มัสยิดมหัศจรรย์ของอินโดนีเซีย ที่รอดจากสึนามิ!

เป็นเวลาหลาย วันหลังเกิดสึนามิครั้งรุนแรงในปี 2004 มัสยิดหลังนี้เป็นที่พักพิงสำหรับผู้ไร้ที่อาศัยและเป็นที่พึ่งสำหรับผู้ที่ ต้องการขอพร

ความเอนเอียงเพียงเล็ก น้อยและรอยแตกร้าวบางจุดบนหออะซานเป็นหลักฐานเพียงอย่างเดียวที่บ่งบอกถึง สิ่งที่มันประสบเมื่อเกิดแผ่นดินไหวขนาด 9.1 ริกเตอร์นอกชายฝั่งอาเจะห์ ซึ่งทำให้เกิดสึนามิขึ้นในมหาสมุทรอินเดีย

มันเป็นหนึ่งในภัย พิบัติร้ายแรงที่สุดที่ถูกบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์ ในจำนวนผู้เสียชีวิต 230,000 คนนั้น เป็นชาวอาเจะห์เสียมากกว่า 170,000 คน

อาลอยเซียส สุราติน รองผู้อำนวยการประเทศของ Oxfam ในอินโดนีเซียกล่าวว่า หลังจากผ่านไปหนึ่งทศวรรษ บริเวณนี้ได้กลับฟื้นคืนชีวิตอีกครั้ง

“ผมต้องบอกว่าตอนนี้ สถานการณ์ได้กลับสู่ภาวะปกติแล้ว พวกเขาทำงานหนักเพื่อคืนสู่สภาพเดิม” เขากล่าว แต่เสริมด้วยว่าประชาชนยังมีแผลฝังใจอย่างลึกซึ้ง

“เหยื่อของภัยพิบัติครั้งนั้น พวกเขาต้องสูญเสียสมาชิกครอบครัว สูญเสียทรัพย์สินและแหล่งทำมาหากิน

“แต่สิ่งที่เลวร้าย ที่สุด สิ่งที่ยากที่สุด ก็คือการยอมรับว่าคุณไม่มีสมาชิกครอบครัวของคุณแล้ว นี่คือความสูญเสียที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เหยื่อของภัยพิบัติครั้งนั้นต้อง เผชิญ”

ชาวบ้านมักจะพูดถึงเรื่องที่มัสยิดบัยตุรฺเราะห์มานเหลือรอดอยู่ พร้อมกับมัสยิดอื่นๆ ในจังหวัด ด้วยความช่วยเหลือจากพระผู้เป็นเจ้า

มัสยิดหลังนี้ถูกสร้างขึ้นในปลายศตวรรษที่ 19 โดยนักล่าอาณานิคมชาวดัทช์ หลังจากที่พวกเขาได้ทำลายมัสยิดหลังเดิมในปี 1873

มันเคยเป็นที่รังเกียจของผู้ปฏิบัติศาสนกิจเนื่องจากต้นกำเนิดในสมัยอาณานิคมของมัน แต่ตอนนี้มันคือความภาคภูมิใจของอาเจะห์

สิบปีที่แล้ว ดีน ซัมซุดดีน ยืนอยู่ในมัสยิดหลายวันหลังจากเกิดสึนามิ และบอกกับผู้ปฏิบัติศาสนกิจว่าอาเจะห์ต้องคืนสู่สภาพเดิม

“พวกเรายังคงเศร้าเสียใจมากในตอนนี้ แต่ตามความเชื่อของเราแล้วเราต้องฟื้นฟูความเจริญรุ่งเรือง และทำงานเพื่ออนาคตที่ดีขึ้น” เขากล่า

ในหลายปีหลังจากนั้น สงครามกลางเมืองที่ยาวนานหลายทศวรรษในอาเจะห์ก็สิ้นสุดลง และทางการเริ่มต้นทำงานเพื่อการบูรณะซ่อมแซมที่ช้าและยากลำบาก

5974296-3x2-700x467
วันนี้ มัสยิดบัยตุรฺเราะห์มานตั้งอยู่เป็นเสมือนพินัยกรรมต่อความอยู่รอดของอาเจะห์

“มัสยิดนี้มีความสำคัญอย่างมาก” สุราตินกล่าว

“พวกเขาบอกว่าการที่มัสยิดยังคงอยู่ตรงนั้น มันเป็นเหมือนกับปาฏิหาริย์สำหรับพวกเขา

“นี่เป็นคำแรก ถ้าคุณพูดคุยกับพวกเขาเกี่ยวกับมัน”

