โกมล ดุมลักษณ์ มุสลิม “มือบน” มุ่งมั่นพัฒนาสังคม

สัมภาษณ์ : โกมล ดุมลักษณ์ ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดภูเก็ต รองเลขาธิการคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย

>> “จ.ส.ต.โกมล ดุมลักษณ์” หรือ “อับดุลมาลิก” นอกจากอาชีพประจำในฐานะข้าราชการตำรวจแล้ว วันนี้เขาคือบุคคลที่มุสลิมชาวภูเก็ตไว้วางใจให้ดำรงตำแหน่ง “ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดภูเก็ต”  ยิ่งไปกว่านั้นในระดับองค์กรสูงสุดของมุสลิมไทย เขาก็ยังมีบทบาทในฐานะ “รองเลขาธิการ” คณะกรรมการ กลางอิสลามแห่งประเทศไทย ด้วย วัยเพียง 40 เศษๆ ทั้งยังมีฐานะซึ่งเป็นที่รู้กันว่าเข้าขั้น “มีอันจะกิน” จ.ส.ต.โกมล สามารถที่จะใช้วันเวลาและทรัพย์สินเพื่อตักตวงความสุขสบายในชีวิต ทว่าเขากลับเลือกเส้นทางแห่งการอุทิศตนและ “ควักกระเป๋า” ให้กับการทำงานพัฒนาศาสนาและสังคมเพื่อชาวภูเก็ต และมุสลิมในระดับประเทศ เส้นทางชีวิตจากข้าราชการตำรวจสู่นักพัฒนาผู้มีบทบาทระดับสูงในองค์กรมุสลิมระดับประเทศของเขาผู้นี้จึงน่าสนใจอย่างยิ่ง

>> เส้นทางการเข้ามาทำงานในบทบาทนักพัฒนาสังคม

จุด เริ่มต้นคงมาจากคำสอนของพ่อ ที่ท่านย้ำเสมอให้ลูกไปช่วยเรื่องศาสนา เรื่องของสังคม  ตอนนั้นพ่อให้เงินมาก้อนหนึ่ง เพื่อสนับสนุนให้เอาไปทำงานในแนวทางศาสนาและต้องลงทุนด้วย  ที่ผ่านมาผมสนใจเรื่องของที่ดินมาตลอด จึงทำเป็นธุรกิจซื้อมาขายไป และทำธุรกิจรับเหมาก่อสร้างด้วย ถึงจุดหนึ่งจึงได้เริ่มหันมาช่วยงานองค์กรด้วยการสมัครเป็นคณะกรรมการกลาง อิสลามจังหวัดภูเก็ต ในขณะที่อายุน้อยกว่าคนอื่น

>> เริ่มต้นครั้งแรกกับงานทะเบียนเน้นปรับระบบใหม่    

เข้า มาครั้งแรกอาจจะเป็นเพราะผู้ใหญ่เห็นเราอายุยังน้อยแถมเพิ่งเข้ามาใหม่จึง ได้รับมอบหมายในเรื่องงานทะเบียน จะเป็นเรื่องการจัดตั้งมัสยิดใหม่ จดทะเบียนมัสยิดใหม่ งานสารสนเทศและธุรการต่างๆ ซึ่งดูภายนอกเสมือนว่าจะเป็นงานที่ไม่ค่อยสำคัญนัก แต่ความจริงเป็นงานหนักมากเลย เพราะตอนนั้นทำงานกันแบบไม่มีระบบจึงยุ่งเหยิงไปหมด
ผม เข้าไปจึงเริ่มพัฒนาในเรื่องสารสนเทศของงานทะเบียน ผมต้องรื้อหมด ปรับระบบใหม่โดยการลงทุนเองด้วยเงินส่วนตัว ประมาณ 8 แสนกว่าบาท  ทั้งในด้านการจัดซื้ออุปกรณ์คอมพิวเตอร์ให้ทุกมัสยิด จ้างคนเขียนซอฟแวร์ระบบ เรียกคณะกรรมการมัสยิดฝ่ายทะเบียนมาจัดอบรมให้ความรู้ในเรื่องงานทะเบียน  จัดกิจกรรมให้มีการแข่งขันกันเรื่องไอที ถ้าที่ไหนทำงานได้ก้าวหน้าในเรื่องงานทะเบียน เราจะมอบรางวัลเป็นคอมพิวเตอร์ให้มัสยิด 1 เครื่อง ทำให้มีเจ้าหน้าที่ฝ่ายทะเบียนของมัสยิดต่างๆ ซึ่งในตอนนั้นในภูเก็ตมี 49 มัสยิด ได้เกิดความกระตือรือร้นในการหาความรู้ ทำให้ได้ประโยชน์ในงานทะเบียนมาก

