เปิดโลกการลงทุนผ่าน “กองทุนอิสลามธ.ก.ส.”

“นายสมบูรณ์   ศุภกิจกุล” ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายเงินฝาก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์

ความน่าสนใจในความหลากหลาย ยุติธรรม ถูกต้องตามหลักการอิสลาม เจาะลึกระบบ “กองทุนอิสลาม ธ.ก.ส.”  ทางเลือกแห่งธุรกิจที่ดีที่สุดตามหลักศาสนาที่หลายคนมองข้ามเพราะความไม่ เข้าใจ  หนึ่งในช่องทางแห่งการลงทุนที่ ไม่จำกัดเฉพาะอิสลาม ผ่าน  นายสมบูรณ์ ศุภกิจกุล ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายเงินฝาก

“กองทุน อิสลาม” เป็นอีกหนึ่งในการลงทุนที่คุ้มค่า แต่มักถูกมองข้ามและตั้งคำถามจากสังคมทั่วไป ด้วยความไม่เข้าใจ ผสมปนเปไปกับความ “ไม่รู้” ทั้งในแง่มุมของ “ความคุ้มค่าสำหรับการลงทุน” และ แง่มุมในด้าน “หลักการหลักเกณฑ์” ตลอดจนแง่มุมของการ “บริหาร” ที่ทำให้โอกาสดีๆ ในการลงทุนที่แสนจะคุ้มค่าต้องสูญเสียไป ซึ่งในข้อเท็จจริงแล้ว “กองทุนอิสลาม”เป็นอีกหนึ่งใน “การลงทุนที่ให้ความคุ้มค่า” และ “มีหลักเกณฑ์” ที่น่าสนใจไม่น้อย แทบจะ “ไม่ต่าง” หรือบางครั้งอาจจะ “มากกว่า” การลงทุนในประเภทอื่นๆ ทั่วๆไป

“พับ ลิกโพสต์” จะพามาทำความรู้จักกับ “กองทุนอิสลาม” แบบเจาะลึก กับ “ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ หรือ ธ.ก.ส.ที่เป็นหนึ่งในแนวทางเลือกสำหรับพอร์ตการลงทุนที่ดี ในหลากหลายแง่มุม ผ่าน “นายสมบูรณ์   ศุภกิจกุล” ผู้ช่วยผู้อำนวยการฝ่ายเงินฝาก ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์

000…ก่อนอื่นคงต้องขอทำความรู้จักกับ “กองทุนอิสลาม” ว่ามีที่มาที่ไปอย่างไร  

กองทุน อิสลามเป็นส่วนหนึ่งของงานด้านเงินฝาก มีการจัดตั้งขึ้นมาตั้งแต่ปี 2542 เป็นไปตามมติของจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ต้องการ สถาบันการเงินในระบบของอิสลามกันมาก ทางรัฐบาล (ในสมัยนั้น) เห็นชอบและให้ไปศึกษาความเป็นไปได้ในการจัดตั้ง โดยผ่านช่องทางธนาคารเฉพาะกิจของรัฐบาล ที่มีอยู่ ทั้งธ.ก.ส. ออมสิน และธ.กรุงไทย เพื่อให้พี่น้องมุสลิมสามารถใช้บริการในระบบอิสลามได้ ซึ่งต่อมามีการยุบรวมเป็นของธนาคารอิสลาม

โดย ในส่วนของธ.ก.ส.เอง เป็นนโยบายของผู้จัดการ ของธ.ก.ส.ที่มองว่า เกษตรกรชาวมุสลิมที่เป็นลูกค้ามีมาก ซึ่งธ.ก.ส.มีศักยภาพที่จะสามารถนำเอาเรื่องนี้มาทำเองได้ จึงเอามาดำเนินการเอง ซึ่งผลิตภัณฑ์เป็นผลิตภัณฑ์ ในส่วนของการเกษตรที่ไม่ขัดต่อหลักศาสนา นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้น

000…กองทุนอิสลามในส่วนของธ.ก.ส.มีลักษณะเป็นอย่างไรเมื่อเปรียบเทียบกับที่อื่นๆ

กองทุน อิสลามของธ.ก.ส.เองมีลักษณะไม่หวือหวา จุดนี้เองที่ไม่เหมือนกับการลงทุนในรูปแบบอื่นๆ เพราะจะต้องเป็นไปตามหลักการทางศาสนาอย่างเคร่งครัด และมีข้อจำกัดในเรื่องของเงินทุน ลักษณะเดียวกับการทำธุรกิจฮาลาลทั่วไปๆ คือจะต้องระดมเงินฝากมาก่อน ได้มาเท่าไหร่จึงจะมาจัดระบบของสินเชื่อ ซึ่งถ้าระดมเงินฝากไม่พอ จะไม่สามารถที่จะใช้การระดมระบบดอกเบี้ยมาปล่อยได้ เพราะผิดจากหลักการ

