จากคนข่าวสู่ประธานบริษัท แต่ทำไมเธอพูดว่า “ดิฉันต้องขอโทษคุณแม่ทุกคนที่เคยร่วมงานด้วย” ??

แคธารีน เซลาสกี ประธานบริษัท PowerToFly บริษัทที่เปิดพื้นที่ เพื่อเชื่อมต่อ ผู้หญิงทั่วทั้งโลกที่กำลังมองหาอาชีพซึ่งอาศัยความชำนาญเฉพาะด้าน ให้กับ บริษัทที่เล่งเห็นถึงผลประโยชน์ท่ามกลางความหลากหลาย ซึ่งจะอนุมัติให้พวกเธอทำงานจากที่ใดก็ตามอย่างไร้พรมแดน  เขียนบทแสดงความคิดเห็นของเธอ อันเกี่ยวข้องกับ ความเป็นแม่ และการทำงาน ลงเผยแพร่ในเว็ปไซต์ fortune.com โดยเธอได้ยอมรับว่า  “ดิฉันไม่เคยคิดมาก่อนเลยว่า ดิฉันจะเลวร้ายได้ถึงเพียงนี้ – กระทั่งดิฉันได้มีลูกเป็นของตนเอง”

ฉันยังคงละอาย เมื่อนึกถึงความทรงจำของตัวเอง เมื่อ 5 ปีก่อน ช่วงเวลาที่เคยได้พาฉันเดินเข้าไปในออฟฟิสหนึ่ง ซึ่งตั้งอยู่ บนชั้นที่ 25 ของสำนักงานใหญ่บริษัท Time Inc. ในแมนฮัตตัน ฉันไปที่นั่นเพื่อเข้าพบและเสนอข้อคิด ต่อบรรณาธิการจัดการประจำเว็ปไซต์ time.com ว่าด้วยเรื่อง การทำงานเป็นหุ้นส่วนร่วมกัน

หากแต่ว่า ทันทีที่ฉันได้นั่งลงบนเก้าอี้ และสำรวจไปจนเห็นรูปภาพ ลูกๆตัวน้อยของเธอเต็มไปหมดในห้องออฟฟิศ ฉันก็กลับมีความคิดเห็น และตัดสินไปว่า บรรณาธิการหญิงคนนี้ มีความเป็นแม่มากเกินที่จะเข้าใจไอเดียในการพูดคุยในวันนี้อย่างแน่นอน ถึงอย่างนั้น ฉันก็ยังนำเสนอข้อคิดดังกล่าวของฉันต่อไปจนจบ เพียงแต่ เมื่อฉันออกมาจากห้องออฟฟิศ ฉันก็มั่นใจเลยว่า จะไม่มีวันเจรจากับเธออีกเป็นครั้งต่อไป

เธอไม่ใช่ ผู้เป็นแม่ คนแรก และคนเดียว ที่จรรยาบรรณและหน้าที่รับผิดชอบในฐานะลูกจ้างของเธอ คือ สิ่งที่ฉันไม่เห็นด้วยและแอบสบประมาทอย่างเงียบๆ

เมื่อครั้งในวันที่ ดำรงตำแหน่ง ผู้จัดการ สำนักข่าว The Huffington Post และ The Washington Post เมื่ออายุได้ประมาณ 20 กลางๆ ฉันยังคงมีคดีอื่นๆในลักษณะของการละเมิด ผู้เป็นแม่ หรือไม่ ก็ไม่เคยกล่าวว่าอะไร เมื่อมีใครกระทำเช่นเดียวกันนี้ ต่อพวกเธอ อีกมากมายยาวเป็นรายการ

    •    ฉันเคยแอบกลอกลูกตา มองจิก แม่ คนหนึ่งที่ไม่สามารถหาเวลาเข้าร่วมสังสรรค์กับฉันและทีมของฉันจวบจนนาที สุดท้ายได้ ฉันตั้งคำถามกับ ความมุ่งมั่นใน “พันธะหน้าที่การงาน” ของเธอ แม้ว่าเธอจะมาถึงที่ทำงานเร็วกว่าฉัน และเพื่อนร่วมงานขาดื่มของฉัน เสียอีกตั้งกว่า 2 ชม. ในวันถัดมา

    •    ฉันไม่ได้แสดงความไม่เห็นด้วยใดๆ เมื่อบรรณาธิการหญิงอีกคนพูดขึ้นมาว่า เราต้องรีบๆไล่ผู้หญิงอีกสักคนออก ก่อนที่เธอจะ “ตั้งท้อง” ขึ้นมา

