ชาวหุยกับการพัฒนาชาติจีน (ตอนที่ 2 จบ)

ผู้นำของตุรกีและจีน

 

ฉบับที่ผ่านมาผู้เขียนได้นำเสนอการพัฒนาชาติจีนในระดับปัจเจกบุคคล — ชาวหุยที่มีความมุ่งมั่นในหน้าที่การงาน จนสามารถไต่เต้าไปเป็นผู้นำทางด้านพลังงานแสงอาทิตย์

ฉบับ นี้ผู้เขียนขอแนะนำการพัฒนาชาติจีนโดยชาวหุยในระดับประเทศ พื้นฐานการสร้างความร่วมมือนั้นมาจากการสนับสนุนองทางรัฐบาล เมื่อรัฐบาลจีนมีการสร้างความสัมพันธ์ทางการทูต กับกลุ่มประเทศทางตะวันออกกลางมากขึ้น เป็นเพราะว่าการนับถือศาสนาอิสลาม จึงทำให้วัฒนธรรมของชาวหุยมีความใกล้ชิดในการปฎิสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศที่ นับถือศาสนาอิสลามมากกว่า

เมื่อรัฐบาลจีนเริ่มต้นจากการผลักดันความ ร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจกับรัฐบาลประเทศตุรกี มีการลงนามการค้าทวิโดยผู้นำทั้งสองประเทศ และผู้ทั้งสองประเทศมีการพบปะเยี่ยมเยือนกันตลอดเวลา จึงทำให้ความสัมพันธ์ทางด้านเศรษฐกิจของทั้งสองประเทศดีพัฒนาขึ้นเรื่อยๆ

รัฐบาลทั้งสองประเทศตระหนักถึงความสำคัญทางด้านการพัฒนาเศรษฐกิจมาก โดยมีนโยบายในการพัฒนาเศรษฐกิจอย่างชัดเจน คือ ขยายขอบเขตทางด้านการค้าของทั้งสองประเทศ เพื่อกระชับความสมดุลทางด้านการค้าของทั้งสองประเทศ ให้เกิดความสมดุลมากขึ้น รัฐบาลฝ่ายจีนสนับสนุนให้นักธุรกิจจีนไปลงทุนที่ตุรกี ขณะเดียวกันก็เปิดรับการลงทุนของนักธุรกิจตุรกีในประเทศจีน  ขยายความร่วมมือทางด้านเทคนิคและการลงทุนทางด้านการเงิน รวมทั้งสร้างร่วมกันความเข้าใจและดำเนินการเกี่ยวกับข้อพิพากษ์ที่เกิดขึ้น อย่างเป็นเหตุเป็นผล  ทั้งนี้ชาวตุรกีมีความหวังว่า ทางรัฐบาลจีนจะส่งเสริมการค้าการลง การเงิน การท่องเที่ยวเป็นต้นในตุรกี

การ สร้างความร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจเป็นพื้นฐานความร่วมมือทางด้านอื่นๆ เมื่อเดือนมีนาคม ปีค.ศ. 2013 ที่ผ่านมา กระทรวงวัฒนธรรมของจีน แถลงข่าวเกี่ยวกับวัฒนธรรมตุรกีในประเทศจีน แถลงข่าวโดยผู้นำของทั้งสองประเทศ ทั้งนี้เพื่อเป็นการกระชับและส่งเสริมการท่องเที่ยวประเทศตุรกีตามบันทึก ความทรงจำของทั้งสองประเทศ และเมื่อปีค.ศ. 2012 ที่ผ่านมา มีการแถลงข่าวและจัดนิทรรศการในลักษณะเดียวกัน ที่ประเทศตุรกี ซึ่งได้รับคำติชมจากประชากรชาวตุรกีมาก

การจัดนิทรรศการเชิงวัฒนธรรม ของประเทศตุรกีในจีนนั้น ประกอบด้วยการแสดงพื้นเมือง หัตถกรรม ศิลปะทางด้านดนตรีเป็นต้น การจัดนิทรรศการดังกล่าวเป็นการจัดนิทรรศการแบบสัญจร โดยเริ่มจัดที่กรุงปักกิ่งก่อน หลังจากนั้นทยอยสัญจรไปเมืองอื่นๆ เช่นเซี่ยงไฮ้  เป็นต้น  การจัดนิทรรศการดังกล่าว ได้รับความนิยมชมชอบจากประชาชนเป็นอย่างสูง และผู้นำทั้งสองฝ่าย แถลงว่าเวทีนี้เป็นเวทีแห่งการสร้างความเข้าใจกันของทั้งสองประเทศ ซึ่งจะต้องมีการเรียนรู้ซึ่งกันละกัน กระชับความสัมพันธ์ระหว่างประชาชนทั้งสองฝ่ายให้เข้าใจวัฒนธรรมพื้นฐานซึ่ง กันและกัน

muslim in china3นักแสดงละครตุรกีในจีน


 

