กษัตริย์องค์ใหม่ของซาอุดี้ฯ กษัตริย์ซัลมาน บิน อับดุลอาซิซ ถือว่าเป็นผู้ที่มีความเด็ดเดี่ยว ดุดันยิ่งกว่ากษัตริย์องค์ก่อนทั้งในด้านกิจการภายในประเทศและต่างประเทศ และไม่กี่สัปดาห์แรกในตำแหน่งก็เป็นการยืนยันชื่อเสียงในด้านนี้เป็นอย่างดี
เขาเริ่มต้นด้วยการจัดระเบียบภายในประเทศ โดยการให้ความมั่นใจแก่พันธมิตรชาวอเมริกันเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการปกครองของฝ่ายศาสนา ซึ่งหมายถึงการปูทางให้แก่ผู้นำรุ่นใหม่ๆ เลื่อนตำแหน่งบรรดาผู้นำในการต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้ายของประเทศ ทำการคัดเลือกองค์รัชทายารทองค์ใหม่ รองรัชทายาทองค์ใหม่ และผู้บริหารด้านต่างๆ จากพวกเขาเหล่านั้น
และหลังจากได้รับคำแนะนำเล็กน้อยจากทั่วราชสำนักแล้ว เขาได้อุทิศตนเพื่อสิ่งที่ซาอุดิอาระเบียเรียกว่า “การแผ่ขยายอย่างเด่นชัดของอิหร่าน” เข้ามาในขอบเขตอิทธิพลของซาอุดี้ฯ
ซัลมานเสนอนโยบายแรกของเขาต่อเยเมนและกลุ่มเฮาซี โดยการปฏิเสธไม่อนุญาตให้อดีตประธานาธิบดีอาลี อับดุลลอฮ์ ซาเลห์ ของเยเมนเข้าร่วมพิธีศพของกษัตริย์อับดุลลอฮ์ ซาอุดิอารเบียไม่พอใจที่ซาเลห์ให้ความช่วยเหลือแก่เฮาซี กษัตริย์ซัลมานได้ยกระดับการเผชิญหน้ากับเฮาซีและอิหร่านด้วยการย้ายสถานทูตซาอุดี้ฯ จากกรุงซานาอฺไปยังเอเดน และในภายหลังได้ย้ายสถานทูตในประเทศอ่าวอื่นๆ ไปยังที่ใหม่
สถานทูตในประเทศอ่าวถูกย้ายที่ใหม่ไม่นานหลังจากที่สถานทูตของชาติตะวันตกได้ปิดตัวลง สิ่งนี้ชวนให้คิดว่า สหรัฐฯ และซาอุดี้ฯ พันธมิตร ได้ร่วมมือกันในการตัดสินใจ ซาอุดิอาระเบียต้องการเปลี่ยนกฎเกณฑ์การแข่งขันในเยเมน ขณะที่สหรัฐฯ ต้องการกดดันอิหร่านให้เร่งลงนามในข้อตกลง เว็นดี้ เชอร์แมน ผู้เจรจาด้านนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ กล่าวว่า “ไม่ว่าจะบรรลุข้อตกลงนิวเคลียร์หรือไม่ สหรัฐฯ ก็จะแสดงความกังลต่อไปเกี่ยวกับนโยบายของอิหร่านที่บ่อนทำลายเสถียรภาพของภูมิภาค” แถลงการณ์นี้น่าจะมีเจตนาเพื่อให้ความมั่นใจแก่ซาอุดิอาระเบียและอิสราเอล
ซาอุดี้ฯ เคยเปิดไฟเขียวให้กลุ่มเฮาซีต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้ายและบ่อนทำลายกลุ่มภราดรภาพมุสลิมในเยเมน แต่นโยบายนั้นไม่มีอีกต่อไปหลังจากการกระทำล่าสุดของเฮาซีและคำพูดสละสลวยที่บ่งบอกว่าพวกเขาต้องการที่จะควบคุมเยเมนทั้งหมด กลุ่มเฮาซีตอบโต้อย่างรวดเร็ว ด้วยการเปิดเที่ยวบินตรงครั้งแรกจากเตหะรานไปยังซานาห์ และมีการเจาจรที่น่าประหลาดใจมากขึ้นในระหว่างนั้น เยเมนจึงน่าจะได้พบกับการนองเลือดมากยิ่งขึ้นเบื้องหลังฉากการขัดแย้งระดับภูมิภาค
