เศรษฐกิจนายทุน ในแบบของ “อเมริกา”

จริงมากแค่ไหน ที่โลกทุนนิยมชอบที่จะเติบโตมาด้วยกับการสร้างวิกฤติ  เพราะระบบนายทุนรักในการเติบโตโดยเฉพาะการเก็งกำไร เพราะสิ่งเหล่าเป็นที่รับรู้ได้ว่า การสร้างวิกฤติเพื่อโอกาส สร้างสงครามเพื่อขายอาวุธ สร้างประเด็นปัญหาเพื่อแปรงบประมาณ  สิ่งเหล่านี้เป็นเหมือนเส้นทางการดำเนินชีวิตของนายทุนที่ไร้ซึ่งหลัก นิติธรรม  การพุ่งทะยานเติบโตของผลกำไรที่ได้แบบไร้เหตุผลและมีผลร้ายตามมาอย่างมาก

อะไรเป็นแรงจูงใจของความเป็นทุนนิยม

ทุกคำตอบนั้นสามารถมอง เห็นได้จากความพยายามของนายทุนกับความหวังของผลกำไรตามหลักทฤษฎีทาง เศรษฐศาสตร์แบบสากลเป็นเหมือนวัฎจักรแห่งการเติบโตเพื่อผลประโยชน์สูงสุด ยิ่งหากเป็นนายทุนที่ขาดจรรยาบรรณ คือการทำทุกวิถีทางเพื่อให้ได้กำไร ผลร้ายจะตามอย่างไรนั้นไม่เคยสนใจ  ฉะนั้นแล้วการเติบโตที่มาพร้อมกับช่องว่างทางสังคมที่เกิดขึ้นทุกวันนี้เป็น เหมือน คนกลุ่มหนึ่งพยายามที่จะดีดตัวเองไปสู่จุดสูงสุด

การสร้างแรงจูงใจของ นายทุนอย่ากรณีในสหรัฐบริษัทหรืออุตสาหกรรมขนาดใหญ่มักจะถูกกำหนดกฏเกณฑ์โดย เจ้าของ แต่ความแตกต่างที่ว่านั้นคือการทำกำไรที่มากมายมหาศาลมีผลสะท้อนให้กับ แรงงานในอุตสาหกรรมนั้นๆ ไม่ได้มีวิถีชีวิตที่ดีขึ้นเลย  เป็นสิ่งที่เห็นได้ว่าผลร้ายที่จะตามมานั้นเป็นที่ปรากฏให้เห็นในสังคม อเมริกันรวมถึงในยุโรปว่า นายทุนประสบความสำเร็จจากผลของวิกฤติเศษฐกิจนั้นมีอยู่จริง

หากว่าเรานับวันเวลา ที่ผ่านมาเป้าหมายสำคัญที่สุดของนายทุนไม่ได้สร้างคุณประโยชน์กับลูกจ้างมาก นัก และเป้าประสงค์ที่แท้จริงของพวกเขาก็ไม่ได้รับความสุขจากยอดขายหรือการ บริโภคที่มากขึ้น แต่สิ่งที่เห็นได้คือ การเพิ่มอำนาจของพวกเขาเหล่านั้นให้มีมากกว่าคนอื่น โดยวัดจากกำไรที่ได้สินทรัพย์ที่ครอบครอง

สิ่งที่เราควรทราบบาง อย่างเกี่ยวกับนายทุนคือ การไม่ได้ตั้งค่าเกี่ยวกับการสร้างผลผลิตเพื่อความพอใจ สำคัญคือทุกกฎเกณฑ์จะต้องไม่ขัดกับระบบที่นายทุนต้องการ การตกอยู่ภายใต้โลกของทุนนิยมคือการก้าวไปเพื่อความเป็นหนึ่งเมื่อเทียบกับ คนอื่นๆ หรือคู่แข่งใน วงการนั้นๆ

หากจะมองถึงกลุ่ม นายทุนในสหรัฐอย่าง warren Buffet ที่เป็นนายทุนที่ยิ่งใหญ่ในภาคเอกชน การทำงานเพื่อสะสมความยิ่งใหญ่ เพื่อตัวเขาพวกพ้องของเขานั้นเป็นเรื่องกลุ่มคนเหล่านี้กระทำเพื่อเป้า สูงสุด การครอบครองเศรษฐกิจของกลุ่มคนเหล่านี้ การครองทรัพย์สินที่พวกเขาโปรดปราน  ความสุขอยู่ที่ความมั่งคั่งนั้นคงเป็นความหมายที่กลุ่มคนเหล่านี้พอใจกับ มัน  ถ้าเรามองผ่านความคิดของพวกเขานั้นรักการเจริญเติบโต การโหยหาอำนาจเพื่อตัวเอง สิ่งที่เลวร้ายไปกว่านั้นคือ การสร้างหายนะ การก่อวินาศกรรม สิ่งแบบนี้เป็นตรรกะในความสำคัญถึงการเพิ่มรายได้ของพวกเขา การสร้างความวินาศให้เกิดขึ้นในสังคมโลก