นอกจาก การจัดนิทรรศการและการแสดงแล้ว รัฐบาลทั้งสองฝ่ายยังส่งเริมให้จัดงานสัมมนาทางด้านวิชาการขึ้นอีกไม่น้อย  เมื่อเร็วๆนี้ มีการจัดสัมมนาวิชาการที่มหาวิทยาลัย  Northwest University for Nationalities มหาวิทยาลัยดังกล่าว เป็นมหาวิทยาลัยระดับกลางในประเทศจีน มีประวัติมากว่า 60 ปี ตั้งอยู่ที่เมืองหลานโจว มณฑลกานซู เป็นมหาวิทยาลัยที่มีนักศึกษาและคณาจารย์กลุ่มชนชาติเป็นจำนวนมาก ในบรรดานั้น ประกอบด้วยกลุ่มชาวหุยเป็นจำนวนไม่น้อย  มหาวิทยาลัยดังกล่าวเปิดสอนหลักสูตรต่างๆ มากมาย ประกอบด้วยระดับปริญญาตรี ระดับปริญญาโทจำนวน 72 หลักสูตร ระดับปริญญาเอก จำนวน 3 หลักสูตร

เพื่อ เป็นการสร้างความรู้ทางด้านวิชาการ เนื่องในโอกาสของปีแห่งวัฒนธรรมของทั้งสองประเทศ  ศาสตราจารย์หม่าหมิงเหลียง ซึ่งนับถือศาสนาอิสลาม ดำรงตำแหน่งหัวหน้าสถาบันวิจัยวัฒนธรรมแห่งมหาวิทยาลัยดังกล่าว ได้เชิญวิทยากร ซึ่งเป็นนักวิชาการจากประเทศตุรกี มาจัดสัมมนาให้กับนักวิชาการจีนและนักศึกษาจีน

วิทยากรชาวตุรกีที่ ตอบรับเพื่อเข้าร่วมงานสัมมนาดังกล่าวประกอบด้วย 4 ท่าน ทั้ง 4 ท่านเป็นวิทยากรที่มาจากเมืองอิตัลบูล หัวข้อในการสัมมนานั้นประกอบด้วย  “ความสัมพันธ์ของบ้านเมืองและศาสนาในสมัยจักรวรรดิออตโตมัน” นักวิชาการ ได้แนะนำความเสรีภาพในการนับถือศาสนาของยุคดังกล่าว ชี้ให้เห็นว่าผลพวงของความสันติทางด้านการนับถือศาสนาเป็นปัจจัยสำคัญที่ ทำให้บ้านเมืองเกิดความสงบสุข  “อิสลามศึกษาในตุรกี”  ชี้ให้เห็นถึงผลงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับประวัติศาสตร์ของศาสนาอิสลามและสถานการณ์ทางด้านศาสนา อิสลามของตุรกี “ศูนย์วิจัยอิสลามและโครงการสารนุกรมศาสนาอิสลาม”  แนะนำเกี่ยวกับสารานุกรมอิสลามจำนวน 44 เล่ม ที่เป็นผลงานทางด้านวิชาการระดับชาติของประเทศตุรกี “นิกายกับความสัมพันธ์ของศาสนาอิสลาม ”  ทั้ง 4 หัวข้อได้รับความสนใจจากคณาจารย์และนักศึกษาชาวจีนอยางมาก

นอกจาก สัมมนาที่จัดขึ้นแล้ว นักวิชาการชาวตุรกียังได้เข้าร่วมเสวนาหัวข้อเกี่ยวกับ “วัฒนธรรมอิสลามภายใต้กระแสโลกาภิวัฒน์ ” “อิสลามในปัจจุบัน—–รูปแบบตุรกี” เป็นต้น  ภาษาที่ใช้ในการบรรยายทั้งหมดนั้นเป็นภาษาอาหรับและภาษาอังกฤษ บรรยากาศในการเสวนาก็เป็นไปอย่างครึกครื้น  นอกจากการสัมมนาแล้วนักวิชาการตุรกียังได้เข้าร่วมชมสถานที่สำคัญของประชาชน ในพื้นที่ เช่นชุมชนชาวหุยในเมืองหลินเซี่ยของกานซู และเมืองซีหนิงของมณฑลชิงไห่เป็นต้น

หลายปีที่ผ่านมานี้ศักยภาพทาง ด้านเศรษฐกิจของประเทศตรุกี จีดีพีของประชากร มากกว่า 10,000 ดอลล่าต่อปี ซึ่งรูปแบบความหลากหลายของกลุ่มชนชาติในตุรกี จึงสามารถเป็นต้นแบบในการเลือกสะสมประสบการณ์สำหรับรัฐบาลจีน

นอกจากนั้นแล้วความเป็นเอกลักษณ์ทางด้านภูมิศาสตร์ยังคงเป็นยุทธศาสตร์สำคัญที่รัฐบาลจีนจับจ้อง

อย่างไรก็ตามผู้ที่ได้ผลประโยชน์มากที่สุดในการสร้างความร่วมมือของรัฐบาลจีนและ ตุรกีนั้นก็คือประชาชนของทั้งสองประเทศนั่นเอง ภายใต้ความร่วมมือดังกล่าว จึงเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้ชาวหุยพลอยได้รับโอกาสในการร่วมสร้างพัฒนาชาติจีน ให้เจริญรุ่งเรืองต่อไปนั่นเอง

แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
http://travel.sina.com.cn/world/2013-03-13/1001192050.shtml
http://www.musilin.net.cn/2013/0715/134165.html
http://www.gov.cn/jrzg/2010-06/22/content_1633225.htm