ดัง นั้น เราต้องทำตามจำนวนเงินฝากที่มีคือมีพอร์ตสินเชื่อพันล้านก็ต้องหาเงินฝากพัน ล้าน โดยแนวทางในการสร้างผลิตภัณฑ์ ก็จะต้องเน้นไปที่การใช้เงินฝาก โดยจะแนะนำส่งเสริม และประชาสัมพันธ์ ให้กับลูกค้าเพื่อให้เข้าใจ และเข้ามาลงทุน
ทำให้ในส่วน ของกองทุนอิสลามนั้น อิงไปที่เรื่องของเงินฝาก และสังกัดอยู่ใน ฝ่ายเงินฝากของธ.ก.ส. ที่จะเป็นผลิตภัณฑ์เป็นช่องทางหนึ่งสำหรับพี่น้องมุสลิมและคนทั่วไป

ซึ่ง โดยหลักการแล้วไม่จำกัดเฉพาะความเป็นมุสลิม กองทุนอิสลามเปิดกว้างให้นักธุรกิจมุสลิม หรือต่างศาสนิก สามารถเข้ามาลงทุน ทั้งในส่วนของเงินฝากและในส่วนของสินเชื่อได้ กองทุนนี้สนับสนุนธุรกิจอื่นได้ แต่มีหลักการสำคัญคือต้องไม่ขัดต่อหลักศาสนา
000…การขยายตัวของกองทุนอิสลามนับตั้งจุดเริ่มต้นจนถึงปัจจุบัน มีแนวโน้มเป็นอย่างไร

มี แนวโน้มขยายตัวค่อนข้างดี โดยก่อนหน้านี้ส่วนตัวทำในส่วนของกองทุนประกอบพิธีฮัจญ์ที่จังหวัดสตูลใน ช่วงปี 2539-2540 เลยนำเอามาต่อยอดในส่วนของกองทุนนี้ ในเรื่องของกองทุนฮัจญ์ที่ใช้ระบบคล้ายๆ กับของทางมาเลเซีย คือการฝากในระบบอิสลามที่ไม่มีดอกเบี้ย แต่แปรมาเป็นเรื่องของการประกอบศาสนกิจที่เป็นผลตอบแทน ในการได้โอกาสเดินทางไปประกอบพิธีฮัจญ์ มีการทำประกันให้กับลูกค้า

ใน ช่วงแรกมีพอร์ตอยู่ที่ เกือบๆ 30 ล้านบาท จนธนาคารเริ่มเห็นความสำคัญในจุดนี้ ในช่วงแรกๆ ความเข้าใจของคนทั่วไปและเกษตรกรคือความเป็นธ.ก.ส.ที่จะมองว่าเป็นการจ่าย ดอกเบี้ยเพียงอย่างเดียว แต่ในความเป็นจริงเมื่อมาเป็นกองทุนอิสลามแล้วก็ยังนำเอาข้อดีจากจุดเดิมของ ความเป็นกองทุนฮัจญ์เข้ามา และใช้หลักการอิสลามโดยเคร่งครัด เรายึดหลักการให้สินเชื่อในระบบอิสลามตรงนี้ที่แตกต่าง และเมื่อนานเข้าๆ ลูกค้าทั่วไปก็จะเห็นความแตกต่างอย่างชัดเจน จนสามารถเป็นที่ไว้ใจของชาวมุสลิมได้เป็นอย่างดี ว่ากองทุน มีความเคร่งครัดในเรื่องของหลักการอิสลามสูงมากๆ และเชื่อมั่นได้

คือ ในหลักการอิสลามนั้นจะต้องฮาลาล ตั้งแต่เรื่องของการทำธุรกิจ หาเงินทุน เรื่องของสินเชื่อ ทั้งหมดต้องฮาลาลจริงๆ คือต้องฮาลาลตั้งแต่ต้นน้ำกลางน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ทุกอย่างต้องชัดเจน เรามีฝ่ายสินเชื่อที่ดูแลในด้านการลงทุนทั่วไป ในธุรกิจต่างๆ และธุรกิจฮาลาลอย่างธุรกิจบริการ ที่พักร้านอาหาร ซึ่งสามารถใช้แหล่งเงินทุนในส่วนนี้ไปทำได้ แต่ทุกอย่างต้อง ฮาลาล

000..ใครดูแลว่าฮาลาลหรือไม่?

