นักวิชาการถกควรยุติโครงการนิคมฯ จะนะ

ก่อนถึงวันเปิดเวทีใหญ่ (11 ก.ค. 2563) รับฟังความคิดเห็นของประชาชนทั้งกลุ่มสนับสนุนและต่อต้านโครงการนิคมอุตสาหกรรมจะนะ คณะนักวิชาการจัดเสวนา “มุมมองรอบด้านต่อโครงการนิคมอุตสาหกรรม “จะนะ” เมื่อวันที่ 8 ก.ค. 2563 ณ คณะนิติศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ วิทยาเขตหาดใหญ่ ประกอบด้วยนักวิชาการและผู้นำชุมชนจำนวน 11 คน เสวนาเปิดโปงโครงการอุตสาหกรรมจะนะเมืองต้นแบบพร้อมคัดค้านให้ยุติโครงการ

คณะนักวิชาการชี้ว่าเป็นโครงการนี้เป็นการพัฒนาและการเริ่มโครงการใหม่ที่ไม่มีเหตุผล มีการส่อการกระทำไม่ชอบมาพากล เกิดผลกระทบประชาชน ในแง่ทำลายธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม วิถีชีวิต วัฒนธรรมและศาสนา เปลี่ยนผังเมืองจากสีเขียวให้เป็นสีม่วง มีการให้ข้อมูลที่ไม่รอบด้าน ใส่ข้อมูลด้านเดียวให้กลุ่มมวลชนผู้สนับสนุน เอื้อต่อนายทุนใหญ่ ไม่ให้ประโยชน์กับประชาชนท้องถิ่นอย่างแท้จริง โดยเฉพาะวันที่ 11 ก.ค. มีการจัดเวทีที่ไม่ชอบธรรม อาจส่งผลให้มีความขัดแย้งเกิดขึ้นในอนาคต ในเวทีได้ชี้แจงอีกว่าโครงการให้เกิดความขัดแย้งมาแล้ว โครงการใหญ่ขนาดนี้ต้องการให้มีการศึกษาให้รอบคอบทุกด้าน ก่อนที่จะดำเนินการผลักดันต่อไป มีผู้ได้ส่วนได้ส่วนเสียอย่างไร ต้องเปิดให้ชัดเจน นโยบายการพัฒนาเช่นนี้อาจจะนำไปสู่หายนะ หากขาดการปรึกษาแบบประชาธิปไตย

อ.สินาด ตรีวรรณไชย คณะเศรษฐศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ กล่าวว่า เครื่องมือการตลาดที่ถูกนำมาใช้ (เขตเศรษฐ กิจพิเศษเฉพาะกิจ) เป็นเรื่องเก่าๆ กระทำซ้ำแล้วซ้ำเล่า มักมีการคิดไว้แล้วก่อนว่าจะต้องทำ และกระบวนการศึกษาจะตามมาทีหลัง

“ข้อสำคัญที่จะชี้วัดได้ดีเกินกว่าที่จะเป็นจริงได้ ความเป็นจริงประชาชนในพื้นที่พึ่งพาดำเนินวิถีภาคการ เกษตรเป็นหลัก อุตสาหกรรมที่จะต่อยอดไ้ด้นั้นควรมาจากภาคเกษตรเป็นหลัก แต่การศึกษารายละเอียดการพัฒนานี้ ตอบสนองสิ่งนี้หรือไม่ การจ้างงานที่จะเกิดขึ้นไม่ตรงกับแรงงานของประชาชนในพื้นที่ เช่น งานเกษตร ประมง การสร้างงานจึงไ่ม่ตอบโจทย์ การใช้เหตุผลในการตั้งนิคมอุตสาหกรรม ดูไม่มีน้ำหนัก ดูการจัดการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยฮาลาล ที่จ.ปัตตานี ถือเป็นการสูญเสียความสามารถในการผลิต อุตสาหกรรมของเราเองยังขาดความพร้อม ไม่ดีพอ เป็นตรรกะวิบ้ติของรายงานการศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการ ควรศึกษาให้ดีว่าแรงงานของคนในพื้นที่เป็นอย่างไร ต้องทุ่มไปที่กลุ่มขนาดเล็ก และค่อยๆ ขยายออกไปสู่ขนาดใหญ่”

อ.สินาด กล่าวอีกว่าว่า ในภาวะที่ทุกคนเห็นตรงกันว่าเศรษฐกิจโลกกำลังย่ำแย่ โอกาสทางธุรกิจมีไม่เยอะ จึงควรใช้เวลานี้ทบทวนพื่อวางแผน เมื่อจังหวะและโอกาสที่ดีกลับมา จึงค่อยมาดำเนินการ คิดและตกผลึกให้ชัดว่าจะมีหรือไม่  มีอุตสาหกรรม จะพัฒนาพื้นที่ พัฒนาเกษตร พัฒนาภาคบริการ พัฒนาการศึกษา คุณภาพชีวิต ทำอย่างไรให้ตรงจุด และลงตัวตามความต้องการของประชาชน และไม่มีความขัดแย้ง