สิ่งที่สร้างผลกระทบ กับการครองอำนาจของนายทุน การจ้างงาน อัตราการว่างงาน  อัตราส่วนของราคาที่ต้องเปลี่ยนแปลง เพราะบางเหตุผลของนายทุนนั้นการสร้างวิกฤติเพื่อเหตุผลแบบไร้ซึ่งมนุษยธรรม สิ่งที่น่าสังเกตเกี่ยวกับเศรษฐกิจของอเมริกาคือการว่างงานแต่รายได้ที่เป็น ระบบในการบริหารของนายทุน การแบ่งกำไรก่อนหัก ภาษี และดอกเบี้ย  หากสังเกตจากนักเศรษฐศาสตร์จะมองว่าเมื่อสามปีก่อนนั้น แทบจะหาค่าเฉลียการว่างงานไม่ได้เลยหลายพันธะกรณีที่เกี่ยวกับระบบนายทุน ทั้งในยุโรปและสหรัฐ จากภูมิปัญญาที่นักเศรษฐศาสตร์สากลได้ให้ไว้ คือ สองสิ่งที่มีความสัมพันธ์ สวนแบ่งของรายได้ที่สนองต่อแรงงาน แต่กรณีที่มีการว่างงานเพิ่มขึ้นกำไรของบริษัทกลับไม่ได้ลดลงมาก บางครั้งความสัมพันธ์กลับไม่ได้ไปในทิศทางเดียวกับการเกิดวิกฤติของประเทศ มากนัก สิ่งที่เราเห็นจากสื่อนั้นยังไม่สามารถที่จะเชื่อได้ เป็นการร่วมหัวกันปกปิด ในสังคมสหรัฐรายได้ของคนชั้นล่างเป็นเรื่องที่ยากจะคาดการณ์ถึงการเปลี่ยน ผ่านเพิ่มขึ้นหรือลดลง  ในบางประเทศ อย่าง อินเดีย อัตราชนชั้นกลางเพิ่มขึ้นบงบอกถึง เศรษฐกิจที่โตอุตสาหกรรมที่เติบโตนั้นเป็นสิ่งที่ไปได้พร้อมกันๆ  แต่ในสหรัฐเวลานี้กลับไม่มีข่าวดีในแบบนั้นอีกแล้ว  การเติบโตในรอบสามปี เป็นอันดับที่น้อยมาก คือ ไม่ถึง 1% แต่สิ่งที่ส่วนทางคือ กลุ่มบริษัทใหญ่ในสหรัฐกลับทำกำไรพุ่งสูงขึ้นคือมันไม่ได้ไปพร้อมกันมันเดิน สวนทางกลับอัตราการว่างงาน

ถ้าเราจะมองความ สัมพันธ์ในทางบวก ของเศรษฐกิจในสหรัฐอดีตที่ผ่านมา ในช่วงปี 1940  มีอัตราการว่างงานในระดับที่ต่ำมากเพราะการจัดสรรในยุคนั้นค่อนข้างที่จะ เล็กน้อยในประเทศ  จนมาชวงหลังสงครามโลกครั้งที่สอง ที่มีการบันทึกเอาไว้ในปี 1990 เมื่อการว่างงานสูงมากที่สุดครั้งหนึ่ง ระบบทุนเริ่มที่มีแนวโน้มในการปรับตัวสูงขึ้น จากนั้นในยุค 2000

แนวโน้มที่กลับมา รุนแรงอีกครั้ง ทุกเหตุผลของวิกฤติยอมมีเรื่องที่น่าสนใจและเรียนรู้ และสิ่งที่อาจะเกิดขึ้นในอนาคตจะมีเหตุผลที่ไม่ต่างจากเดิมคือความมั่งคั่ง ที่พุงสูงขึ้นขึ้นของคนกลุ่มหนึ่งที่เรียกว่า นายทุน …..