เรา มีบอร์ด ในลักษณะของบอร์ดชารีอะห์ ซึ่งเป็นคณะกรรมการที่ปรึกษา มีอาจารย์อรุณ  บุญชม เป็นประธาน นอกจากนั้นยังมีนักวิชาการผู้รู้ศาสนา ทั้งหมด 5 ท่าน ที่คอยดูแล ทั้งหมด

000…กองทุนนี้ของธ.ก.ส.ถ้าเปรียบเทียบกับการดำเนินงานของธนาคารอิสลามแห่งประเทศไทย

มา จากหลักการเดียวกัน ตอนนี้ไม่ว่าใครทำสหกรณ์อิสลามก็ต้องยึดหลักนี้ ในทางอิสลามจะมีหลักและแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจน หัวใจสำคัญคือต้องปลอดในเรื่องของดอกเบี้ย เป็นไปตามที่บัญญัติในพระมหาคัมภีร์อัลกุรอาน ที่ว่าอัลเลาะห์ทรงอนุมัติในเรื่องของการค้า ห้ามในเรื่องของ “ริบา”

ซึ่ง คำว่า “ริบา” นี้ ส่วนใหญ่เราจะคิดว่าเป็นดอกเบี้ย คือกรณีการไม่ใช้เป็นตัวเงินในการแลกเปลี่ยนกันก็เป็นลักษณะเดียวกัน อาจจะเป็นสิ่งของแลกเปลี่ยนกัน สิ่งของเหมือนกัน สมมุติเป็นข้าวสาร เราเอาข้าวหอมมะลิอย่างดี เอาของเขามา เวลาให้คืนเป็นข้าวชนิดอื่นอันนี้ผิด การแลกเปลี่ยนต้องเท่าเทียมยุติธรรมในทุกๆ ด้าน

หรือ แม้แต่เรื่องของข้อตกลงในด้านเวลา เมื่อตกลงว่าจะแลกเปลี่ยนกันแล้วไปยืดยื้อให้ยืดเยื้อ อันนี้ก็ไม่ได้  ในเรื่องของเงิน มาคิดต่อยอด เพื่อให้เกิดประโยชน์ หรือการทำสัญญากู้ เอาดอกเบี้ยทบต้นถือว่าเป็นริบาเช่นเดียวกัน

000…ในระบบธนาคาร จะมี ริบาหรือไม่ ทำอย่างไรและมีวิธีปฏิบัติในการบริหารอย่างไร

ที่ ผ่านมา ความเข้าใจไม่ถูกต้องคือเรื่องของค่าธรรมเนียม และวิธีปฏิบัติเมื่อเป็นสถาบันทางการเงิน  ถ้าธ.ก.ส. ไม่คิดดอกเบี้ยจะเอากำไรจากไหน ธ.ก.ส.คิดกำไรเหมือนกัน แต่ในระบบจะขึ้นไปตามระยะเวลา ไม่เหมือนระบบดอกเบี้ยในตลาด เราตกลงในราคาที่ชัดเจนแล้วและยืนตามราคานี้ไม่เปลี่ยนแปลง ส่วนค่าธรรมเนียมเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดการห้ามหักก่อน เราใช้วิธีบวกค่าธรรมเนียมก่อนรวมไปในส่วนนั้นเลย  แต่การซื้อสินค้ามาบวกกำไร ในความยุติธรรมผู้ซื้อผู้ขายยินยอม ก็เป็นเรื่องที่ถูกต้อง วิธีบริหารในส่วนนี้ของ ธ.ก.ส.คือทำแบบบวกกำไรเข้าไปก่อน ตามหลักศาสนา และตกลงในราคานี้

สมมุติ กรณีของการซื้อที่ดินมาในราคา 1 ล้านบาท ที่อาจเป็นการผ่อนรอบ 10 ปี  สมมุติราคาที่ดิน 1 ล้านบาท ในส่วนของการผ่อนมันก็จะไม่เป็นเหมือนกับระบบปกติ ทางธ.ก.ส.ก็จะขายให้ลูกโดยการคำนวนล่วงหน้าถึงกำไรในช่วง 10 ปีที่ผ่อน ซึ่งจริงๆ ในอีก 10 ปีข้างหน้าที่ดินแปลงนี้อาจจะมีราคาสูงถึง 2 ล้านบาท เราก็ตกลงซื้อกันที่ 1.5 ล้านบาท ถ้าผู้ซื้อไม่ตกลงก็จบกัน แต่ถ้าเห็นชอบด้วยกันทั้งสองฝ่ายก็โอเค นี่คือหลักการที่ถูกต้องตามหลักศาสนา มีความยุติธรรม  ก็เราบวกราคากำไรไปเลย 10 ปี แล้วก็มาผ่อนกัน ตามกำลังตามความสามารถ ตกลงกันในราคาไหนราคานั้นไม่มีการบวกเพิ่ม เราก็ใช้หลักตรงนี้ในการดำเนินธุรกิจ

