เป็นเรื่องปกติที่ มุสลิมก่อนจะเดินทางหรือเมื่อเดินทางไปถึงที่ที่แห่งหนึ่งแล้ว อันดับแรกที่ต้องคำนึงถึงคือเรื่องการสรรหา ‘พรรคพวก’ เดียวกัน ในที่นี้หมายถึงกลุ่มที่มีอัตลักษณ์ทางด้านมิติศาสนาเหมือนกัน เพราะเงื่อนไขของศาสนาอิสลาม จึงเป็นเหตุให้มุสลิมมีความทะเยอทะยานทางด้านการสรรหาสังคมทางศาสนา ซึ่งข้าพเจ้าก็เป็นเช่นนั้น
เดือน สิงหาคมปี 2544 เป็นครั้งแรกที่ข้าพเจ้าเดินทางถึงกรุงปักกิ่ง ก่อนออกเดินทางมีอาจารย์และเพื่อนๆ ที่ให้ข้อมูลเรื่องชุมชนมุสลิมในปักกิ่งบ้างพอหอมปากหอมคอ เมื่อมีโอกาสก็มุ่งไปยังชุมชนมุสลิมที่ใหญ่ที่สุด คือ ชุมชนหนิวเจีย ซึ่งเป็นชุมชนชาวหุยที่เก่าแก่และใหญ่ที่สุดในกรุงปักกิ่ง
เมื่อ ถึงชุมชนดังกล่าวสิ่งที่พบเห็นคือมัสยิดเก่าแก่ที่เป็นรูปแบบของสถาปัตยกรรม จีน และเต็มไปด้วยร้านขายอาหารประเภทแป้ง เกี๊ยวซ่า บะหมี่ และอาหารพื้นเมืองแบบมุสลิมปักกิ่งต่างๆ เมื่อได้แวะไปชุมชนดังกล่าวบ่อยขึ้น
ข้าพเจ้า ก็เริ่มเกิดคำถามต่างๆ มากมาย ทำไมร้านขายอาหารมุสลิมแทบทุกร้านมีเครื่องดื่มประเภทเหล้าเบียร์ ทำไมไม่ได้ยินเสียงอะซานทั้งๆ อยู่ติดกับมัสยิด และทำไมแทบจะไม่เห็นผู้หญิงที่แสดงสัญลักษณ์ทางศาสนาด้วยการคลุมผมเลย เป็นต้น
ในฐานะที่เป็นมุ สลิมะห์คนหนึ่ง จึงให้ความสนใจกับประเด็นสุดท้ายมากว่า ทำไมสรรหาสังคมของผู้หญิงมุสลิมผ่านการ ‘มองเห็นผ้าคลุมผม (ฮิญาบ)’ ลำบากจัง?
ก่อนสงครามโลก ครั้งที่สองบริเวณหนิวเจีย ปรากฏมัสยิดสำหรับปฏิบัติศาสนกิจและเรียนศาสนาของสตรีโดยเฉพาะ (ชิงเจินหนี่วซื่อ) และยังพบว่ามีโรงเรียนสำหรับผู้หญิงชาวหุย (ชาวหุย หมายถึงหนึ่งใน ‘กลุ่มชาติพันธุ์’ ที่นับถือศาสนาอิสลามของจีน) ที่ชื่อว่า ‘ซินเย่วหนี่จื่อ’
ทว่า เอกสารที่บันทึกเรื่องราวและเหตุการณ์ของมัสยิดเหล่านี้มีจำกัดมาก แต่ก็เพียงส่วนน้อยเท่า ผู้หญิงชาวหุย ส่วนใหญ่ยังคงรักษาจารีตแบบเดิมคือ ‘ไม่ยอมก้าวออกจากบ้าน’ หลังจากที่โรงเรียนเปิดทำการได้ไม่นานก็ต้องปิดโรงเรียน เพราะไม่มีผู้เรียนทำให้โรงเรียนขาดรายได้ในการสนับสนุน
