำรวจไปแล้ว แต่ยังไม่สามารถเริ่มดำเนินการได้ในบริเวณที่ยังมีข้อพิพาทกันระหว่าง กัมพูชากับไทย และในส่วนพื้นที่ทับซ้อนระหว่างไทยกับเวียดนาม ได้มีการเจรจาตกลงกันได้ตั้งแต่เมื่อเดือนสิงหาคม 2540 อีกทั้งได้มีการลงนามข้อตกลงความร่วมมือ ในการสำรวจและพัฒนาพื้นที่ร่วมกันระหว่าง ไทย-มาเลเซีย และ มาเลเซีย-เวียดนาม (อันหลังมีผลตั้งแต่ 4 มิถุนายน 2536)

จะ เห็นได้ว่า การอ้างสิทธิต่างๆ นี้มีรากฐานมาตั้งแต่ในประวัติศาสตร์ และอยู่บนหลักการซึ่งเป็นที่ยอมรับกันเป็นสากล ซึ่งอนุญาตให้แต่ละประเทศสามารถอ้างสิทธิเหนืออาณาเขตนอกชายฝั่งบริเวณที่ เป็นไหล่ทวีปของประเทศนั้นๆ ได้ รวมทั้งอนุสัญญาสหประชาชาติปี 2525 ว่าด้วยกฎหมายทางทะเล (United Nations Convention on the Law of the Sea) ก็เป็นเสมือนหลักการที่ทุกประเทศยึดถือร่วมกันด้วย

เมื่อ “เวียดนาม” ฟ้องโลกด้วย “หลักฐานทางประวัติศาสตร์”

เกี่ยว กับข้อพิพาทอันยาวนานในเขตทะเลจีนใต้ ที่นำมาสู่การระดมสมองของนักวิชาการและนักประวัติศาสตร์จากทั่วโลกที่เมือ งดานัง ประเทศเวียดนาม ครั้งล่าสุดนี้ ศจ.ฟาม ดัง ฟุก อดีตกรรมาธิการความมั่นคงแห่งรัฐสภาเวียดนาม กล่าวกับพับลิกโพสต์ว่า

ศจ.ฟาม ดัง ฟุก
ศจ.ฟาม ดัง ฟุก

“เวียดนาม มีหลักฐานยืนยันได้ว่า บริเวณเขตเศรษฐกิจพิเศษเป็นของเวียดนามมาแต่เดิมโดยมีหลักฐานสนธิสัญญา อันที่จริงปัญหาของเรา (เวียดนาม) ไม่ได้เกี่ยวกับ 2 เกาะ (พาราเซล, สแปรทลี่ย์) เลย แต่จีนพยายามที่จะรวบทั้งหมดเอาไว้โดยอ้างเอาสองเกาะนี้ไปด้วย  เป้าหมายจีนก็คือ การยึดครองทะเลจีนใต้ทั้งหมด และจีนก็เริ่มปฎิบัติการก่อน เวียดนามแค่พยายามที่จะปกป้องตัวเราเองด้วยกฎหมายสากล ผ่าน UNCLOS (United Nations Convention on the Law of the Sea หมายถึง สนธิสัญญาด้านกฎหมายทางทะเลที่ยูเอ็นทำไว้ร่วมกันกับประเทศต่างๆ) เราได้พยายามที่จะพูดคุยตกลงกับจทางการจีน แต่จีนปฎิเสธมาตลอด ดังนั้นสิ่งที่เราทำได้ตอนนี้ก็คือ ความพยายามที่จะเรียกร้องมิตรประเทศในอาเซี่ยน ขอความเห็นใจและยึดมั่นในหลักการตามกฎหมายสากล เราพยายามเรียกร้องไม่ให้มีการเพิ่มปัญหา โดยอาเซี่ยนต้องร่วมมือกัน เพราะที่สุดแล้วบริเวณทะเลจีนใต้มันเชื่อมโยงผลประโยชน์ของแทบทุกประเทศในอา เซี่ยน ทุกประเทศได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน ไม่ใช่เป็นของประเทศเดียวที่ทำตามอำเภอใจตัวเอง ถ้าทุกฝ่ายพยายามยึดหลักการ ไม่ทำอะไรตามใจชอบแบบที่จีนทำ ภูมิภาคนี้ก็สงบสันติ….นี่คือสิ่งที่เราหวัง”