000..ความแตกต่างระหว่างระบบของอิสลามกับทั่วไปอยู่ตรงไหน

คือ การมองภาพนี้อาจจะมองยากซักหน่อย แต่อธิบายง่ายๆ ว่า ในระบบทั่วไปสมมุติเป็นการซื้อปากกาแท่งละ 10 บาท ในระบบธนาคารทั่วๆ ไป ก็คือ ซื้อมา 10 บาท เอาไปบวกดอกเบี้ย แล้วดอกเบี้ยก็ขยับไปเรื่อยๆ ตามปี หรือตามเวลาที่กำหนด คืออาจผ่อนไปเดือนละ 1 บาท ครบ 10 บาท แล้วก็ผ่อนดอกเบี้ยต่อไปอีก หรือในกรณีเกิดปัญหาดอกเบี้ยก็จะวิ่งตามตัวไป

แต่ ในระบบของอิสลาม เราจะบวกกำไรเข้าไปก่อนเลย คือขายปากกานี้ธ.ก.ส.ซื้อมาในราคา 10 บาท ต้องการกำไร 2 บาท ขายให้ลูกค้าในราคา 12 บาท   ซื้อสดมา 10 บาท ลงทุนไปแล้ว 10 บาท ผมต้องการกำไร 2 บาทก็มาเสนอในราคานั้น 12 บาท ส่วนของกำไรคือชัดเจนกว่า แน่นอนกว่า ไม่มีบวกเพิ่มทีหลัง ลูกค้าเข้ามาจะให้วันไหนก็ 12 บาท เมื่อนำเอาปากการาคา 10 บาท มาบวกกำไร 2 บาท ขายในราคา 12 บาทแล้ว ต้องมาตกลงกันก่อนว่าเป็นธรรมหรือไม่ ถ้าสองฝ่ายเห็นว่าเป็นธรรมก็โอเค เน้นหลักยุติธรรม ไม่มีดอกเบี้ยตาม คือราคาไหนที่ตกลงกันก็ราคานั้น มาชำระเมื่อไหร่ก็ตามนั้น ที่ 12 บาท

000…การจับรางวัลไปฮัจญ์ ที่ธนาคารจัดให้มีแก่พี่น้องมุสลิม มีส่วนที่ผิดต่อหลักศาสนาหรือไม่

เรื่อง การจับรางวัล ตามแนวทางปฏิบัติของท่านศาสดาที่สมัยก่อนท่านมีภรรยาหลายคน เวลาจะเดินทางไปไหนไปพร้อมกันไม่ได้ ก็ต้องจับฉลากไป มันไม่ใช่เพียงหลักทางวิชาการ แต่ให้ดูซุนนะห์ของท่านศาสดา การจับฉลากไม่ใช่เป็นการเสี่ยงโชค ซึ่งการได้สิทธิจับฉลาก ต้องฝาก 2,000 บาทและฝากต่อเนื่องก่อนจับฉลาก 3 เดือน เป็นการส่งเสริมการออม เพราะการฝากมี 2 ประเภท คือการฝากเงินรักษาทรัพย์ อัลวาดีอะฮ์ ซึ่งเป็นการฝากเหมือนฝากเผื่อเรียกเผื่อถอนไม่มีดอกเบี้ยตอบแทน ฝากไว้หมื่นได้หมื่น ฝากไว้แสนได้แสน หรือฝากล้านก็ได้ล้าน ฝากเท่าไหร่ก็จะอยู่เท่าเดิมไม่มีเพิ่ม ตรงนี้เราเลยใช้เป็นกลยุทธ์ส่งเสริมในเรื่องของศาสนาเป็นสิ่งตอบแทน เรียกว่าให้เป็นสินน้ำใจ ซึ่งเป็นโครงการที่ได้รับการตอบรับจากสังคมมุสลิมเป็นอย่างดี และจะมีต่อไปทุกๆปี

000… จากธ.ก.ส.ถึงพี่น้องมุสลิม

สุดท้าย ขอฝากไปถึงพี่น้องในสังคมมุสลิมทั่วประเทศ ธ.ก.ส.เป็นธนาคารของรัฐบาล สังกัดกระทรวงการคลังและเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ มีความมั่นคง การให้บริการระบบการเงินอิสลามเพื่อให้พี่น้องมุสลิมมีสถาบันการเงินที่ให้ ถูกหลักศาสนา มีความมั่นคงสูงสามารถเข้าถึงได้ง่าย ปัจจุบันมีสาขาทั่วประเทศ 1,157 สาขา ATM 1,301 ตู้ ธนาคารมีผลิตภัณฑ์ที่ผ่านการพิจารณาและรับรองจากนักวิชาการศาสนากำหนดเป็น วิธีปฏิบัติที่ชัดเจนเสนอแก่กลุ่มลูกค้ามุสลิมให้มั่นใจและสามารถเลือกใช้ บริการที่ถูกต้องตามหลักศาสนา