    •    ฉันร่วมอยู่ในวงสัมภาษณ์ ที่นายจ้างชายคนหนึ่งกำลังเผาแม่ลูกสามด้วยคำถามที่ว่า “วิธีทำงานใดกันหรือในโลกนี้ ที่จะทำให้คุณสามารถทุ่มเทให้กับงานเหล่านี้ และลูกๆของคุณได้ในเวลาเดียวกัน?” ฉันไม่ได้แสดงท่าทีเพื่อให้กำลังใจเธอแต่อย่างใด เมื่อเธอ หรือ แม่คนนี้ (ซึ่ง ณ ขณะนั้น คือหนึ่งใน โปรดิวเซอร์ข่าวระดับท็อปของบริษัทเรา)- จ้องไปที่เขาและตอบไปว่า “เชื่อหรือไม่ ฉันชอบทำตัวให้ห่างจากลูกๆของฉันระหว่างวัน…ก็เหมือนกับคุณนั่นแหละ”

    •    ฉันกำหนดเวลาประชุมฉุกเฉิน เป็นช่วง 4:30 เย็น เกือบจะทุกครั้ง โดยไม่ได้สะกิดใจเลยว่า คนเป็นพ่อเป็นแม่ อาจจะต้องไปรับลูกๆในสถานรับเลี้ยงเด็ก ณ ช่วงเวลาเดียวกันนั้น ฉันคลุ้มคลั่งในมโนคติที่ว่า คนทำงานจะแสดงความมุ่งมั่นต่อหน้าที่การงาน ริง ก็ต่อเมื่อพวกเขานั่งทำงานอยู่ในออฟฟิศจนกว่าจะพลบค่ำ ขณะที่ตัวฉันเองจะไม่เริ่มทำงาน จนกว่าจะสายถึง 10:30 กว่า และคนเป็นพ่อเป็นแม่กลับมาถึงออฟฟิศก่อนใครในเวลา 8:30 โมงเช้า

ด้วย เหตุนี้ สถานที่ทำงาน สำหรับบรรดาแม่ๆ ก็คงจะไม่ได้ต่างอะไรไปจาก ความตาย ที่ผ่านการเชือดเฉือนมานับเป็นพันครั้ง และในบางที มันก็คือผู้หญิงอีกคนหนึ่ง ที่เป็นคนถือมีดเล่มนั้นเอง ฉันไม่ได้ตระหนักเลย ไม่ได้คิดเลยว่า ฉันจะเลวร้ายได้ถึงเพียงนี้ กระทั่ง 5 ปี ต่อมา เมื่อฉันได้ให้กำเนิดบุตรสาวของตัวเอง

ในสัปดาห์แรก ฉันถูกกลืนกินด้วยกับความคิดที่ว่า หน้าที่การงานของฉัน คงจะต้องจบลงแล้ว ณ วันนี้ มันคล้ายกับว่า ฉันคนเก่า กำลังบอกกับตัวฉันเองว่า ฉันไม่มีค่าใดๆอีกแล้ว เพราะไม่สามารถทำงานในออฟฟิศเป็นระยะเวลา 10 ชม. ต่อวันได้อีกต่อไป และแน่นอนฉันจะไม่สามารถเข้าร่วมวงสังสรรค์แม้แต่ในนาทีสุดท้ายได้อีกเช่น กัน

ตอนนี้ ฉันคือ ผู้หญิงคนหนึ่งที่มี 2 ทางเลือก: หนึ่งคือ กลับไปทำงานเหมือนเก่า โดยที่จะไม่มีวันได้ดูแลลูก และสองคือ ใช้เวลากับลูก และโยนทิ้งงานที่ฉันทุ่มเทสร้างมาตลอด 10 ปี ที่ผ่านมา ทว่า เมื่อฉันมองไปยังลูกสาวตัวน้อยของฉัน ฉันรู้ได้ทันทีว่า ฉันไม่อยาก ให้เธอต้องมาพบกับทางตันเหมือนกับฉันอย่างแน่นอน

ฉันอ่านงานเขียนชื่อ Lean In ของ Sheryl Sandberg ด้วยคิดว่า มันอาจจะช่วยสร้างแรงจูงใจให้กับฉันได้ แต่มันกลับทำได้เพียง สร้างความหดหู่ใจให้แก่ฉันมากยิ่งขึ้นกว่าเดิมเสียอีก สำหรับฉัน สิ่งที่ผู้เขียนพยายามสื่อมันชัดเจนเป็นอย่างมาก นั่นคือ: ‘หากต้องการประสบความสำเร็จ ก็จงเลือกหนทาง ที่ถูกกำหนดโดยวัฒนธรรมการทำงานที่ชายเป็นใหญ่’  เช่นนี้ ฉันจึงลองทบทวนอ่านผลงานเขียนของ Anne Marie Slaughte ชื่อ “Why Women Can’t Have It All” (ทำไมผู้หญิง จึงไม่สามารถมีทุกอย่างได้”  ซึ่งมันก็ได้ระบายสีความจริงอีกอย่างออกมา ความจริงที่ว่าฉันคือหนึ่งในสาเหตุ ที่ทำไม ผู้หญิง จึงไม่สามารถมีทุกอย่างได้ และในท้ายที่สุดมันก็วนกลับมาเป็นปัญหาของฉันเองในวันนี้