ด้านความสมบูรณ์ของอ.จะนะ อ.เกื้อ ฤทธิบูรณ์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ม.อ.ปัตตานี กล่าวว่า เป็นการอ้างของรัฐ หากจะมีการพัฒนา จะเปลี่ยนธรรมชาติให้เปลี่ยนไปและจ้างแรงงานคนในพื้นที่กว่าแสนตำแหน่งก็ไม่เป็นจริง
“บริบทของคนจะนะยังต้องพึ่งพิงธรรมชาติ ความหลากหลายทางชีวภาพ ระบบนิเวศเป็นการให้บริการ คุณภาพชีวิตที่ดีและมากกว่า นี่คือชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีของประชาชนอยู่แล้ว มันมีมูลค่ามากกว่าทางเศรษฐกิจ ตามที่มนุษย์จะคิดได้ หากเราจะเปลี่ยนพื้นที่ให้กลับไปเป็นป่าชายเลนสักแห่ง ต้องใช้ทรัพยากรมากถึง 3 เท่า เราจะพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจ โดยทำลายและเปลี่ยนแปลงธรรมชาติ ไปเพื่ออะไร หากระบบเสียหายไปแล้ว เราจะเอาคืนไม่ได้”

อ.เกื้อ ยังขอให้ ศอ.บต.หยุดการตั้งเวทีวันที่ 11 นี้ก่อน เพื่อให้มีการเปิดรับฟัง และมีเหตุผลฟังเสียงประชาชนเพื่อนำมาหาทางออกด้วยกัน เพื่อความเป็นธรรมและดีต่อการพัฒนาอย่างแท้จริง  “ท่าเรือที่เกิดขึ้นจะทำลายชีวิตวิถีชาวประมงดั้งเดิม ปัญหาคลื่นกัดเชาะชายฝั่งเป็นปัญหาที่แก้ไขยาก มีโครงการท่าเรือน้ำลึกที่ผ่านมา เกิดแรงลบและสิ่งไม่ดีเกิดขึ้นตามมา มีผลประโยชน์ที่อาจนำมาซึ่งความขัดแย้งตามมา จึงควรให้ทุกคนมีส่วนร่วม ไม่ควรสร้างวาทกรรม ไม่ควรแยกกลุ่มคนออกจากกันด้วยการห้ามคนนอกเข้ามายุ่งเกี่ยวในเรื่องนี้ ความรุนแรงและความขัดแย้งครั้งนี้อาจรุนแรงกว่าครั้งที่แล้ว ต้องสร้างการพูดคุยสู่โต๊ะเจรจา การให้ข้อมูลที่ต้องให้ความเชื่อมั่นของข้อมูลของทั้งสองฝ่าย  หากมีการเชื่อมั่นข้อมูลที่ยันกันทั้งสองข้าง ข้อมูลองค์ความรู้ ความต้องการต้องไม่สร้างความรังเกียจกัน อนาคตจะนำมาสู่ความขัดแย้งไม่รู้จบ ต้องมีการตั้งโจทย์ร่วมกัน มีคำตอบที่ชัดเจน ให้นำไปสู่พลังแห่งการตัดสินใจร่วมกันเช่นผลตอบ แทนการจ้างงานมีเท่าไหร่ ใครได้ ใครเสีย ต้องให้ข้อมูลที่จริง รัฐต้องคุยให้ชัดเจน มีการให้ความยั่งยืนอย่างไร การตอบแทนด้านทรัพยากร ด้านวัฒนธรรมวิถีชีวิต หาทางปรึกษาหารือเพื่อได้ทางเลือกที่เป็นของพลังทางเลือกทั้ง หมดร่วมกัน”

อ.บัณฑิต ไกรวิจิตร

ด้าน อ.บัณฑิต ไกรวิจิตร คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ม.อ.ปัตตานี เปิดเผยว่า ประเด็นแรกคือโครงการนี้ ดำเนินการผิดตั้งแต่แรก โดยอดีตนายกรัฐมนตรีอนุมัติโครงการตั้งแต่ต้น มาถึงนายกรัฐมนตรีคนปัจจุบันดำเนินการต่อ จึงต้องไปแก้กันที่การยกเลิกครม.ฉบับนี้ก่อน ถ้าผลักดันต่อไปโดยศอ.บต.จะนำไปสู่ความขัดแย้งรุนแรงต่อไปในอนาคตไม่รู้จบ “มีการทำไอโอ เชื่อมโยงว่ากลุ่มต่อต้านเป็นกลุ่มต่อต้านรัฐฯ ไปอยู่ในกลุ่มขบวนการ BRN ซึ่งผมเคยโดนมาก่อน ขณะนี้ถูกนำไปสู่ชาวบ้านจะนะะว่าเป็นกลุ่มคนต่อต้าน เป็นกลุ่มเดียวกับ BRN

