โครงการร่วมมือระหว่างรัฐบาลจีนและมาเลเซีย ตอนที่ 1

ภาพจำลองของที่ตั้งโครงการ ณ ท่าเรือกรัง ประเทศมาเลเซีย


ประเทศมาเลเซียเป็นประเทศที่ตั้งอยู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นประเทศที่มีเนื้อที่ประกอบด้วย 2 ส่วน คือ ส่วนที่อยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรมลายูและคาบสมุทรอินโดจีน และมาเลเซียตะวันออกที่มีพรมแดนติดกับอินโดนีเซีย กลุ่มชนชาติต่างๆ ในประเทศมาเลเซียนั้นมีความหลากหลายทางด้านวัฒนธรรม นอกจากชาวพื้นเมืองแล้วยังมีกลุ่มชนชาติต่างๆ ที่อพยพมาจากประเทศจีน อินเดีย อินโดนีเซียและส่วนอื่นๆ ของโลก ปัจจุบับมาเลเซียมีประชากรทั้งหมด 26,130,000 คน ที่นับถือศาสนาอิสลามมีจำนวน 55 % ศาสนาพุทธ 25% ศาสนาคริสเตียน 13% นับถือศาสนาฮินดู 7% นอกจากนั้นแล้วยังมีกลุ่มที่นับถือศาสนาพื้นเมืองจำนวน 4%

ลักษณะ ภูมิประเทศของประเทศมาเลเซียมีลักษณะที่เป็นเกาะแก่ง เหมาะสำหรับการพัฒนาทางเศรษฐกิจด้านต่างๆ ประเทศมาเลเซียมีท่าเรือที่ทำสำคัญในระดับต้นต้นของโลก ด้วยเหตุนี้ หน่วยงานต่างๆ ของไทยก็พยายามสรรหารูปแบบการพัฒนาร่วมมือทางด้านเศรษฐกิจกับมาเลเซีย ดังเช่นการพัฒนาสำรวจเส้นทาง Logistics แต่สิ่งที่ต้องยอมรับก็คือมาเลเซียมีการพัฒนาทางเศรษฐกิจรุดหน้า กว่าไทย และระบบโครงสร้างพื้นฐานและ Logistics ทั้งของภาครัฐและเอกชน ได้มีการพัฒนานำหน้าไทยไปพอสมควร โดยเฉพาะมาเลเซียมีท่าเรือขนาดใหญ่ระดับโลกที่สามารถแข่งกับประเทศสิงคโปร์ ได้ อนึ่งประเทศมาเลเซียยังมีท่าเรือที่มีความสะดวกไม่น้อย เช่น ท่าเรือเรือครัง (Port Klang) เป็นท่าเรือสำคัญของมาเลเซีย เป็นท่าเรือฝั่งทะเลตะวันตกตั้งอยู่ใกล้จากสนามบินประมาณ 30 กม. ทำให้ท่าเรือกรัง (Port Klang) มีศักยภาพเกี่ยวกับการขนส่งต่อเนื่อง Multi-modal Transport  ได้ดีกว่าไทย ซึ่งท่าเรือแหลมฉบังจะห่างจากสนามบินสุวรรณภูมิประมาณ 100 กม. Port Klang (Klang แปลว่า แรงงาน) ห่างจากกัวลาลัมเปอร์ประมาณ 30 กม. แม้ว่าท่าเรือที่ใหญ่ที่สุดและสำคัญที่สุดไม่ใช่ Port Klang ก็แล้วแต่ก็ยังต้องมีการเช็ค ท่าเรือ Port Klang ที่ไปเป็น West Port ปี 2005 จะรับได้ถึง 6 ล้านตู้ และมีเรือขนาดใหญ่ประเภท Panamax บรรทุกตู้ 8,000 ตู้ เข้ามาเทียบ ภายในท่าเรือจะมีทั้งที่เป็นท่า Container และท่าเรือแบบ Bulk Cargoes (สำหรับสินค้าเกษตร) และมีคลังไซโล (Silo) ขนาดใหญ่ จัดเป็นท่าเรืออเนกประสงค์ ซึ่งให้ความสำคัญต่อภาคเกษตรกรรม นอกจากนั้นแล้วเมื่อเทียบกับท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งจะมีข้อเสียเปรียบ เพราะเป็นท่าเรือในซอย (อ่าวไทย) ไม่ใช่ท่าเรือริมถนนเหมือน Port Klang ในเมื่อมาเลเซียมีจุดยุทธศาสตร์ที่เลิศเช่นนี้ ก็ยากที่จะคลาดสายตาจากพญามังกรได้