ขณะที่ฉันกำลังอยู่ในช่วงลาคลอดกับบริษัท NowThis News (บริษัทน้องใหม่ ที่ได้รับการสนับสนุนจากสมาชิกของ The Huffington Post ทีม) และกำลังต่อสู้กับความคิดพวกนี้ ฉันก็ได้รับการทาบทามจาก มิเลนา แบรี่ (Milena Berry) ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัท PowerToFly ในปัจจุบันของฉัน เธอบอกกับฉันว่า เธอมีไอเดียจะเปิดบริษัท ที่เหมาะสำหรับผู้หญิง ที่ถนัดทำงานเฉพาะด้าน โดยพวกเธอสามารถทำงานได้แม้จะอยู่ที่บ้าน ฉันจึงตัดสินใจลาออกและทิ้งงานข่าวที่ทำอยู่ เพราะตระหนักเห็นว่า บริษัทน้องใหม่นี้ จะมีศักยภาพและประโยชน์อย่างมหาศาล ต่อผู้เป็นแม่กว่าอีก หนึ่งพันล้านรายเมื่อเข้าสู่อุตสาหกรรมการทำงานใดๆก็ตาม ในระยะเวลาครอบคลุมกว่า อีก 10 ปีข้างหน้า

ถ้าการจัดวางหน้าที่ สำหรับนักพัฒนาอสังหาริมทรัพทย์ ในฐานะรุ่นบุกเบิกผ่านพ้นไปด้วยดี เวทีเพื่ออุตสาหกรรมการทำงานประเภทอื่นๆก็อาจจะตามมาในไม่ช้า ในการช่วยเหลือเพื่อให้ผู้หญิงได้สามารถทำงานจากที่บ้านนี้ ส่งผลให้ผู้หญิงได้รับการยกย่องตามศักยภาพในการทำงานของพวกเธอเอง ไม่ใช่จากเวลาที่พวกเธอนั่งทำงานที่ออฟฟิศ หรือเวลาที่พวกเธอพบปะกับผู้คนที่บาร์

รายการเครื่องมือทั้งหมด ในการทำงานระยะไกลที่ว่านี้ ได้แก่ แอพลิเคชั่นอย่าง Slack, Jira, Skype, Trello, Google Docs. ซึ่งงานวิจัยยังพบด้วยว่า พนักงานที่ทำงานระยะไกล สามารถทำงานได้ดีกว่า นอกจากนี้ งานศึกษาจากมหาวิทยาลัยฮาร์เวิร์ดยังค้นพบอีกด้วยว่า กลุ่มคนรุ่นใหม่ (millennials) ทั้งที่มี และไม่มีลูก ต้องการความยืดหยุ่นในการทำงาน ลักษณะเช่นนี้

ด้วยความช่วยเหลือจากทีมที่ยอดเยี่ยม ฉันหมายถึง 50% ของผู้เป็นแม่ จากทั่วโลก มิเลนา และฉัน กำลังสร้าง บริษัท PowerToFly รอบๆ ตัวเรา ในฐานะแม่คนหนึ่ง ซึ่งเราได้ทำการประมวลผลไปแล้ว ขณะนี้เราได้จ่ายเช็ค กว่า 1 ล้านเหรียญดอลล่าห์ ออกไปให้แก่ผู้หญิงที่ทำงานที่บ้าน จาก 5 ทวีปทั่วโลก และตัวเลขพวกนี้ก็เติบโตอย่างรวดเร็วเป็นอย่างมาก

เราได้มีโอกาส พบกับแม่หลายๆ คน หนึ่งในนั้น เราได้พบกับ เนดด้า  (CTO ของเรา) เธอเคยต้องเดินทางไปทำงานที่ลอนดอน จากบ้านของเธอในบัลกาเรียเกือบทุกๆ สัปดาห์ และลูกสาวของเธอก็มักจะแอบเข้าอยู่ในกระเป๋าเสื้อผ้าเพื่อติดตามแม่ไปด้วย ในปัจจุบัน เนดด้าไปรับลูกสาวที่ โรงเรียนอนุบาลด้วยตนเองทุกวัน ปัจจุบัน เนดด้า แลกซื้อ ค่าเดินทางกว่า 10 ชม.ที่แสนแพง ด้วยการเดินเล่นเป็นเพื่อนลูกสาวของเธอทุกๆบ่าย วันละ 30 นาที