ทำ ไป 2 ปีกว่าๆ องค์กรเริ่มพัฒนาดีขึ้น งานไอทีของผมก็เริ่มก้าวหน้าขึ้น โดยมีนายแพทย์ สมบูรณ์ คาวิจิตร (หมอบูรณ์) ประจำอยู่ที่รพ.ถลาง ซึ่งเก่งเรื่องไอทีได้เข้ามาเป็นประธานที่ปรึกษาในเรื่องไอที มาจัดวางระบบให้ใหม่ จัดทำเวบไซต์ของคณะกรรมการอิสลามจังหวัดภูเก็ต เป็นเวบไซต์แรกคือ www.islaminphuket.com ต่อมาก็ทำเวบไซต์ที่สอง คือ www.masyidthai.com เป็นเวบไซต์เกี่ยวกับงานทะเบียนโดยตรง เพื่อช่วยงานแก้ไขข้อมูลทะเบียน สามารถคีย์เข้าไปได้เลย โดยใช้รหัสส่วนตัวของฝ่ายทะเบียนแต่ละมัสยิด ซึ่งก็ถือว่าทำให้งานเกี่ยวกับทะเบียนของกรรมการอิสลามภูเก็ตเป็นระบบและทัน สมัยอย่างมาก

>> ขยายสู่งานพัฒนามัสยิดและการศึกษา

ตอน เข้าไปทำงานเป็นคณะกรรมการกลางอิสลามภูเก็ต นอกจากทำงานด้านไอทีแล้ว ผมมีเงินอยู่ก้อนหนึ่งที่ตั้งเจตนารมณ์ทำบุญไว้แล้ว จึงได้เข้าไปช่วยสนับสนุนทั้งสร้างปรับปรุงมัสยิดหลายแห่ง ที่เห็นว่าเก่าชำรุดทรุดโทรม หลังแรกคือมัสยิดบ้านยามู ทำให้สวยงามเพราะเราอยู่ในแหล่งท่องเที่ยว อยากให้วัฒนธรรมของเราเข้ากับแหล่งท่องเที่ยว ใช้งบไป 1.9 ล้านทาทโดยใช้ทุนส่วนตัวไปล้านกว่าบาท นี่เป็นมัสยิดแรก  ต่อมามัสยิดบ้านบางดุก เปลี่ยนมิมบัร (แท่นเทศนา) ให้ใหม่ 3.8 แสนบาท มัสยิดนาส้มปอย ไม่มีโดมให้โดมไป 3 โดม 8 แสนกว่าบาท ต่อจากนั้นหันพัฒนาการศึกษา เช่น เกี่ยวกับการศึกษาของเด็ก ให้ทุนเด็กกำพร้า  ช่วยในเรื่องปรับปรุงสถานที่ เห็นโรงเรียนไหนเก่าๆ ก็เข้าไปช่วย
>> สร้างสถานที่ละหมาดในสนง.ที่ดินแห่งแรกของประเทศ

ตอน นั้นสืบเนื่องจากได้ไปเห็นการให้บริการของสำนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ตใน แต่ละวันจะมีพี่น้องมุสลิมมาติดต่อราชการเป็นจำนวนมาก ผมเห็นในสนง.ที่ดินมีพื้นที่ว่างอยู่จึงเสนอให้ทำเป็นสถานที่ละหมาด จากการที่ได้พูดคุยกับหัวหน้าสำนักงานที่ดินจังหวัดภูเก็ต และผู้ว่าราชการจังหวัด ซึ่งปรากฎว่าตรงกับความต้องการของอธิบดีกรมที่ดิน ที่ต้องการสร้างคุณธรรมจริยธรรมให้กับสำนักงานที่ดิน ตรงกับเป้าหมายของรัฐ โดยรัฐยินดีให้สร้างแต่ต้องหาทุนเอง จึงผมได้บริจาคเงินก่อสร้างไป ล้านแปดพันกว่าบาท เป็นการช่วยด้านสาธารณะ ใช้ชื่อมัสยิดต้นตระกูล          ดุมลักษณ์ ส่งมอบเพื่อใช้ในราชการสำนักงานที่ดินประโยชน์ นับเป็นสำนักงานที่ดินแห่งแรกในประเทศไทยเลยที่มีสถานที่ละหมาด