การ รุดหน้าพัฒนาประเทศมาเลเซียของรัฐบาลจีนนั้นมีหลายด้าน โครงการต่างๆนั้นมีความสำคัญและเน้นเนื้อหาที่แตกต่างกัน ล่าสุดการค้าระหว่างประเทศท่าเรือกรังมาเลเซียร่วมมือกับศูนย์ธุรกรรมอาหาร ฮาล้าลของจีน ลงบันทึกความร่วมมือทางด้านการค้าเสรี ที่ท่าเรือดังกล่าว

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2556 ตัวแทนจากสำนักนายกรัฐมนตรีของจีน ตัวแทนจากสถานทูตมาเลเซียในกรุงปักกิ่ง บริษัทการค้าระหว่างประเทศของมาเลเซีย (ในจีน) กรมส่งเสริมการค้าของกลุ่มชนชาติ กรมส่งเสริมพัฒนาทางด้านการค้าระดับเมือง และสื่อมวลชนต่างๆ เข้าร่วมในพิธีลงนามความร่วมมือ

การ ค้าระหว่างประเทศของกรังประเทศมาเลเซียและธุรกิจอาหารฮาล้าลของจีนมี ศูนย์กลางการดำเนินงานที่ประเทศมาเลเซีย เขตการค้าดังกล่าวเป็นเขตการค้าที่รัฐบาลมาเลเซียให้ความสำคัญมากเช่นกัน วัตถุประสงค์ของความร่วมมือนั้น เพื่อสร้างและพัฒนาดังกล่าวนั้น เพื่อต้องการให้เวทีและการแลกเปลี่ยนผลิตภัณฑ์อาหารฮาล้าลที่หลากหลายของจีน ออกสู่ตลาดโลก ความร่วมมือดังกล่าวเกิดจากการลงนามร่วมกันของบริษัทศูนย์กลางการค้าของ ประเทศมาเลเซีย(ในจีน)(SM) ร่วมกับบริษัทนำเข้าและส่งออกทางด้านเทคนิคระดับชาติของจีน สมาคมนำเข้าและส่งออกอุตสาหกรรมเบาของจีนร่วมกันผลักดันศูนย์กลางพัฒนาการ ค้าและอุตสาหกรรมระดับชาติ

ในการพัฒนาดังกล่าวจักเห็นได้ว่ายุทธศาสตร์ของเมืองกรังนั้นมีความสำคัญมาก เขตการค้าเสรีเมืองกรังนั้นมีพื้นฐานทางด้านอุตสาหกรรมและการค้าที่ทันสมัย มีทั้งระบบโลจิสติกส์ที่เป็นเลิศแล้วยังมีพื้นที่กว้างพอที่จะทำเป็นโกดัง สำหรับจัดเก็บสินค้าต่างๆ ซึ่งจะเป็นผลดีต่อการนำเข้าสินค้าต่างๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าสู่ตลาดอาเซียนและตลาดโลก การร่วมมือดังกล่าวจึงเป็นการร่วมมือที่จะกระตุ้น ให้เกิดการลงทุนกิจการอาหารฮาล้าลในจีน ทำให้อุตสาหกรรมฮาล้าลของจีนโยงใยกับตลาดโลกได้

วัตถุประสงค์ของความร่วมมือดังกล่าวนั้นมีความชัดเจนมาก นั่นก็คือต้องการบุกเบิกตลาดมุสลิม รวมทั้งกลุ่มประเทศสมาชิกอาเซียนและการลงทุนจากประเทศต่างๆ ทั่วโลก และต้องการดึงดูดการลงทุนเข้าสู่ประเทศจีน ถ้ามองในเชิงลึกแล้วยังเป็นการสร้างศูนย์กลางทางด้านการค้า การจับจ่าย ศูนย์รวมผลิตภัณฑ์ของมุสลิมอีกด้วย

