ไทม์ไลน์สำคัญเหตุการณ์ปฏิวัติอิสลามอิหร่าน

อีหม่ามโคมัยนีเดินทางกลับอิหร่านจากฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522

การปฏิวัติอิสลามของอิหร่านในปี 1979 สร้างความสั่นสะเทือนไปทั่วโลก และยังเป็นกระแสที่ยังคงรู้สึกได้ถึงทุกวันนี้  ในวาระครบรอบ 40 ปีของการปฏิวัตินี้  “เดอะพับลิกโพสต์” ได้รวบรวมไทม์ไลน์เหตุการณ์สำคัญที่นำไปสู่การล่มสลายของราชวงศ์ “ปาห์เลวี” และนำไปสู่การก่อตั้งสาธารณรัฐอิสลามแห่งอิหร่านหลังจากนั้น

พายุตั้งเค้า

ปี 1977

มกราคม – กรกฎาคม

สื่อมวลชน ปัญญาชน นักกฎหมาย และนักกิจกรรมทางการเมือง พิมพ์เผยแพร่จดหมายเปิดผนึกหลายฉบับต่อเนื่องวิจารณ์การสะสมอำนาจไว้ในมือของชาห์

ตุลาคม

เทศกาลกวีนิพนธ์ 10 คืนที่จัดขึ้นโดยสมาคมนักเขียนชาวอิหร่านที่สถาบันเกอเธ่ (Goethe Institute) ในกรุงเตหะรานดึงดูดผู้คนหลายพันคนเข้าร่วมรับฟังการบรรยายวิจารณ์รัฐบาล

23 ตุลาคม

“มุสตอฟา โคมัยนี” ลูกชายคนโตของนักการศาสนาผู้ถูกเนรเทศ “อายะตุลเลาะห์ รูฮุลเลาะห์ โคมัยนี” เสียชีวิตโดยไม่ทราบสาเหตุ ขณะอายุ 47 ปี ในเมืองนาจาฟ ประเทศอิรัก ผู้เฒ่าโคมัยนีใช้ชีวิตในฐานะผู้พลัดถิ่นมาตั้งแต่ปี 1963 เมื่อเขาถูกจับกุมในข้อหาประท้วงต่อต้านโปรแกรมโมเดิร์นไนเซชั่น (modernization) ของชาห์

15-16 พฤศจิกายน

ในระหว่างการเยือนวอชิงตัน การต้อนรับชาห์ที่ทำเนียบขาวตกอยู่ในภาวะยุ่งเหยิงจากการประท้วงของนักศึกษาชาวอิหร่าน (รวมถึงแก๊สน้ำตาที่ตำรวจใช้เพื่อปราบการประท้วง)

31 ธันวาคม

ในการเยือนอิหร่านอย่างสั้นๆ ประธานาธิบดีจิมมี่ คาร์เตอร์ แห่งสหรัฐฯ อวยพรให้กับชาห์ โดยกล่าวว่า อิหร่านเป็น “เกาะแห่งความมั่นคงในพื้นที่ที่มีปัญหามากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก”

ประธานาธิบดีจิมมี่ คาร์เตอร์ และ ชาห์ โมฮัมเหม็ด เรซา ปาห์ลาวี ยกแก้วของพวกเขาในการดื่มอวยพรระหว่างการเยือนกรุงเตหะรานของประธานาธิบดี

เชื้อไฟปะทุ

ปี 1978

6 มกราคม

หนังสือพิมพ์รายวันอิหร่าน อิตติลาอาต (Ettela’at) ได้ตีพิมพ์บทความในหน้าบรรณาธิการ ที่ดูหมิ่น อายะตุลเลาะห์ รูฮุลเลาะห์ โคมัยนี ซึ่งเป็นรายงานที่เขียนโดยราชสำนักตามคำสั่งของชาห์

9 มกราคม

ตลาดหลักในเมืองกุม (Qom) ซึ่งเป็นย่านที่ตั้งของโรงเรียนสอนศาสนาที่ใหญ่ที่สุดของอิหร่านถูกปิดเพื่อประท้วงการหมิ่นประมาทโคมัยนี ผู้ประท้วงหลายพันคนโจมตีสัญลักษณ์ของสถาบันกษัตริย์ กองกำลังความมั่นคงสังหารประชาชน ผู้ประท้วงอย่างน้อยห้าคน