เขาบอกว่าโศกนาฏกรรมนี้ได้กำหนดรูปแบบให้กับพื้นที่นี้

“สึนามิส่งผลกระทบต่อวิธีที่คนอาเจะห์เผชิญหน้ากับชีวิต” เขากล่าว

“พวกเขาตระหนักถึงขีดจำกัดของมนุษย์… ทุกอย่างที่คุณมีในชีวิตสามารถหายไปได้ในเสี้ยววินาที

“พวกเขาเป็นประจักษ์ พยานของสถานการณ์ที่เจ็บปวดนี้… ดังนั้นประชาชนจึงมีสายสัมพันธ์ที่แข็งแกร่งต่อกันและกันกับความทรงจำร่วม กันนี้”


นักวิชาการกล่าวว่า ผู้คนในอาเจะห์ยังคงหิวโหย

ถึงแม้จะมีความพยายามในการทำให้คืนสู่สภาพเดิม แต่ก็ยังมีความกังวลเพิ่มขึ้นเกี่ยวกับผลกระทบของการบูรณะซ่อมแซม

จอห์น แม้คคาร์ธี่ ศาสตราจารย์สมทบที่โรงเรียนนโยบายสาธารณะครอว์ฟอร์ด ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย กล่าวว่า ประชาชนบางส่วนที่อาศัยอยู่ในอาเจะห์ขณะนี้กำลังขาดแคลนอาหาร

“เราพบว่าประชาชนมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ยังคงประสบกับฤดูกาลแห่งความหิวโหย” เขากล่าว

เขากล่าวว่า สิ่งนี้เกิดขึ้นในพื้นที่ที่เคยมีโครงการเพื่อการประกอบอาชีพโดยเฉลี่ยประมาณ 10 โครงการต่อหมู่บ้านหลังเกิดสึนามิ

“ผู้บริจาคและกลุ่มองค์กรอิสระได้ใช้เงินไปประมาณ 7.5 พันล้านดอลล่าร์ ในการเข้าช่วยเหลือภายหลังเกิดสึนามิ” เขากล่าว

“การให้ความช่วยเหลือ เพื่อการพัฒนาในระดับสูงและใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งที่ให้เพื่อพัฒนาประเทศเช่น นี้ จะส่งผลทำให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ยากจนเช่นนี้ได้อย่างไร?”

“พวกเราประหลาดใจกับเรื่องนั้นจริงๆ”

ศาสตราจารย์แม้คคาร์ธี่กล่าวว่า โครงการช่วยเหลือหลายโครงการมีกำหนดการช่วงสั้นๆ ซึ่งทำให้เกิดปัญหา

“พวกเขาต้องใช้จ่ายออกไปให้เร็วเท่าที่จะทำได้ พวกเขาทั้งหมดต้องแข่งขันกันเอง” เขากล่าว

“ผมคิดว่าโครงการเหล่า นี้สามารถบรรลุผลได้มากกว่านี้มากถ้าพวกเขาไม่เร่งรีบขนาดนั้น ถ้าพวกเขาต้องการพัฒนาไปสู่การเป็นหุ้นส่วนระยะยาว และพยายามคิดให้รอบคอบกว่านี้ว่าอะไรที่น่าจะทำได้เพื่อบรรเทาภาวะที่อ่อนแอ นี้

เขากล่าวว่า ชาวบ้านพูดถึง “สึนามิสามครั้ง”

“คือสึนามิเมื่อคลื่น ซัดเข้ามา สึนามิที่ตามมาก็คือสึนามิด้านเงินช่วยเหลือและหน่วยงานให้ความช่วยเหลือ และสึนามิที่สามคือเมื่อทุกอย่างได้หมดไป” เขากล่าว

“ชาวอาเจะห์ไม่ได้โทษหน่วยงานให้ความช่วยเหลือ แต่พวกเขาเห็นว่ามันเป็นโอกาสที่หายไป

“ตอนที่ผมอยู่ที่นั่น เมื่อสิบปีก่อนหน้านี้ (ก่อนเกิดสึนามิ) สิ่งต่างๆ มีหนทาง หนทางที่อยู่ด้านหน้าพวกเขาในตอนนี้ ไม่มีเหตุผลว่าทำไมหมู่บ้านต่างๆ ตามแนวชายฝั่งตะวันตกของอาเจะห์เหล่านี้ต้องมีความไม่มั่นคงด้านอาหารเหมือน ที่พวกเขาเป็นอยู่”

สุราตินกล่าวว่า เขาเชื่อว่าชีวิตในพื้นที่นี้ได้พัฒนาดีขึ้นแล้ว

“มันไม่สามารถเปรียบเทียบได้ โดยทั่วไปแล้วสถานการณ์ในอาเจะห์ดีกว่าสถานการณ์ในภาคอื่นๆ ของประเทศเสียอีก” เขากล่าว

source http://www.abc.net.au/news/2014-12-26/baiturrahman-mosque-a-testament-to-acehs-survival/5977720