เปรียบเทียบศักยภาพ กองกำลังรัฐบาลอัฟกานิสถาน VS ตอลิบาน

กองกำลังความมั่นคงอัฟกันและอาสาสมัครประชาชนชาวอัฟกันเพื่อต่อสู้กับตอลิบาน ยืนป้องกันในเขตเอนจิลของจังหวัดเฮรัต [ไฟล์: Hoshang Hashimi/AFP]

ตอนนี้ตอลิบานได้เข้าควบคุมพื้นที่ประมาณครึ่งหนึ่งของอัฟกานิสถาน หลังจากการจู่โจมอย่างรวดเร็วในช่วงหลายเดือนนับตั้งแต่กองทหารต่างชาติชุดสุดท้ายเริ่มถอนตัวครั้งออกจากประเทศ

แต่นักวิเคราะห์และทางการกล่าวว่า ชัยชนะทางทหารของพวกเขานั้นยังห่างไกล โดยชี้ไปที่ความสามารถและทรัพยากรของกองกำลังรัฐบาลอัฟกานิสถาน ซึ่งยังคงควบคุมเมืองสำคัญๆ

นี่คือการเปรียบเทียบศักยภาพของทั้งสองฝ่าย

บุคลากร

ยอดรวมของกองกำลังความมั่นคงแห่งชาติอัฟกานิสถาน รวมถึงกองทัพบก กองกำลังพิเศษ กองทัพอากาศ ตำรวจ และหน่วยข่าวกรอง มีจำนวนมากกว่า 307,000 คน ณ สิ้นเดือนเมษายน สำนักผู้ตรวจการพิเศษเพื่อการฟื้นฟูอัฟกานิสถานของรัฐบาลสหรัฐ หรือ “SIGAR” กล่าวในรายงานเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

กองกำลังต่อสู้ที่มีอยู่ในแต่ละวันมีแนวโน้มว่าจะมีประมาณ 180,000 คน ตามการประมาณการโดย “โจนาธาน ชรอเดน” จาก CNA สถาบันคลังสมองทางทหาร

กองกำลังของตอลิบานนั้นยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเฝ้าติดตามเมื่อปีที่แล้วกล่าวว่า กลุ่มนี้มีนักสู้ระหว่าง 55,000 ถึง 85,000 คน

เงินทุน

ความช่วยเหลือจากต่างประเทศเป็นสิ่งสำคัญสำหรับอัฟกานิสถาน ซึ่งเป็นหนึ่งในประเทศที่ยากจนที่สุดในโลก

กองทัพอัฟกานิสถานต้องใช้เงิน 5 พันล้านดอลลาร์ถึง 6 พันล้านดอลลาร์ต่อปี ตามรายงานของ US Congressional Research Service โดยปกติวอชิงตันจะให้การสนับสนุนประมาณร้อยละ 75 และให้คำมั่นว่าจะสนับสนุนต่อไป

การเงินของตอลิบานไม่ชัดเจน รายได้ของพวกเขาอยู่ที่ประมาณ 300 ล้านถึง 1.5 พันล้านดอลลาร์ต่อปี ตามรายงานของยูเอ็น

พวกเขาสร้างรายได้จากอุตสาหกรรมยาเสพติดขนาดใหญ่ของประเทศ ไปจนการกรรโชกธุรกิจต่างๆ กิจกรรมผิดกฎหมายอื่นๆ และการจัดเก็บภาษีในพื้นที่ที่อยู่ภายใต้การควบคุมของพวกเขา ผู้ตรวจสอบกล่าว

“จากข้อมูลที่มีอยู่ … เป็นที่ชัดเจนว่ากลุ่มตอลิบานไม่ได้ดิ้นรนกับการสรรหาคน เงินทุน อาวุธ หรือกระสุน” พวกเขากล่าวเสริม