18 กุมภาพันธ์

สอดคล้องกับประเพณีของมุสลิมชีอะห์ พิธีไว้ทุกข์ถูกจัดขึ้นในเมืองต่างๆ ทั่วอิหร่านในวันที่สี่สิบหลังจากการประท้วงของเมืองกุม นักศึกษาที่ออกมาประท้วงถูกฆ่าตายในเมืองตาบรีซ กระตุ้นการจลาจลและความรุนแรงต่อไป

มีนาคม – พฤษภาคม

วัฏจักรของการประท้วง การกดขี่ ความรุนแรง และการไว้ทุกข์ ยังคงดำเนินต่อไปในสามเมืองของอิหร่าน

การประท้วงตามท้องถนนในปี 1978

7 มิถุนายน

ชาห์สั่งปลี่ยนหัวหน้าตำรวจลับซาวัค (SAVAK) เป็น นายพล เนี๊ยะมาตุลเลาะห์ นัสซีรี หนึ่งในการเคลื่อนไหวแรกของเขาคือการสั่งให้ปล่อยตัวนักการศาสนาที่ถูกคุมขัง 300 คน

20 กรกฎาคม

การประท้วงปะทุขึ้นในมัชฮัด ผู้คนจำนวนมากถูกฆ่าตายในความโกลาหลทั้งที่นั่นและที่อื่น ๆ

9-10 สิงหาคม

การจับกุมผู้ก่อความไม่สงบนั้นก่อให้เกิดการจลาจลในเมืองอิสฟาฮาน ซึ่งแพร่กระจายอย่างรวดเร็วไปยังเมืองชีราซ กาซวิน ตาบรีซ อาบาดัน และอาวาซ งานเทศกาลศิลปะในชีราซถูกยกเลิก และมีผู้เสียชีวิตประมาณ 100 คน มีการประกาศกฎอัยการศึกในอิสฟาฮาน

ผู้ประท้วงบนถนนในอิหร่านถือภาพถ่ายของโคมัยนี ในปี 1978

การระเบิดของการปฏิวัติ

19 สิงหาคม

477 ชาวอิหร่านตายในกองไฟ ที่จงใจในโรงหนัง ในเมืองอาบาดาน  ฝ่ายประท้วงโทษตำรวจลับซาวัค 

27 สิงหาคม

นายกรัฐมนตรี จัมชิด อามูเซการ์ (Jamshid Amouzegar) ลาออก; จาฟาร์ ชารีฟ อีมามี (Jafar Sharif Emami) ผู้ที่รับช่วงต่อจากเขาให้คำมั่นว่าจะทำการปฏิรูป

8 กันยายน

ในเช้าวันรุ่งขึ้นหลังจากที่ชาห์ประกาศกฎอัยการศึก กองกำลังความมั่นคงยิงใส่ผู้ประท้วงจำนวนมากในจตุรัสจาเละห์ (Jaleh) ของเตหะราน มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 100 คน และเหตุการณ์เริ่มเป็นที่รู้จักในนามศุกร์วิปโยค (Black Friday)

3 ตุลาคม

ตามคำสั่งของชาห์ รัฐบาลอิรักสั่งขับโคมัยนีออกพ้นประเทศ หลังจากที่เขาถูกปฏิเสธเข้าสู่คูเวต  โคมัยนีเดินทางไปฝรั่งเศส และตั้งรกรากอยู่ใน Neuphle-le-Chateau ชานเมืองปารีส ซึ่งเขาได้รับประโยชน์จากการเข้าถึงสื่อและความสนใจที่มากขึ้น

6 พฤศจิกายน

ไม่กี่วันหลังจากการประท้วงในกรุงเตหะรานในวันหยุดทางศาสนา ความพยายามในการจัดตั้งรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติด้วยการดึงฝ่ายต่อต้านเข้าร่วมก็ล่มสลายด้วยการท้าทายของโคมัยนี นายกรัฐมนตรีชารีฟ อีมามี ลาออกจากตำแหน่ง และแทนที่โดย พล.ต.กุลามเรซา อัซฮารี (Gholamreza Azhari) กษัตริย์ชาห์ออกอากาศทางโทรทัศน์แห่งชาติโดยสัญญาว่าจะไม่ทำผิดซ้ำเหมือนในอดีตและจะแก้ไข โดยพูดว่า “ฉันได้ยินเสียงการปฏิวัติของคุณ…ในฐานะที่เป็นชาห์แห่งอิหร่านและประชาชนชาวอิหร่าน ฉันไม่สามารถอนุมัติการปฏิวัติของคุณได้”