ฉันหวังว่าฉันคงจะรับรู้ได้เร็วกว่านี้ เมื่อ 5 ปีที่แล้ว ในฐานะผู้จัดการสาว ที่ยังไม่มีลูกว่า “แม่” คือ กลุ่มคนที่ฉันจะต้องมี ในทีมของฉัน!! มันยังมีคำพูดอยู่อีกด้วยว่า “ถ้าคุณอยากให้งานชิ้นใดสำเร็จ ก็ลองสั่งคนที่ยุ่งที่สุดทำดูซิ” และอย่างชัดเจน นี่คือเหตุผลที่ทำให้ฉันหลงรักการทำงานกับบรรดาแม่ๆ เป็นอย่างมากในปัจจุบันนี้

บรรดาแม่ๆ จะค่อยบอกฉันว่า โปรเจกจะสำเร็จได้เมื่อไหร่ พวกเธอบอกฉันล่วงหน้าหากพวกเธอไม่สามารถเข้ามาทำงานได้ เมื่อพวกเธอทำงานที่บ้านได้ พวกเธอจึงไม่มีความกังวลใดๆ ในยามที่ลูกป่วย และถึงแม้ว่าพวกเธอจะไม่สามารถคุยสไกป์ กับฉันได้บ่อยระหว่างวัน แต่พวกเธอก็ยังคงประสิทธิภาพในการทำงาน ไม่มีอันขาดตกบกพร่อง เพราะพวกเธอไม่มีเรื่องลูกให้ต้องพะวนหน้าพะวังหลัง เหมือนครั้งที่ต้องทำงานอยู่ตามออฟฟิศ

บรรดาแม่ๆ มักจะขยันและกระตือรือร้นในการทำงานให้ทันกำหนดส่งเป็นพิเศษ เพราะพวกเธอมีแรงกระตุ้นที่ทรงพลังเป็นอย่างมาก ในแต่ละวันพวกเธอมีหลากหลายภารกิจที่ต้องจัดการให้เรียบร้อย ทั้งเตรียมข้าวปลาอาหาร ไปรับ-ส่งลูกที่โรงเรียน รวมไปถึงเข้ายิมออกกำลังกายเพื่อสุขภาพที่ดีของตนเองอีกด้วย

อย่างไร ก็ตาม ฉันเองก็รู้ดีว่า ยังมีคนอีกหลายคนที่เหมือนกับฉันในวัย 20 ตอนกลาง ยังมีใครอีกหลายคนที่มองไม่เห็นคุณค่า แรงกายแรงใจของคนเป็น แม่ เพราะพวกเขานับเวลานั่งเฝ้างาน ไม่ใช่คุณภาพของงาน เมื่อศักยภาพของคนงานคนหนึ่งวัดกันเช่นนี้  ก็คงไม่แปลกที่ส่วนมากของคนเป็นแม่จึงจำต้องพ่ายแพ้ให้กับอุตสาหกรรมการ ทำงาน

มันถึงเวลาแล้ว ที่เราจะต้องทำลายวงจรนี้ลงเสีย วงจรที่ประกอบด้วย พนักงานว่าจ้างงานเป็นจุดเริ่มต้น สิ่งที่ฉันได้เคยกระทำในวัย 20 กว่า ทำให้ฉันกังวลถึงอนาคตของผู้หญิงในภายภาคหน้า ตามที่ได้เคยร่วมสนธนากัน  ฉันเห็นลักษณะนิสัยที่เหมือนกันจากสาวทำงานวัยรุ่นที่มีหน้าที่สัมภาษณ์คน งาน    โดยเฉพาะจากฝ่ายงานเฉพาะด้าน พวกเธอเคร่งครัด ทะเยอทะยาน และยึดมั่นในนโยบายอย่างไม่มีการผ่อนปรน ต่อบรรดาผู้หญิงในออฟฟิศ ซึ่งพวกเธอทำสิ่งเหล่านี้ ทั้งหมดด้วยความหวัง เพียงเพื่อต้องการเป็นส่วนหนึ่งจาก “วัฒนธรรม” ของบริษัทที่มีผู้ชายเป็นใหญ่ ก็เท่านั้น โดยที่พวกเธอไม่เคยได้ตระหนักเลยว่า “วัฒนธรรม” เช่นนี้แหละ ที่ได้ผลักไสไล่ส่งผู้หญิงให้อยู่ในสภาพที่ด้อยกว่าเสมอๆ

แคทธารีนทิ้งท้ายบทความ ด้วยคำแนะนำฝากไปถึงสาวๆออฟฟิศในปัจจุบัน ไม่ให้พวกเธอทำร้ายผู้หญิงด้วยกันเอง ด้วยการปฏิเสธความสามารถของคนเป็นแม่ เพราะมันก็เหมือนกับพวกเธอกำลังทำร้ายตัวเองทั้งในปัจจุบันและอนาคต ตามที่แคทธารีนเอง ก็รับรู้ และเข้าใจเป็นอย่างดีที่สุด

แปล/เรียบเรียงจาก : http://fortune.com