แม้ว่า ส่วนที่มีโอกาสได้ศึกษาหลังสำเร็จ การศึกษาแล้วก็มิได้ทำงานรับใช้สังคม หลังจากที่จีนสถาปนาเป็นประเทศจีนใหม่ (สาธารณรัฐ ประชาชาชนจีน) ในปี ค.ศ.1949 ผู้หญิงในจีนเริ่มเข้าสู่ภาวการณ์ปลดปล่อย ทำให้ผู้หญิงชาวหุยพลอยก้าวออกบ้านด้วย มีการจัดตั้งกลุ่มเรียนรู้ต่างๆ เช่น กลุ่มเรียนตัดเย็บ กลุ่มเรียนกฎหมาย กลุ่มเรียนหนังสือ จึงทำให้ผู้หญิงจีนมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านการเมือง และทางด้านเศรษฐกิจอย่างอย่างชัดเจน
นอกจาก นี้แล้วรัฐยังได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทางด้านการศึกษาของกลุ่มชนชาติใน ช่วงเวลาดังกล่าว โดยได้จัดรูปแบบการศึกษาที่เหมาะสม ดูแลลักษณะความแตกต่างของแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ โดยได้จัดให้ผู้เชี่ยวชาญทางด้านนี้เป็นผู้ดูแล จะเห็นได้ว่าหลังการสถาปนาผู้หญิงชาวหุยมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านต่างๆ ค่อนข้างมาก การก้าวออกจากบ้านสู่สังคมของผู้หญิงชาวหุย ก็นับว่าเป็นช่วงที่ ‘ขรุขระ’ อีกช่วงหนึ่ง แต่ที่น่าสนใจมากกว่านั้นก็คือ ระหว่างทางเดินนั้นพวกเขามีการปรับตัวอย่างไร?
จากที่ได้พูดคุยกับผู้หญิงชาวหุยสามรุ่น มีคุณย่าอายุประมาณ 80 ปี เขาเล่าให้ฟังว่า
“สมัย เขาเป็นสาว ซึ่งเป็นช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง ตอนนั้นก็อาศัยอยู่กับบ้าน ช่วยพ่อแม่ทำงานบ้านและงานฝีมือบ้าง ในช่วงปกติก็ปฏิบัติศาสนกิจบ้างเล็กน้อย แต่ถ้าถึงเดือนรอมฏอนก็จะถือศีลอดตามพ่อ เมื่อตัวเองโตขึ้นก็มีคนแนะนำให้แต่งงาน เมื่อผู้ปกครองเห็นด้วยตัวเองก็เห็นดีด้วย”
หลัง จากที่แต่งงานมีลูกสาว ซึ่งขณะนี้เป็นลูกสาววัยเกษียณจากพนักงานรัฐ ตอนนี้ในทุกครั้ง ที่มัสยิดมีการสอนภาษาอาหรับ ลูกสาวก็จะไปเข้าร่วมเรียน เรียนสัปดาห์ละประมาณ 3 ครั้ง ครั้งละประมาณ 3 ชั่วโมง ทุกครั้งที่ลูกสาวไปเรียนที่มัสยิด ลูกสาวจะแต่งกายให้เรียบร้อยตามหลักศาสนา โดยการใส่หมวกสีขาวแทนผ้าคลุมผม (ฮิญาบ) เมื่อถามถึงแรงดลใจในการเรียนภาษาอาหรับ ลูกสาวเล่าให้ฟังว่า
“เมื่อ ตอนเป็นเด็กบ้านอยู่ติดมัสยิด เวลามีกิจกรรมอะไรก็ไปเข้าร่วม อย่างเช่นเมื่อถึงเดือนรอมฎอน ก็ไปร่วมทานอาหารละศีลอดที่มัสยิด เพราะช่วงนั้นจะเป็นช่วงที่มัสยิดดูสวยที่สุดในรอบปี เพราะเต็มไปด้วยโคมไฟสีแดง ช่วงที่เป็นสาวตรงกับช่วงปลดปล่อยของสตรี แม้เป็นกลุ่มชาติพันธุ์แต่ก็ได้รับอิทธิพลจากชนกลุ่มใหญ่