เมื่อโครงการมันผิดตั้งแต่เริ่ม เราไม่ได้ต่อต้านแต่ขอให้หยุด และขอให้ถอยกลับ หันกลับมาพิจารณาก่อน มีการอ้างตัวเลขการจ้างแรงงานได้เกินจริง จากบทเรียนโรงไฟฟ้าจะนะ ที่เคยจ้างคนในพื้นที่ทำงานและเอาออกในเวลาต่อมา คนจะนะดั้งเดิม มีการพัฒนาตนเองปรับตัวมาทางธรรมชาติมายาวนานจนถึงปัจจุบัน ไม่ควรไปทำลายวัฒนธรรมท้องถิ่นของเขา อาจต้องบัญญัติคำเรียกใหม่ จากชาวประมง ชาวสวนเป็นชาวโรงงานเหมาะสมแล้วหรือ”

“ผมเป็นคนมาจากที่อื่นและมาอาศัยที่นี่ มีความสุขมาก ต่อไปหากมีโครงการนิคมฯ จะนะ เราจะมีความสุขเหมือนเดิมไหม มันมีความจำเป็นไหมที่จะพัฒนาประเทศไปข้างหน้าแล้วมีคนใดคนหนึ่งมีความทุกข์ วันนี้ขอเรียกร้องศอ.บต.ควรตัดหน้าที่บทบาทต่อเรื่องนี้ ควรสร้างสันติภาพในพื้นที่ ไม่ควรสร้างเชื้อไฟก่อให้เกิดความรุนแรง ต้องระงับโครงการนี้และกลับไปศึกษาต่อเรื่องนี้ มาออกแบบ หาทางออกอย่างรอบด้านและขอร้องให้หยุดการให้ข้อมูลไอโอที่ใส่ใคล้ กับกลุ่มคนที่ต่อต้าน”

ด้านที่เกี่ยวกับกฎหมายที่เกี่ยวข้องบางมาตรา อ.ธีรวัฒน์ ขวัญใจ คณะนิติศาสตร์ ม.สงขลานครินทร์ ตั้งไว้ 3 ประเด็นคือ
“1.การวางกฎหมายวางผังเมือง จากเอกสารที่ศอ.บต.ให้ไว้ หน้า 62-90 เป็นเอกสารที่เรียกว่า การวางผังเมืองและการคมนาคมขนส่ง ภายใต้กฎหมายผังเมือง ผู้รับผิดชอบคือกรมโยธาธิการและผังเมือง กับศอ.บต.มันเกี่ยวข้องอย่างไร แท้จริงแล้วคือการกำหนดผังเมืองใหม่ ที่ถูกกำหนดไว้แล้ว และอยากทราบว่ามันเป็นแบบร่างหรือถูกกำหนดประกาศมาใช้แล้วหรือยัง ถ้าเป็นไปตามผังเมืองเดิมแล้ว ไม่สามารถเป็นเขตอุตสาหกรรมได้ แต่มีกำหนดข้อยกเว้นว่า หากมีข้อพัฒนาเศรษฐกิจพิเศษเฉพาะกิจ สามารถเปลี่ยนแปลงได้ การดำเนินการเรื่องนี้ มีการแสดงข้อมูลวิชาการไม่สอดคล้องกับวิชาการผังเมือง พื้นที่ถูกกันไว้ 50 เปอร์เซ็นต์ ถูกปรับเป็นสีม่วง พื้นที่ที่เหลือถูกมองข้ามไป
ประเด็นที่ 2 ภายใต้ขอบข่ายสิ่งแวดล้อม ทำไมไม่ใช้คำกำหนดนิคมอุตสาหกรรม เพราะการพัฒนาจะอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายการพัฒนาของการสร้างนิคม อยู่ภายใต้พรบ.นิคมฯ การสร้างประชาคม EIA และ EHIA หรือการทำเฉพาะไม่มีการมองผลกระทบในภาพรวมว่าเป็นอย่างไร และประเด็นที่ 3.ใครมีส่วนร่วม ใครได้ใครเสีย ตั้งอยู่บนพื้นฐานความคิดแบบไหน การมองที่ผลประโยชน์การมองเรื่องสิทธิชุมชน ทุกคนควรมีสิทธิ์ในการร่วมกันตั้งข้อสังเกตุและหาทางออกให้ครบถ้วนรอบด้าน ถ้ามีแล้วดีอย่างไร เสียอย่างไร การแก้ไขปัญหา การมีมาตรการแก้ปัญหาที่ตั้งไว้แล้ว เวทีวันที่ 11 นี้ ทำไมไม่เปิดให้คนจะนะในพื้นที่อื่นเข้าด้วย ให้เพียงคนในชุมชน 3 ตำบลเท่านั้น ถ้าเป็นเช่นนั้นหากมีการตั้งเวทีคู่ขนานได้หรือไม่ ภายใต้พรก.ฉุกเฉิน และนอกจากนี้ยังมีมิติทางกฎหมายอีกหลายจุดที่ยังดูทะแม่งๆ อยู่ ศอ.บต. ยังแยกตัวให้ออกจากบริบททางการเมืองไม่ได้ ต้องทำหน้าที่รับใช้อำนาจของรัฐบาล”