ปากีสถาน อิหร่าน และรัสเซีย ถูกวอชิงตันและคาบูลกล่าวหาว่า จัดหาทรัพยากรและให้การปรึกษาแก่กลุ่มตอลิบาน แต่ทั้งสามชาติปฏิเสธข้อกล่าวหานี้

อาวุธและยุทโธปกรณ์

สหรัฐฯ ใช้เงินหลายหมื่นล้านดอลลาร์ในการสร้างและเตรียมกองทัพอัฟกันขึ้นมาใหม่ หลังจากที่โค่นล้มระบอบตาลีบานครั้งก่อนในปี 2001

กองกำลังรัฐบาลอัฟกันมีความได้เปรียบทางเทคโนโลยีเหนือกลุ่มตอลิบาน โดยใช้อาวุธที่ผลิตขึ้นจากตะวันตกที่หลากหลาย รวมถึงปืนไรเฟิลจู่โจมสมัยใหม่ แว่นตามองกลางคืน รถหุ้มเกราะ ปืนใหญ่ และโดรนสอดแนมขนาดเล็ก

พวกเขายังมีบางสิ่งที่กลุ่มตอลิบานไม่สามารถเทียบได้ นั่นคือ กองทัพอากาศ SIGAR รายงานว่า กองทัพอัฟกานิสถานมีเครื่องบิน 167 ลำ รวมถึงเฮลิคอปเตอร์โจมตี

ในทางกลับกัน กลุ่มตอลิบานส่วนใหญ่ใช้อาวุธขนาดเล็กและอาวุธเบาที่มีท่วมท้นอัฟกานิสถานในช่วงความขัดแย้งหลายทศวรรษ เช่น ไรเฟิลจู่โจม AK-47 ที่ออกแบบโดยโซเวียต ในขณะเดียวกันก็จัดหาเพิ่มเติมจากตลาดมืดในภูมิภาคด้วย

นอกจากปืนไรเฟิลซุ่มยิงและปืนกลแล้ว ตอลิบานยังมีระเบิด ปืนครก และจรวดขนาดเล็กอื่นๆ ในขณะเดียวกันก็พยายามใช้อาวุธต่อต้านอากาศยานและต่อต้านรถถังคละกันไป ตามที่อันโตนีโอ จุสตอซซี (Antonio Giustozzi) เขียนไว้ในหนังสือของเขาเกี่ยวกับกลุ่มตอลิบานที่ตีพิมพ์ในปี 2019

มือระเบิดพลีชีพและระเบิดแสวงเครื่อง (IED) เป็นหนึ่งในอาวุธที่ร้ายแรงที่สุดที่กลุ่มตอลิบานเคยใช้กับอัฟกานิสถานและกองกำลังต่างประเทศ

กลุ่มตอลิบานยังยึดและใช้อาวุธและอุปกรณ์ที่ผลิตในตะวันตกซึ่งถูกจัดหาให้กับกองทัพอัฟกัน รวมถึงอุปกรณ์มองเห็นตอนกลางคืน ปืนไรเฟิลจู่โจม และยานพาหนะ

ความสามัคคีและขวัญกำลังใจ

กองกำลังอัฟกันถูกทดสอเครดิตมานานหลายปี รวดร้าวสาหัสกับการบาดเจ็บล้มตาย การทุจริต การละทิ้งหน้าที่ และตอนนี้กับการจากไปของกองกำลังต่างชาติ

การวางแผนไม่ดีและภาวะผู้นำก็ถูกตำหนิว่าขวัญกำลังใจต่ำ

กลุ่มตอลิบานแสดงความสามัคคีกันมากขึ้น แม้จะมีรายงานความแตกแยกภายในในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา นักวิเคราะห์กล่าว โดยชี้ไปที่ความกระตือรือร้นทางศาสนาและคำมั่นสัญญาว่าจะได้รับผลประโยชน์ทางวัตถุเป็นปัจจัยสนับสนุน

 

แปล/เรียบเรียงจาก อัลจาซีรา