6 ธันวาคม

เพียงหนึ่งสัปดาห์หลังจากที่เขายืนยันต่อสาธารณชนถึงการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาและ “มั่นใจใน”  ในตัวชาห์  ประธานาธิบดีอิสหรัฐฯ จิมมี่ คาร์เตอร์ ก็ออกแถลงการณ์หาทางหนีที่ไล่ต่อสาธารณะ โดยระบุว่า “ โดยส่วนตัวแล้วเราพอใจให้ชาห์รักษาบทบาทสำคัญไว้ แต่นั่นเป็นการตัดสินใจสำหรับชาวอิหร่าน”

10-11 ธันวาคม

ชาวอิหร่านหลายล้านคนประท้วงทั่วประเทศเรียกร้องให้ถอดถอนชาห์ และเรียกร้องการกลับมาของ อายะตุลเลาะห์  โคมัยนี

29 ธันวาคม

ชาห์ได้แต่งตั้งชาปูร์ บัคเตียร์ เป็นนายกรัฐมนตรี เขาเป็นนักการเมืองชาตินิยมมาเป็นเวลานาน เขาได้รับการรับรองจากรัฐสภาในอีกสองสัปดาห์ต่อมา

ชาห์และฟาร่ามเหสี ออกจากอิหร่าน เมื่อ 16 มกราคม 1979

ปี 1979

12 มกราคม

ในปารีส อายะตุลเลาะห์ โคมัยนี ได้จัดตั้งคณะมนตรีการปฏิวัติเพื่อประสานการเปลี่ยนแปลง

สาธารณรัฐอิสลาม

16 มกราคม

ชาห์และครอบครัวของเขาออกจากอิหร่านเพื่อไปอียิปต์ ประหนึ่ง “วันหยุดพักผ่อน” ในขณะที่เขาจะจากไป ชาห์บอกนายกรัฐมนตรี บัคเตียร์ว่า “ฉันให้อิหร่านอยู่ในความดูแลของคุณ คุณและพระเจ้า”

1 กุมภาพันธ์

โคมัยนี กลับสู่อิหร่าน และได้รับการต้อนรับจากผู้คนนับล้านบนถนนของกรุงเตหะราน

อีหม่ามโคมัยนี เดินทางถึงสนามบินกรุงเตหะรานกลับจากการถูกเนรเทศในฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2522

4 กุมภาพันธ์ 

อีหม่ามโคมัยนี แต่งตั้ง เมะห์ดี บาซาร์กาน เป็นนายกรัฐมนตรีของรัฐบาลชั่วคราว ขณะที่บัคเตียร์ยืนยันว่า เขาเท่านั้นที่ยังคงเป็นหัวหน้ารัฐบาลอิหร่านที่ถูกกฎหมาย

10 กุมภาพันธ์ 

บัคเตียร์ประกาศเคอร์ฟิวและกฎอัยการศึกทั่วประเทศ อีหม่ามโคมัยนีสั่งให้ผู้สนับสนุนของเขาต่อต้านเคอร์ฟิวและลุกขึ้นปฏิวัติ

11 กุมภาพันธ์ 

ทหารประกาศวางตัวเป็น กลาง และสิ่งที่เหลืออยู่จากการล่มสลายของรัฐบาลอิหร่านอย่างนายกรัฐมนตรี “บัคเตียร์” ก็หนีออกจากอิหร่านอย่างรวดเร็วไปยังฝรั่งเศส ซึ่งเขาถูกลอบสังหารเมื่อปี 1991 ว่ากันว่าโดยฝีมือสายลับอิหร่าน

14 กุมภาพันธ์

สถานทูตสหรัฐฯในเตหะรานถูกโจมตีโดยฝูงชน เจ้าหน้าที่สถานเอกอัครราชทูตยอมแพ้ในตอนแรก แต่ผู้ประท้วงถูกขับไล่ตามคำสั่งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศของอิหร่าน อิบราฮิม ยัซดี