ดร.ตรัน วัน นัม
ดร.ตรัน วัน นัม

ด้าน ดร.ตรัน วัน นัม ประธานกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยดานัง ผู้เชี่ยวชาญด้านปรัชญาการเมือง (เขาเป็นอาจารย์ของนายกรัฐมนตรีไต้หวันคนปัจจุบัน) อธิบายกับพับลิกโพสต์ว่า ที่จัดงานครั้งนี้ขึ้นหลักๆ ก็เพื่อให้มีการถกกันในเรื่องความสัมพันธ์ระหว่าง ไต้หวัน – จีน – เวียดนาม  และประเทศที่เกี่ยวข้อง

“ผม พูดได้ว่า จริงๆ พื้นที่นี้เกี่ยวข้องกับนานาชาติ ซึ่งน่าจะรวมทั้งไทยด้วย แม้ว่าน่านน้ำนี้อาจจะไม่ใหญ่มาก แต่บอกได้เลยว่า ถ้ามีปัญหาขึ้นมามันก็จะดึงเอาหลายฝ่ายเข้าไปเกี่ยวข้องด้วยอย่างหลีกเลี่ยง ได้ยาก เพราะจีนจะไม่หยุดอยู่แค่นี้ เป้าหมายของจีนคือ ความพยายามขยายขอบเขตออกไป เพราะประชากรของเขามีมาก ความต้องการในทรัพยากรก็ย่อมมีมากไปด้วย ตอนนี้ที่มีอยู่ในประเทศก็ขาดแคลน ดังนั้นการที่เขาพยายามเข้ามาครอบครองพื้นที่พิพาทตรงนี้ ถ้าสำเร็จก็เพื่อขยายขอบเขตออกไปอีก ซึ่งบริเวณนี้ถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญมากของภูมิภาค แน่นอนว่ามันไม่ใช่เรื่องง่ายๆ ที่จู่ๆ ประเทศใดประเทศหนึ่งจะมายุดเอาไป แต่ถ้าประเทศในภูมิภาคไม่สามัคคีกันไว้ ก็มีความเสี่ยง…อย่าลืมว่าจีนทะเลาะกับเพื่อนบ้านไปทั่ว เริ่มมาตั้งแต่ปี 1950 แล้ว ความขัดแย้งในทะเลจีนใต้เองก็ไม่ใช่เพิ่มเริ่ม แต่มันเกิดขึ้นมา 200 กว่าปีแล้ว พอปี 1980 มีการพบน้ำมันในบริเวณนี้ ความขัดแย้งก็เลยคุขึ้นมาอีก ตอนนี้ยังไม่ไปถึงการโจมตีทางการทหาร แต่เป็นแค่การโจมตีโดยใช้เรือพุ่งเข้าชนอย่างที่จีนทำกับเรือประมงของเรา แต่ผมบอกได้เลยว่า ความสำคัญมันอยู่ตรงการทหารมากกว่า เพราะถ้าจีนใช้ทหารเข้ายึดจุดนี้ได้ ก็จะถือเป็นจุดยุทธศาสตร์ที่สำคัญมาก ซึ่งสหรัฐเองก็คงไม่อยากให้เกิด”

กลุ่มประมงดานังผนึกกำลัง “ไม่ยอมให้จีนรังแก”

กลุ่ม ผู้ที่ได้รับผลกระทบโดยตรงจากกรณีพิพาทในบริเวณดังกล่าว ย่อมไม่พ้นกลุ่มธุรกิจประมง ซึ่งเมืองดานังถือเป็นเมืองท่าที่สำคัญของเวียดนาม และเป็นแหล่งประมงใหญ่ของประเทศ พับลิกโพสต์มีโอกาสได้ไปพบปะพูดคุย ทั้งตัวนายกสมาคมผู้ประกอบอาชีพหาปลาเมืองดานัง และเจ้าของเรือประมงที่ถูกเรือจีนพุ่งเข้าชนจนล่ม และมีลูกเรือเสียชีวิตด้วย โดยนายกสมาคมผู้ประกอบอาชีพหาปลาเมืองดานัง กล่าวว่า “ถ้าจีนลากเรื่องนี้ยาวออกไปก็จะยิ่งมีปัญหา เนื่องจากในอดีตคนเวียดนาม โดยเฉพาะคนดานังจับปลาในบริเวณนี้ (เขตน่านน้ำเศรษฐกิจพิเศษ ทะเลจีนใต้ อยู่ระหว่างเกาะพาราเซลและสแปรทลี่ย์) เป็นปกติมาเป็นร้อยปีแล้ว แต่จีนมักเป็นฝ่ายรุกเข้ามาตลอดเวลาที่ผ่านมา บริเวณนี้มีความสมบูรณ์มาก เราจับปลาแมคเคอเรลได้มาก และเป็นแหล่งปะการัง ชาวประมงเราก็หากินกันปกติสุขมานานมากแล้ว ซึ่งไม่ใช่เฉพาะชาวประมงเวียดนามเท่านั้น ชาวประมงจีนก็มาจับ ชาวประมงญี่ปุ่นก็เข้ามาจับ มันเป็นปกติเหมือนทรัพยากรที่ทุกคนได้ใช้ร่วมกัน ไม่เคยมีใครมาบอกว่าฉันเป็นเจ้าของ หรือเที่ยวห้ามไม่ให้ใครเข้ามา….ไม่เคยมีแบบนี้ แต่พอปี 1974 จู่ๆ จีนก็มาเอาไป หลังฝรั่งเศสยึดครองอินโดจีน ทั้งที่มันมีกฎหมายทางทะเลอยู่ UNLOS (สนธิสัญญาทางทะเล) ก็บอกไว้ ผมบอกได้เลยว่า ถ้าจีนยิ่งก่อปัญหาพิพาทนี้ออกไปเรื่อยๆ ไม่มีการตกลงเจรจากันตามหลักการที่ควรจะเป็น หรืออย่างที่ทุกประเทศในโลกยึดถืออยู่ ปัญหาก็จะยิ่งบานปลายจนกระทบไปทั้งภูมิภาคได้”