สารฉบับที่สองที่ส่งมาจากระบอบปกครองใหม่ของซาอุดี้ฯ มุ่งตรงไปที่อียิปต์ กษัตริย์ซัลมานแสดงความปรารถนาที่จะบรรเทาความร้อนแรงทางการเมืองและการเงินที่กษัตริย์อับดุลลอฮ์ผู้ล่วงลับแสดงไว้กับไคโร ซาอุดิอาระเบียไม่ต้องการจะเห็นสถานการณ์ความแตกแยกในอียิปต์ แต่ในเวลาเดียว ก็จะไม่ยอมให้อียิปต์กลับไปใช้บทบาทผู้นำอาหรับแบบเดิมอีก การสนทนาทางโทรศัพท์ระหว่างประธานาธิบดีอียิปต์และผู้นำทางทหารของเขาที่รั่วไหลออกมานั้น ได้สร้างความกังวลเกี่ยวกับเจตนาที่แท้จริงของซีซี่ ข่าวรั่วไหวเหล่านี้ไม่น่าจะถูกลืมเลือนไปจากแถบอ่าวในเร็วๆ นี้ เช่นเดียวกับที่จะไม่ลืมว่าประธานาธิบดีบะชัร อัล-อัสซาดเคยเรียกผู้นำซาอุดี้ฯ หลายคนว่าเป็น “ครึ่งมนุษย์”
คำเตือนของซาอุดี้ฯ เห็นได้ในแถลงการณ์ของสภาความร่วมมือกลุ่มประเทศอ่าว (GCC) ที่วิจารณ์การกล่าวหาของอียิปต์ว่ากาตาร์สนับสนุนกลุ่มก่อการร้าย แม้ว่าแถลงการณ์อีกฉบับหนึ่งจะยืนยันว่าประเทศอ่าวสนับสนุนอียิปต์ แต่ก็ยากที่จะเชื่อว่าเรื่องนั้นเป็นการเข้าใจผิด เห็นได้ชัดว่าซาอุดิอาระเบียขุ่นเคืองกับข้อกล่าวหาของอียิปต์ เพราะมันตรงกับช่วงที่เจ้าชายตามิม บิน ฮามาด อัล-ซานี ของกาตาร์ เสด็จเยือนซาอุดิอาระเบีย ประธานาธิบดีซีซี่เห็นว่าท่าทีใหม่ของซาอุดี้ฯ นี้เป็นที่มาของความกังวล เขากล่าวซ้ำถ้อยแถลงอันโด่งดังของเขาว่า ความมั่นคงแห่งชาติของอียิปต์มีความเชื่อมโยงกับความมั่นคงของประเทศอ่าว และความมั่นคงของประเทศอ่าวก็เชื่อมโยงกับความมั่นคงของอียิปต์ และถ้อยแถลงอีกครั้งหนึ่งของเขาเกี่ยวกับการเตรียมความพร้อมของกองทัพอียิปต์ –แค่ต้องใช้เวลาที่จำเป็นในการข้ามระยะทางเท่านั้น- เพื่อช่วยเหลือกลุ่มประเทศอ่าวและพี่น้องอาหรับถ้าพวกเขาตกอยู่ในอันตราย เป็นการดีที่กล่าวซ้ำถ้อยแถลงเหล่านี้ แม้ข้ออ้างที่ว่ามันจะต้อง “ใช้เวลาเท่าที่จำเป็นเพื่อข้ามระยะทาง” จะวางไว้ข้างๆ เมื่ออิสราเอลกระหน่ำด้วยระเบิด ทำให้เกิดการเสียชีวิตและความเสียหายในกาซ่าที่เป็นสนามหลังบ้านของอียิปต์เอง สร้างความกระอักกระอ่วนใจให้ซีซี่ในการปฏิบัติ