อำนาจของทุนสามารถที่ จะตอบสนองความต้องการอย่างไม่ละอายถึงหลักนิติธรรม นอกจากที่เห็น ประเด็นสังคมการเมืองเป็นเรื่องที่จะอยู่ในเบื้องหลังของการนายทุนในการ แสวงหาผลประโยชน์ ด้วยวิธีการที่จะทำด้วยอำนาจที่สามารถกระทำได้ ทั้งในช่วงเวลาที่ผ่านมากอัตราการเติบโตของลูกจ้างในสหรัฐนั้นมีจำนวนที่ น้อยมาก  ฉะนั้นเรื่องที่เกิดขึ้นในเชิงลบจะแสดงให้เห็นถึงความแตกต่าง ในหลายช่วงเวลา ตั้งแต่ ปี 1930 จนถึงปี 2000 ผลที่เห็นมากที่สุดคือความไม่เท่าเทียมของรายได้และการจ้างงานที่ต่ำลง

อีกหนึ่งช่วงเวลาที่ น่าสนใจคือ ปี 1980 การเติบโตยังคงมีอย่างจำกัด การเก็บภาษี แต่การกระจายรายได้ของประชาชนยังคงกระจายแบบเท่าเทียมแต่ก็ทำได้ในวงจำกัด เพราะการฉลอตัวภายหลังสงครามนั้นมีการเคลื่อนไหวทางเศรษฐกิจแต่ไม่ได้มีการ เปลี่ยนแปลไปในทิศทางที่ดีขึ้นหรือสูงขึ้น จนปัจจุบันการทำเครื่องหมายความเป็นเสรีนิยม การมีเงินมาก ของนายทุนสามารถเป็นเหมือนผู้บัญชาการ แต่ความไม่เสมอภาคในการเติบโตของการจ้างงาน กลับเป้นเรื่องกลุ่มคนเหล่านี้มองว่าพวกเขาเป็นเพียง ลูกจ้าง เหมือนการเหยียบย่ำลงบนแผ่นหลังเพราะมันคือเรื่องจริงที่เกิดขึ้นมาตลอด ภายหลังสงครามโลกครั้งที่สองเป็นต้นมา

 

อะไรคือความหมายที่แท้จริงของทุนนิยมอเมริกา ?

สิ่งที่เห็นได้ชัดคือ  อะไรเป็นสิ่งที่ดีที่สุดของอเมริกา ในเวลาที่เศรษฐกิจของประเทศเหมือนวงแหวงกลวงนายทุนไม่แสวงหาประโยชน์ผ่านการ บริโภคแต่สิ่งที่พวกเขาต้องการอำนาจมากขึ้นคือการลงทุนเพื่อการเจริญเติบโต เมื่อเวลาที่อัตราการว่างงานเพื่มขึ้นการจ้างงานคงเป็นเรื่องที่ยากลำบากแต่ เวลาที่ทั้งสองเหมือนลงเรื่อลำเดียวกัน สิ่งที่เกิดขึ้นไม่ใช้แค่สร้างผลกระทบทางสังคมเพราะอเมริกาเวลานี้ศูนย์กลาง ทางเศรษฐกิจการเมือง อเมริกาควรจะมีกรอบคิดทฤษฎีใหม่ที่เข้าใจง่าย แต่มี่ใม่ใช่ระบอบทุนนิยมเหมือนเช่นเวลานี้

ในเวลาที่นโยบาย เศรษฐกิจมหาภาคไม่ว่าจะเป็นแบบเก่าหรือแบบใหม่ไม่สามารถชดเชยผลกระทบโดยรวม ที่เกิดขึ้นในเวลานี้ได้ หากย้อนไปในปี 1970 การขาดดุลงบประมาณมีขนาดที่เล็กมาก แต่ทำไม การพัฒนาโครงสร้างทางสังคม กระจายรายได้ในความเท่าเทียมกันมีน้อยมาก  ในปี 1980 สังคมเศรษฐกิจของอเมริกา การขาดดุลงบประมาณสูงสุดการเติบโตที่ฉลอตัว เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่กระจายตัวได้ดีขึ้นแต่ทุกบรรทัดฐานทางเศรษฐกิจที่ ไม่มีการเปลียนแปลงมากนัก

รัฐบาล วอชิงตันไม่สามารถที่จะซ่อนหลบความจริงได้อีกต่อไป บนมือข้างหนึ่งของอเมริกาเป็นเหมือนความเข้มข้นในความย่ำแย่และแรงหนุน สินทรัพย์ที่ด้อยราคาหรือไม่มีคุณภาพ ทุกการอนุมัติงบประมาณขนาดใหญ่ยังคงมี แต่ขณะที่การว่างงานยังคงเป็นความคิดที่ฟุ้งซ่านของรัฐบาลเวลานี้ ในที่สุดสถานการณ์เช่นนี้  คำตอบสุดท้ายก็คือมันกลายเป็นภัยพิบัติทางเศรษฐกิจของชนชั้นล่างอเมริกาที่ รอวันจะลุกขึ้นเพื่อปากท้องของเขาเอง   

For their full paper on the subject, see Shimshon Bichler and Jonathan Nitzan, “Can Capitalists Afford Recovery? Economic Policy When Capital is Power”, Working Papers on Capital as Power, No. 2013/01, October 2013, pages 1-36.

(http://bnarchives.yorku.ca/377/)