กิจการดังกล่าวจะประสบความสำเร็จนั้น จะขาดความร่วมมือจากตัวแทนทั้งสองประเทศไม่ได้อย่างเด็ดขาด กรรมการใหญ่ของศูนย์การค้ามาเลเซียในจีนกล่าวว่า เซี่ยเป่าเหวินกล่าวว่า ” ลักษณะของกิจการดังกล่าวเสมือนว่าเป็นการเปิดหน้าต่างบานหนึ่งของตลาดโลก” ซึ่งมีผลดีต่อทั้งสองฝ่าย กิจการอาหารฮาล้าลของจีนสามารถเข้าสู่ตลาดโลกได้อย่างมั่นคง เพราะสามารถผ่านช่องทางการรับรองมาตรฐานอาหารฮาล้าลโดยมาเลเซีย และสามารถจำหน่ายไปยังประเทศต่างๆของโลก นอกจากนั้นแล้วยังมีโอกาสที่จะได้สัมผัสกับฐานการค้าที่มั่นคงและทรัพยากร ที่แตกต่างจากตลาดภายในประเทศอีกมากมาย ทั้งหมดนี้ก็เป็นการกระตุ้นของตลาดจีนด้วย

กล่าวกันว่าโครงการดังกล่าวมีการเตรียมความพร้อมตั้งแต่ปีค.ศ. 2008 มีการลงทุนเป็นจำนวนหมื่นล้านหยวน ปัจจุบันเป็นอาคารชุดทังหมด 6 ชุด อาคารทั้งหมดเพียบพร้อมไปด้วยสิ่งอำนวยความสะดวกพื้นฐานต่างๆ เช่นโรงแรม ลานจอดรถต่างๆ เป็นต้น สามารถบรรจุบู๊ทสำหรับออกร้านต่างๆได้เป็นพันบู๊ท กำหนดหารเริ่มดำเนินกิจการเดือนตุลาคมศกนี้ ระหว่างนี้เจ้าภาพอย่างมาเลเซียก็มิได้นิ่งนอนใจ มีการจัดแสดงมหกรรมต่างๆ ที่เกี่ยวกับจีน เพื่อโชว์ศักยภาพทางด้านอาหารฮาล้าล ของมณฑลหนิงเซี่ย ชิงไห่และปักกิ่งเป็นต้น เพื่อเป้นการเริ่มต้นของการแนะนำอาหารฮาล้าลของจีนให้โลกได้รู้จักมากขึ้น

ตลาดฮาล้าลเป็นตลาดที่ไม่ควรมองข้าม ในแต่ละปีนั้นมูลค่าการซื้อขายสินค้าฮาล้าลมียอดสูงมาก แต่มุลค่าจีนครองตลาดนั้นมีสัดส่วนเพียง 0.1% อุปสรรค์อันใหญ่หลวงของจีนก็คือการขอหนังสือรับรองมาตราฐานฮาล้าลสากล เมื่อโตรงการดังกล่าวมีความชัดเจนขึ้น การร่วมมือกับมาเลเซียก็เป็นมินิตหมายที่ดีต่อการดำเนินการยื่นขอมาตราฐานฮา ล้าล เมื่อมังกรได้รับมาตรฐานแล้ว ไม่ช้าก็เร็วย่อมมีบทบาทต่อตลาดฮาล้าลทั่วโลกไม่มากก็น้อย

โครงการดังกล่าวเป็นเมกะโปรเจกส์ระหว่างมาเลเซียและจีนอีกโครงการหนึ่ง ฉบับต่อไปเราจะมาพิจารณารายละเอียดของดครงการดังกล่าว และจะมาเล่าสู่กันฟังว่าระหว่างทั้งสองนั้นยังมีโครงการความร่วมมือที่น่า สนใจในเรื่องใดอีก

แหล่งข้อมูลอ้างอิง:
http://www.ce.cn/cysc/newmain/yc/jsxw/201306/25/t20130625_21532360.shtml
http://www.musilin.net.cn/2013/0625/134152.html
http://www.tri.chula.ac.th/triresearch/klangport/klang.html

พิธีลงนามความร่วมมือของโครงการฮาล้าลระหว่างจีนและมาเลเซีย