30-31 มีนาคม

ชาวอิหร่านมีส่วนร่วมในการลงประชามติระดับชาติว่า อิหร่านควรปกครองในระบอบ “สาธารณรัฐอิสลาม” หรือไม่ ซึ่งผลออกมาได้รับการสนับสนุนอย่างท่วมท้นเป็นเอกฉันท์

5 พฤษภาคม

กองกำลังพิทักษ์การปฏิวัติอิสลาม (Islamic Revolutionary Guard Corps – IRGC) ถูกก่อตั้งขึ้นโดยคำสั่งของอีหม่ามโคมัยนี

3 สิงหาคม

ชาวอิหร่านลงคะแนนในการเลือกตั้งทั่วประเทศสำหรับสมัชชาผู้เชี่ยวชาญ (Assembly of Experts) ซึ่งเป็นองค์กรด้านศาสนาที่มีอำนาจในการปกครองเพื่อให้ร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสมบูรณ์ เนื่องจากการคว่ำบาตรโดยฝ่ายซ้าย ชาตินิยม และกลุ่มมุสลิมบางกลุ่ม  ผู้ออกมาใช้สิทธิเลือกตั้งจึงอยู่ต่ำกว่าเมื่อเทียบกับการลงประชามติเดือนมีนาคม

14 ตุลาคม

สภาผู้เชี่ยวชาญได้อนุมัติร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ เพื่อยืนยันหลักคำสอนที่เป็นนวัตกรรมใหม่ของโคมัยนีเกี่ยวกับวิลายาตุลฟากีห์ (velayat-e faqih) ซึ่งสอดคล้องกับอำนาจสูงสุดของผู้นำศาสนา

22 ตุลาคม

ชาห์ โมฮัมหมัด เรซา ปาห์เลวี ได้รับอนุญาตให้เข้าประเทศสหรัฐอเมริกาเพื่อรับการรักษาตัว โคมัยนีประณามสหรัฐอเมริกาที่อนุญาตให้ชาห์เข้าประเทศ

ผู้ประท้วงที่เป็นนักศึกษาปีนข้ามประตูไปยังสถานทูตสหรัฐฯในเตหะรานเมื่อ วันที่ 4 พฤศจิกายน 2522 / วิกิมีเดียคอมมอนส์

วิกฤตการณ์

4 พฤศจิกายน

ผู้ประท้วงที่เป็นนักศึกษาบุกสถานทูตสหรัฐฯในกรุงเตหะราน โดยจับบุคลากรในสถานทูตเป็นตัวประกัน

14 พฤศจิกายน

สหรัฐฯ อายัดทรัพย์สินและผลประโยชน์ทั้งหมดของรัฐบาลอิหร่านและธนาคารกลางของอิหร่าน

2-3 ธันวาคม

รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ของอิหร่านผ่านการเห็นชอบอย่างท่วมท้นในการลงประชามติที่ได้รับส่วนร่วมจากผู้มีสิทธิ์ออกเสียงถึง 75%

ปี 1980

25 มกราคม

อับดุลฮัสซัน บานี  ซาดร์ ได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐอิสลาม ภายใน 18 เดือนเขาจะถูกฟ้องร้องและหลบหนีออกนอกประเทศ

25 เมษายน

ปฏิบัติการ Eagle Claw : ภารกิจช่วยเหลือตัวประกันสถานทูตของสหรัฐล้มเหลวหลังจากเกิดพายุทราย  ทำให้เกิดความผิดพลาดของเฮลิคอปเตอร์หนึ่งลำและการเสียชีวิตของทหารสหรัฐแปดนาย

9 กรกฎาคม

ทางการอิหร่านค้นพบแผนการทำรัฐประหาร และเริ่มทำการกวาดล้างกองทัพใหม่

27 กรกฎาคม

ชาห์ โมฮัมเหม็ด เรซา ปาห์ลาวี เสียชีวิตในไคโร อียิปต์

22 กันยายน

อิรักรุกรานอิหร่าน นำมาซึ่งสงครามเป็นเวลาแปดปี ส่งผลให้มีผู้บาดเจ็บล้มตายนับแสนรายจากทั้งสองฝ่าย