อีกประเด็นหนึ่งที่ไม่เห็นพ้องกันระหว่างซาอุดิอาระเบียกับอียิปต์ที่ยังไม่แพร่ออกไป แต่บ่มไว้ในความมืด ก็คือเรื่องที่เกี่ยวกับฝ่ายต่อต้านในซีเรีย ไคโรเป็นเจ้าภาพการประชุมที่ให้ฝ่ายต่อต้านมารวมตัวกัน แต่เจตนากันแนวร่วมแห่งชาติซีเรีย(the Syrian National Coalition) ออกไป และยังคงไม่ตอบคำร้องขอเพื่อไปเยือนของคอลิด โคจา ประธานแนวร่วม (ดังที่เขาเองบอกกับหนังสือพิมพ์อัล-วาตัน ของกาตาร์) ยังมีการคาดเดาว่ากองทัพอียิปต์อยากที่จะสงวนการลงมติของกองทัพซีเรีย และอียิปต์ต้องการที่จะนำซีเรียกลับเข้าสู่สันนิบาตอาหรับ ซาอุดิอาระเบียคัดค้านความคิดนั้น และอาจขู่ว่าจะถอนความช่วยเหลือทางการเงินเพื่อป้องกันการดำเนินการเช่นนั้น อย่างไรก็ตาม ซีซี่ได้ลงความเห็นร่วมกันแล้ว คืนก่อนการเดินทางไปริยาด เขาได้พูดถึงความจำเป็นที่จะต้องมี “การแก้ปัญหาทางการเมือง ด้วยการรักษาเอกภาพในดินแดนซีเรีย และการต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้าย” ขณะที่เลี่ยงคำถามเกี่ยวกับอนาคตของอัสซาดในการแก้ปัญหานี้
ในเร็วๆ นี้ อียิปต์จะเป็นเจ้าภาพจัดการประชุมสุดยอดด้านเศรษฐกิจและการประชุมสุดของชาติอาหรับ ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงความเป็นปกติของความสัมพันธ์ซาอุดี้ฯ-อียิปต์ ดูเหมือนว่าทั้งสองฝ่ายอยากที่จะรักษาความสัมพันธ์เอาไว้ แม้ว่าจะมีเป้าหมายและความหวังที่แตกต่างก็ตาม ความกระตือรือร้นของอียิปต์แสดงผ่านทางแถลงการณ์ของซีซี่ ขณะที่ความกระตือรือร้นของซาอุดี้ฯ ปรากฏชัดด้วยการตัดสินใจของกษัตริย์ที่จะเสด็จไปท่าอากาศยานเป็นการส่วนพระองค์เพื่อต้อนรับประธานาธิบดีซีซี่ อย่างไรก็ตาม คำถามสำคัญคือ ความช่วยเหลือทางการเงินจะมีมาหรือไม่?
(ภาพ) ประธานาธิบดีเรเซพ ตอยยิบ เออร์ดูกัน ของตุรกี (ซ้าย) เข้าพบกับกษัตริย์ซัลมานแห่งซาอุดี้ฯ ในกรุงริยาด ซาอุดิอารเบีย เมื่อ 2 มีนาคม 2015 การเข้าพบครั้งนี้เป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดด้านความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างซาอุดิอารเบียกับตุรกี ที่เกิดขึ้นในสมัยของกษัตริย์อับดุลลอฮ์ผู้ล่วงลับ เนื่องจากเออร์ดูกันวิจารณ์ทหารอียิปต์ที่นำไปสู่การขับไล่ประธานาธิบดีมุฮัมมัด มุรซี มุสลิมสายเคร่ง ออกจากอำนาจ