 

นายกสมาคมประมงดานัง
นายกสมาคมประมงดานัง

นายก สมาคมฯ ยังกล่าวทิ้งท้ายไว้ด้วยว่า “ฟ้าย่อมไม่เข้าข้างคนโกง” และ “จีนเป็นประเทศที่ใหญ่ ก็ควรอยู่อย่างพี่ใหญ่ที่รู้จักเสียสละ” และเขาบอกด้วยว่า “คนเวียดนามรู้ว่าไทยกำลังมีปัญหา เหตุการณ์บ้านเมืองไม่ปกติ แต่คนเวียดนามเห็นคนไทยคือมิตรสหายของเรา แต่ตอนนี้มิตรเรากำลังพึ่งพิงจีน เราก็หวังแค่ว่า ไทยยังเห็นเวียดนามเป็นมิตรอยู่ และจะยืนข้างหลักการที่ถูกต้องชอบธรรม ความจริงเวียดนามมีเหตุการณ์นี้ ก็มีข้อดีอยู่เหมือนกันคือ ทำให้เกิดกระแสรักชาติในประเทศขึ้น และทำให้เรามองเห็นมิตรมากขึ้น ใกล้ชิดกับมิตรมากขึ้นเช่น มิตรในอาเซี่ยนหลายๆ ประเทศที่ยืนข้างเรา”

เรือประมงเวียดนามที่ถูกชน
เรือประมงเวียดนามที่ถูกชน

นอกจาก นี้ในวงสัมมนายังมีการพูดคุยกันนอกรอบถึงปัญหาพิพาทดังกล่าว โดยเฉพาะประเทศในกลุ่มอาเซี่ยน โดยหลายประเทศนอกจากแลกเปลี่ยนถึงกรณีทะเลจีนใต้แล้ว ยังให้ความสำคัญกับ “ภาวะไม่ปกติในประเทศไทย”  ซึ่งอาจทำให้ไทยต้องตัดสินใจพึ่งพามหาอำนาจจีนหลังถูกมหาอำนาจอเมริกาและยุ โรปแซงชั่น ดังนั้นในฐานะสมาชิกประเทศกลุ่มอาเซี่ยนในระดับนำ ไทยจึงถูกจับตามองอย่างยิ่ง

การ ตัดสินใจของรัฐบาลทหารไทยต่อวิกฤติการณ์ทะเลจีนใต้ในอนาคตอันใกล้ จึงมีความเปราะบางไม่น้อย นั่นเพราะคลื่นสึนามิลูกใหญ่จากทะเลจีนใต้อาจสาดซัดรุนแรงจนกระทบไปทั้ง ภูมิภาคอาเซี่ยนอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก และแน่นอนว่า แรงกระเพื่อมย่อมส่งมาถึงไทยด้วย นับจากนี้จึงต้องจับตาสถานการณ์ข้อพิพาทระหว่างจีนกับอีก 5 ประเทศพันธมิตร และมุมมองของรัฐบาลทหารไทยในท่ามกลางสายตามิตรสหายรอบรั้วบ้าน…..ทหารจะ นำไทยยืนอยู่บนหลักการสากล หรือผลประโยชน์ต่างตอบแทน เดี๋ยวก็รู้!!