ช่วง นั้นนิยมเรื่องการเลือกคู่ครองเอง ตัวเองก็เลยเลือกแต่งงานกับหนุ่มที่ไม่ใช่ชาวหุย และหลังจากที่เข้ารวมกิจกรรมของทางรัฐในช่วงปฏิวัติวัฒนธรรม (ปี 1966-1976) แม้ว่าตัวเองจะมีลูกสาวแล้วสองคน แต่ก็ต้องเลิกรากับแฟนเก่าเพราะความผิดพ้องหมองใจในเรื่องวัฒนธรรม ปัจจุบันจึงอยู่ร่วมกับสามีคนใหม่ ระหว่างที่ทำงานก็ได้พยายามรักษาวัฒนธรรมของตัวเอง แต่ที่ทำได้ก็เฉพาะการระวังในเรื่องอาหารการกิน ตอนนี้คิดว่าตัวเองมีความรู้เกี่ยวกับศาสนาน้อยไปจึงอยากกลับเข้าไปศึกษา ศาสนาอีกครั้ง ”
เมื่อข้าพเจ้า มีโอกาสพบปะกับหลานสาว ในบ้านของคุณย่า ถ้ามองจากการแต่งตัวจะ ไม่พบกลิ่นอายของความเป็นมุสลิม ตอนนี้ หลานสาวเป็นครูสอนดนตรีที่โรงเรียนประถม แห่งหนึ่งในชุมชน เมื่อพูดถึงความลำบากใจ ในเรื่องการคบกับเพื่อนร่วมงานที่ไม่ใช่ชาวหุย หลานสาวตอบว่า
“ก็รู้สึก เฉยๆ ไม่มีความลำบากใจอะไร เพราะเขาเข้าใจเรื่องวัฒนธรรมของเรา อาหารที่ทานนั้นโรงเรียนก็ได้จัดให้ ส่วนศาสนกิจต่างๆ ยังไม่ค่อยได้ปฏิบัติ ตอนนี้คบกับแฟนที่ไม่ใช่ชาวหุย แต่ก็จะพยายามให้เขาได้ศึกษาศาสนาอิสลาม”
เมื่อพูดถึงช่องทางที่เปิดกว้างในเรื่องการศึกษาอิสลาม ลูกสาวบอกว่า “ถ้ามีโอกาสก็อยากศึกษาให้มากกว่านี้เหมือนกัน”
จาก ตัวอย่างดังกล่าวเราสามารถกล่าวได้ว่า บางอย่างของผู้หญิงชาวหุย ที่สืบทอดมาถึงรุ่นหลานได้นั้นเป็นเพราะว่ามีนโยบายเกื้อหนุนจากรัฐ เช่นนโยบายการการเคารพในเรื่องความแตกต่างเกี่ยวกับอาหารการกิน รัฐมีข้อกำหนดไว้ว่าไม่ว่าจะเป็นโรงเรียนระดับใดๆ ถ้ามีนักเรียนนักศึกษาที่เป็นมุสลิม ก็จะต้องจัดโรงอาหารมุสลิมด้วย
นอกจาก นี้แล้วการอาศัยอยู่ในชุมชนมุสลิมที่ให้ความสะดวกทางด้านต่างๆ อยู่แล้ว ก็เป็นการ“เตือนสติ”ในเรื่องอัตลักษณ์ของตัวเองทั้งทางตรงและทางอ้อมอยู่ ตลอดเวลา
อนึ่ง ความเหนียวแน่นของชุมชนก็เป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการสืบทอดเช่นกัน ในหนังสือประวัติหนิวเจีย กล่าวไว้ว่า “เรื่องอาหารการกินต้องสมบรูณ์และสะอาด มิให้ผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมจำหน่าย”