ซาอุดิอาระเบียต้องการอียิปต์และตุรกีในทางการเมืองและการทหารในการเผชิญหน้ากับอิหร่าน ความสัมพันธ์กับไคโรมีความมั่นคงแม้ว่าจะมีความเปลี่ยนแปลงอยู่บ้าง การพูดถึงการฟื้นฟูกลุ่มภราดรภาพมุสลิมภายใต้การกดดันของสหรัฐฯ และเนื่องจากอาหรับและนานาชาติจำเป็นต้องเผชิญหน้ากับรัฐอิสลามแห่งอิรักและซีเรีย(ไอซิซ) อาจจะเป็นเรื่องที่เกินจริงอยู่มาก ก่อนที่ซีซี่จะเดินทางไปริยาด ได้มีการตัดสินประหารชีวิตบรรดาผู้นำกลุ่มภราดรภาพมุสลิมในไคโร และศาลอียิปต์ได้จัดให้ฮามาสเป็นองค์กรก่อการร้าย
คำตัดสินเหล่านี้เพิ่มความโกรธให้แก่ประธานาธิบดีเรเซพ ตอยยิบ เออร์ดูกัน และบางทีอียิปต์อาจต้องการทำให้เขาโกรธโดยเจตนา ก่อนมุ่งหน้าจากตุรกีไปซาอุดิอารเบีย เขาประกาศว่าจะไม่พบกับซีซี่ในริยาด และเรียกร้องให้ไคโรกระทำการสำคัญบางอย่างก่อนการพบปะกันเช่นนั้นจะเกิดขึ้น คงยากที่จะจินตนาการถึงการจับมือกันระหว่างเออร์ดูกันและซีซี่ ตราบใดที่ประธานาธิบดีอียิปต์ยังคงดำเนินการกับภราดรภาพมุสลิม โครงการของตุรกีในตะวันออกกลางขึ้นอยู่กับกลุ่มภราดรภาพมุสลิม
ถึงแม้อียิปต์กับตุรกีจะไม่ลงรอยกันเช่นนี้ ซาอุดิอารเบียก็ยังพยายามที่จะเป็นศูนย์กลางการระดมพลระดับภูมิภาคเพื่อต่อต้านโครงการของอิหร่าน ที่ได้เพิ่มแรงเคลื่อนไหวจากอิรักไปถึงเยเมน ตลอดไปจนถึงการเปลี่ยนแปลงทางทหารที่เกิดขึ้นกับแนวร่วมทางภาคเหนือและภาคใต้ของซีเรีย
การระดมพลนี้เป็นเรื่องสำคัญมากท่ามกลางการพูดถึงการทำข้อตกลงกันของอิหร่านและอเมริกาที่กำลังจะเกิดขึ้น ประธานาธิบดีบารัก โอบาม่า ซึ่งส่งคณะผู้แทนจำนวนมากไปยังซาอุดิอารเบียเพื่อแสดงการสนับสนุนกษัตริย์ซัลมานไม่กี่ชั่วโมงหลังจากกษัตริย์อับดุลลอฮ์สิ้นพระชนม์ ได้เป็นเจ้าภาพต้อนรับเจ้าชายแห่งกาตาร์ ผู้ซึ่งได้พัฒนาความสัมพันธ์อย่างน่าสังเกตกับซาอุดิเอารเบียในหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากนี้ วอชิงตันได้ประกาศข้อตกลงกับเออร์ดูกันในการที่จะฝึกซ้อมฝ่ายต่อต้าน “สายกลาง” ในซีเรีย เห็นได้ชัดว่าวอชิงตันมีความระมัดระวังในการวิเคราะห์ขอบเขตความสมดุลของภูมิภาคแม้ในขณะที่มันมีความผิดพลาดสูงในภูมิภาค
ผลสะท้อนกลับแรกจากการระดมพลของซาอุดี้ฯ ครั้งนี้ จะปรากฏชัดขึ้นที่ไหน?
ต้องจับตาดูเยเมนอย่างใกล้ชิด (ภาคใต้ของมันอาจจะแตกแยกออกเป็นเสี่ยงต่อหน้ากลุ่มประเทศอ่าว) และต้องจับตาดูแนวร่วมต่างๆ ในซีเรียด้วย ในทางกลับกัน อิรักถูกตะวันตกกำหนดให้ต่อสู้กับกลุ่มก่อการร้าย จึงยากที่จะยอมให้ตัวละครในภูมิภาคเข้ามาเปลี่ยนแปลงกฎกติกาที่นั่นในขณะนี้
แปล/เรียบเรียงจาก http://english.al-akhbar.com/node/24037
นักแปล, โต๊ะข่าวต่างประเทศ