>> เดินหน้าสู่หน้าที่ประธานคณะกรรมการกลางอิสลามจังหวัดภูเก็ต

เมื่อ ครบวาระ มีการเลือกตั้ง ประธานคณะกรรมการอิสลามจังหวัดภูเก็ต ลงแข่งกัน 4 คน ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า ผมได้คะแนนนำเป็นอันดับหนึ่ง ชนะขาดลอย เมื่อได้รับเลือกเป็นประธานคณะกรรมการกลางอิสลามจังหวัดฯแล้ว ก็มีการเลือกตั้งคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยมีการเสนอชื่อ 2 คน คือ ผม และ นายมาโนช พันธ์ฉลาด ผลการเลือกตั้งปรากฏว่า ผมได้เป็นคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยคะแนนนำไปแบบฉิวเฉียด 12 ต่อ 11 คะแนน ก็ได้รับโปรดเกล้าฯ

>> ปรับปรุง บูรณะ โรงเรียนมุสลิมวิทยาภูเก็ต หนึ่งในความภาคภูมิใจ

ตอน ที่ประธานมูลนิธิโรงเรียนมุสลิมวิทยาภูเก็ตหมดวาระ มีการเลือกตั้งประธานคนใหม่ ผมลงสมัครและได้รับเลือกเป็นประธานมูลนิธิโรงเรียนมุสลิมวิทยาภูเก็ต ด้วยคะแนนท่วมท้นอีกครั้ง จากทั้งหมด 51 มัสยิด ได้คะแนนมา 46 มัสยิด

เมื่อ ได้รับไว้วางใจให้รับหน้าที่ผมก็ทุ่มเทเต็มที่ เพราะผมมีแนวคิดอยู่แล้วว่าถ้าจะพัฒนาสังคมต้องทุ่มเทในเรื่องการศึกษาให้ มาก อีกทั้งโรงเรียนมุสลิมวิทยาภูเก็ตเปรียบเสมือนสัญลักษณ์ของมุสลิมภูเก็ต  เพราะเป็นโรงเรียนแห่งเดียวที่สอนทั้งสามัญและศาสนา และผมก็เป็นศิษย์เก่าที่นี่ด้วย

ตอน แรกที่ผมเข้าไปดูสภาพความเป็นอยู่ของโรงเรียนพบว่าไม่ได้รับการดูแล ถูกปล่อยให้อยู่ตามยถากรรม เสื่อมโทรมมาก มีนักเรียน 1 พันกว่าคน แต่ไม่ค่อยรักโรงเรียน ไม่ตั้งใจเรียน ไม่มีความเป็นระเบียบเรียบร้อย ผมได้เข้าไปบูรณะปรับปรุงเต็มรูปแบบขนานใหญ่ ปฏิรูประบบทั้งโรงเรียนและครู สำหรับครูก็มีการประชุมชี้แจงถ้าไม่อยากสอนให้แจ้งความจำนงมา ผมจะให้เงินทุนไปทำอาชีพอย่างอื่น ในเรื่องสถานที่ก็ได้สั่งโต๊ะเก้าอี้มาใหม่ เอาของเก่าๆ เน่าๆ ที่สุมอยู่ในโรงเรียนไปทิ้งกว่า 11 คันรถสิบล้อ ฝังกลบอีก 3 หลุม  อะไรที่ซ่อมได้ก็เอาช่างมาซ่อม ซ่อมไม่ได้ก็เปลี่ยนใหม่ หลังคา ฝ้าเพดาน ยันห้องน้ำ ทุกอย่างใหม่หมด ไม่เฉพาะในส่วนของโรงเรียนและหอพัก แต่บ้านพักครูก็ได้เข้าไปปรับปรุงภูมิทัศน์ใหม่  เพื่อสร้างกำลังใจในการทำงานให้คณะครู