แม้ว่า ทุกวันนี้จะแลดูมีความเกินจริง แต่ก็สะท้อนให้เห็นสภาพจิตใจของคนสมัยนั้น และประเด็นที่สำคัญอีกประเด็นหนึ่งคือ ความมั่นคงทางด้านเศรษฐกิจ สืบเนื่องจากนโยบายแก้ไขความจนต่างๆ ของรัฐบาล จึงทำให้ ผู้หญิงชาวหุย สามารถให้เวลากับวัฒนธรรมของตัวเองมากขึ้น เช่น การเข้าไปเรียนภาษาอาหรับของลูกสาว อาชีพการงานของลูกสาว นอกจากจะสร้างรายได้แล้วยังให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมของตนเอง โดยจะเห็นได้จากการเรียกร้องให้คู่ครองเข้ารับนับถือศาสนาอิสลาม
นโยบาย การศึกษาของรัฐทำให้ผู้หญิงชาวหุย มีโอกาสก้าวเดินออกจากบ้านมากขึ้น สมัยคุณย่านั้นมีโรงเรียนที่จำกัด และสภาพสังคมในสมัยนั้นก็ไม่มีใครยอมส่งลูกไปโรงเรียน รุ่นลูกนั้นมีโอกาสได้เรียนการศึกษาขั้นพื้นฐาน จนจบระดับชั้นมัธยมจนได้เป็นพนักงานรัฐ
ส่วน ลูกนั้นเรียนจบระดับปริญญาตรีอย่างราบรื่น และระหว่างเรียนก็ได้รับการดูแลจากภาครัฐอย่างดี การพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจ จาก ‘มีดสองด้าม เชือกแปดเส้น’ (อาชีพ เชือดสัตว์) ของชาวหนิวเจีย ได้รับการสร้างงาน ให้ผู้หญิง ซึ่งเป็นนโยบายจากรัฐบาลท้องถิ่น และการก้าวออกจากบ้านของลูกสาว เป็นการก้าวที่ยิ่งใหญ่ ทำให้ลูกสาวมีหูตามีความ กว้างขวางขึ้น แล้วยังสามารถสร้างรายได้ให้กับตัวเองได้อีกด้วย การที่ลูกและหลานมีความเสรีในการเลือกคู่ครองนั้น ก็เป็นผลมาจาการเปลี่ยนแปลง ทางด้านนโยบาย ‘สมรสอย่างเสรี’ ที่ทางรัฐบาลเปิดกว้าง ยิ่งการเปิดกว้างนโยบาย ความเสรีของสตรีทั่วประเทศจีน ทำให้สตรีสมัยใหม่ของจีนมีความแตกต่างจากสังคม เดิมมาก ไม่ว่าจะทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง การศึกษา จากคติสังคมเดิมที่ว่า “บุรุษคุมนอก(บ้าน) ผู้หญิงดูใน(บ้าน)” ก็มีการเปลี่ยนไป ผู้หญิงชาวหุยเพียงกลุ่มเล็กๆ ภายใต้วัฒนธรรมอันยิ่งใหญ่ของจีน ก็ย่อมได้รับอิทธิพลจากสถานการณ์ดังกล่าว
จะ เห็นได้ว่าแม้การเปลี่ยนแปลงของ ผู้หญิงชาวหุย เป็นการเปลี่ยนแปลงแบบ ค่อยเป็นค่อยไป แต่การเปลี่ยนแปลงนั้นเป็นการเปลี่ยนแปลงตามกระแสของสังคมส่วนรวม สิ่งที่พึงระลึกถึงก็คือความสมดุล ในการจัดการระหว่างอัตลักษณ์ของชาติพันธุ์กับกระแสสังคม จะได้ไม่เกิดคำถามที่ว่า “ผู้หญิงชาวหุยจะเหลือเพียงเรื่องอาหารการกิน ?”
ตีพิมพ์ครั้งแรก : พับลิกโพสต์ ฉ.31 สิงหาคม 2553
อาจารย์ประจำ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
nisareen@mfu.ac.th