ใน วันเปิดเรียน ผมขึ้นรถขยายเสียงกับโต๊ะอิหม่าม ออกประชาสัมพันธ์เชิญชวนขอให้ส่งลูกหลานมาเข้าเรียน คนไหนขาดทุนการศึกษา ยากจนจริงๆ ให้มาแจ้ง ผมจะให้ความช่วยเหลือ เราต้องให้ความสำคัญ เพราะส่วนมากคนยากจนจะไม่กล้าพูดไม่กล้าขอ และผมก็จะขอให้ครูประจำชั้นให้ความสำคัญด้วย

ที่สุด มีเด็กเข้ามาเรียน จาก 1,140  คน เป็น 1,700 คน เมื่อปีที่แล้ว มาปีนี้เพิ่มเป็น 1,924 คน เมื่อผู้ปกครองไว้วางใจแล้ว ก็เรียกครูมาประชุมเพื่อสร้างความเข้าใจในการทำงาน เพื่อให้เป็น โรงเรียนที่ดี โดยผมสัญญากับผู้ปกครอง ของนักเรียนไว้ว่า ผมจะปรับปรุงโรงเรียนมุสลิมวิทยาภูเก็ตให้เป็นโรงเรียนที่ดีสำหรับลูกหลาน ของท่าน
ต่อ จากนั้นก็เข้ามาดูการบริหารจัดการจัดซื้อคอมพิวเตอร์ 100 เครื่องเข้าห้องคอมพิวเตอร์ เอางบสนับสนุนจากรัฐมาครึ่งหนึ่งผมออกเองครึ่งหนึ่ง ปรับปรุงห้องสมุด ให้มีคอมพิวเตอร์ 10 เครื่อง เพื่อค้นหาข้อมูลได้ จัดทำห้องวิทยาศาสตร์ แยกเป็นห้องวิทย์ฯเปียก ห้องวิทย์ฯแห้ง ซื้อเครื่องมือวิทย์ด้วยงบ 2.5 แสนบาท รัฐสนับสนุน           2 แสน ผมให้ไป 5 หมื่น

ใน ส่วนร้านอาหารของโรงเรียนได้เข้าไปจัดระบบใหม่  โดยจัดเวลาขายให้เป็นระเบียบ แม่ค้าที่มาจำหน่าย ไม่ต้องจ่ายค่าน้ำค่าไฟ จานไม่ต้องล้าง เก็บค่าขายวันละ 550 บาท 30 กว่าปีขาดทุนมาตลอด ผมเข้ามาทำเดือนเดียวได้เงินมาแสนสองหมื่นกว่าบาท นำมาบริหารจัดการในจุดอื่นได้ เช่นซื้อรถตู้ นำเงินตรงนั้นมาจัดสวัสดิการเลี้ยงอาหารให้ครูกินฟรี ให้ค่าแรงแม่บ้านล้างจาน ยังมีส่วนเหลือก็เข้าสหกรณ์ ใช้เวลาปรับปรุง 1 เดือนกับ 15 วัน จ่ายไป 3 ล้านแปดแสนกว่าบาท

>> สนง.คณะกรรมการจังหวัดภูเก็ต ได้รับรางวัลพระราชทาน

ที่ ผ่านมาผมได้ปรับปรุง สนง.คณะกรรมการอิสลามจังหวัดภูเก็ต ทำห้องประชุมใหม่อย่างสวยงามได้มาตรฐาน ตกแต่งใหม่หมด ทำในลักษณะให้พร้อมต้อนรับประชาคมอาเซียน ปัจจุบันเป็นสำนักงานคณะกรรมการกลางอิสลามจังหวัด ที่ได้รับพระราชทานรางวัลและโล่เกียรติคุณ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ มาแล้ว 3 ครั้ง

กล่าว ได้ว่ากว่าจะมาถึงการพัฒนาที่ประสบความสำเร็จ ย่อมมีอุปสรรคขวากหนามมากมาย ทว่าในความเป็นผู้นำและทีมงานเป็นคนรุ่นใหม่ ยึดหลักการทำงานด้วยความมุ่งมั่น ความถูกต้อง สร้างบุคลากรรุ่นใหม่ ปลูกฝังตั้งแต่แรกเริ่ม สร้างจิตวิญญาณทางศาสนาโดยการทำงานภาพรวม ทำมุสลิมให้เป็นหนึ่ง สนับสนุนเทคโนโลยี เชื่อมทุกเรื่องให้ไปด้วยกัน นี่คือเสี้ยวหนึ่งจากเส้นทางชีวิตของมุสลิม “มือบน” ที่ชื่อ “จ.ส.ต.โกมล ดุมลักษณ์”